12 February 2012

ใบกะเพรา




ชื่อภาษาอังกฤษ
     
Holy basil, Sacred basil
ชื่อวิทยาศาสตร์
     
Ocimum tenuiflorum L.


   สรรพคุณ
ใบแห้ง   บดเป็นยานัตถุ์แก้คัดจมูก   ใบและยอดทั้งสดและแห้ง   แก้อาการท้ออืด   ท้องเฟ้อปวดท้อง    คลื่นไส้อาเจียน   ราก   ทำยาชง  แก้ธาตุไม่ปกติ  แก้ไข้  เมล็ด  มีมิวซิเลจ (ถูกหลั่งใน endosperm ของเซลล์พืช เพื่อทำหน้าที่ป้องกันการเกิด dehydration มากเกินไป)

องค์ประกอบทางเคมี
     
กะเพราแดง ใบและกิ่งสดเมื่อนำมาสกัดน้ำมันหอมระเหยโดยการต้มกลั่น (hydro-distillation) ได้น้ำมันหอมระเหยร้อยละ 0.08-0.10 องค์ประกอบทางเคมีของน้ำมันวิเคราะห์โดย GC-MS ประกอบด้วยสาร 15 ชนิด ดังนี้
a-pinene  (0.51),   camphene  (0.51),   b-pinene  (0.48),  1,8-cineol+limonene  (0.35), linalool (0.32), borneol (1.18), a-copaene (1.04), b-bourbonene (0.58), [+]-b-elemene (5.24),  methyl   eugenol   (81.72),   caryophyllene    (0.58),  a-humulene   (1.32), germacrene  D  (4.40),  cyclohexane-1-ethenyl-1-methyl-2,4-bis[1-methyl-ethenyl] (0.36), d-cadinene (0.15)

กะเพราขาว ใบและกิ่งสดเมื่อนำมาสกัดน้ำมันหอมระเหยโดยการต้มกลั่น (hydrodistillation) ได้น้ำมันหอมระเหยร้อยละ 0.08-0.10 องค์ประกอบทางเคมีของน้ำมันวิเคราะห์โดย GC-MS ประกอบด้วยสารทั้ง 15 ชนิดเช่นเดียวกันเพียงแต่ปริมาณแตกต่างกันเท่านั้น 
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
     
มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย  ต้านออกซิเดชัน ไล่แมลง และขับพยาธิ  
ความเป็นพิษ
     
methyl   eugenol     ซึ่งเป็นสารหลักในน้ำมันมีรายงานว่าเป็นสารพันธุพิษอยู่ในประเภทเดียวกับ   safrole,   estragol   มีค่า ขนาดของยาที่ทำให้สัตว์ทดลองตายครึ่งหนึ่ง (LD50) โดยการป้อนทางปากให้หนูขาวเป็นค่า 0.81-1.56 กรัมต่อกิโลกรัม เป็นสารที่ไม่ก่อให้เกิดความระคายเคืองและการแพ้ทางผิวหนัง
            ชาวอินเดียบูชาใบกระเพราเป็นใบไม้ศักดิ์สิทธิ์ถึงกับตั้งชื่อให้ว่า โฮลลี่ เบซิล (Holy Basil) เพราะนอกจากชาวอินเดียจะใช้ใบกระเพราบูชาเทพเจ้าแล้ว ยังกะเพราปรุงอาหารประจำวัน ซึ่งก็ไม่ต่างกับคนไทยที่อาศัยกลิ่นและรสของใบกระเพราดับกลิ่นคาวและชูรสอาหาร และยังใช้น้ำต้มใบกระเพราดื่มช่วยขับลมแน่นในท้อง
             เหยาะน้ำต้มกระเพราะ 2-3 หยด ผสมน้ำนม ขนาด 15 ซีซี ให้ทารกดื่มแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ อันเป็นสาเหตุให้เด็กร้องไห้โยเย
             สรรพคุณสำคัญของใบกะเพรา ที่คนส่วนใหญ่ไม่รู้กันทั้งที่ใช้บริโภคกันอยู่ในชีวิตประจำวันก็คือ สรรพคุณในการขับไขมัน ตำรับอาหารไทยจำพวกผัดกะเพราเนื้อ กะเพราหมู กะเพราไก่นอกจากจะใช้ใบกะเพราดับกลิ่นคาวเนื้อสัตว์แล้ว กะเพรายังช่วยขับไขมันและน้ำตาลส่วนเกินออกจากร่างกายได้อีกด้วย




             มีงานวิจัยหลายชิ้นกล่าวถึงสรรพคุณอันหลากหลายของใบกะเพรา ในที่นี้ขอกล่าวเฉพาะสรรพคุณที่เชื่อมโยงกับฤทธิ์ลดไขมันและน้ำตาลของใบกะเพรา ดังนี้
                http://www.krubanchang.com/template/lib_images/lazy.gif
ฤทธิ์ลดไขมัน
             จากการทดสอบฤทธิ์ของกะเพราในกระต่ายทดลอง โดยให้กระต่ายได้รับใบกะเพราสดผสมในอาหาร เพียง 1-2 กรัม/กก./วัน เป็นเวลาติดต่อกัน 4 สัปดาห์ เมื่อตรวจเลือดสัตว์ทดลองพบว่า ระดับคอเลสเตอรอลโดยรวม (Total Cholesterol) ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) ฟอสโฟไลปิด (Phospholipids) ลดลงอย่างฮวบฮาบ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งคอเลสเตอรอลตัวเลว (Low Density Lipoprotein-LDL-Cholesterol) ลดลง พอๆ กับที่คอเลสเตอรอลตัวดี (High Density-HDL-Cholesterol) เพิ่มขึ้น

ฤทธิ์ลดน้ำตาล
             จากการศึกษาในหนูทดลอง โดยให้ผงใบกะเพราขนาด 200 มิลลิกรัม/กก./วัน ในหนู 3 ประเภท ได้แก่ หนูปกติ หนูที่มีภาวะน้ำตาลสูงจากการให้กลูโคส และหนูที่เป็นเบาหวานโดยการทำลายตับอ่อน พบว่ากะเพราสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดของหนูทดลองทั้ง 3 ประเภท นอกจากนี้น้ำมันหอมระเหยในใบกะเพรา  (Basil Essential Oil) ยังช่วยให้กลไกควบคุมน้ำตาลในเลือดเป็นปกติอีกด้วย
            เมื่อใบกะเพรามีฤทธิ์ลดไขมันและน้ำตาลอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ย่อมมีผลทำให้มวลร่างกายลดลงอย่างเห็นหน้าเห็นหลัง   โดยเฉพาะน้ำตาลซึ่งเป็นสาเหตุก่อให้เกิดโรคอ้วนมากกว่าไขมันเสียอีก อย่างไรก็ตาม การบริโภคใบกะเพราให้ได้ผลในการลดความอ้วนนั้น จะต้องบริโภคทุกวันให้ถูกวิธี ดังนี้

ความสดของใบกะเพรา ใบกะเพราสดมีน้ำมันหอมระเหยมากกว่าใบกะเพราที่ปรุงสุกแล้ว หรือถ้าใช้ผงกะเพรา จะต้องได้จากกระบวนการอบระเหย เอาเฉพาะน้ำออกไปโดยไม่สูญเสีย น้ำมันหอมระเหยหลายชนิดในใบกะเพรา
ขนาดการใช้ แนะนำให้ใช้ขนาดเท่ากับในสัตว์ทดลองคือ กะเพราสด 2 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน เช่น ถ้าน้ำหนัก 70 กิโลกรัม ก็ต้องบริโภคใบกะเพราะสดวันละปริมาณ 140-150 กรัม

ถ้าสามารถบริโภคกะเพราตามวิธีข้างต้นได้รับรองว่า   นอกจากท่านจะสามารถลดน้ำหนักร่างกายได้หุ่นดีสมใจนึกแล้ว ยังมีสุขภาพดีอีกด้วย เพราะใบกะเพรานอกจากจะมีฤทธิ์ลดไขมันลดน้ำตาลแล้ว ยังมีฤทธิ์รักษาโรคเบาหวาน  ลดการทำลายผนังหลอดเลือด ลดความเสี่ยงต่อภาวะหลอดเลือดอุดตัน ลดภาวะความดันโลหิตสูง ป้องกันโรคหัวใจวาย และโรคเส้นเลือดในสมองตีบตัน อันเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตเฉียบพลันเป็นจำนวนมากในคนอ้วนทั้งหลา

     



แหล่งที่มา: http://www.tistr.or.th/essentialoils/plant_กะเพรา.htm และhttp://www.krubanchang.com/i

No comments:

Post a Comment