17 February 2012

ท่าทีของไทยต่อข้อริเริ่ม ASEAN-EU-SCIENCE AND TECHNONOGY YEAR 2012


ประเทศไทยเห็นด้วยกับวัตถุประสงค์ของข้อริเริ่มที่จัดให้ปี 2012 เป็นปีแห่งความร่วมมือระหว่างภูมิภาคอาเซียนกับสหภาพยุโรปด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ภายใต้ชื่อ “Southeast Asia-EU Science and Technology Year 2012”และผลประโยชน์ที่จะได้รับดังเช่น การเสริมสร้างความแข็งแกร่งในการเจรจาในระดับสูงด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสองภูมิภาค ส่งเสริมความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของทั้งสองภูมิภาค เพิ่มความตระหนักของสาธารณะชนต่อคุณค่าของความร่วมมือระหว่างประเทศทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี มีความเข้าใจมากขึ้นในการใช้กลไกที่มีเพื่อสนับสนุนความร่วมมือในการทำวิจัยพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสหภาพยุโรปกับภูมิภาคอาเซียน ประเทศไทยจะเป็นผู้สนับสนุนกิจกรรมของการริเริ่มครั้งนี้ด้วย

          ประเทศไทยในฐานะเป็นประเทศหุ้นส่วนความร่วมมือระหว่างประเทศ (ICPC) ในการทำวิจัยร่วมกันภายใต้กรอบแผนงานฉบับที่ 7 ต้องการดำเนินความร่วมมือกับสหภาพยุโรปโดยผ่านโปรแกรมความร่วมมือของแผนฉบับบที่ 7 หัวข้อการวิจัยได้แก่ ด้านสุขภาพ  อาหาร การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร วิทยาศาสตร์นาโน เทคโนโลยีนาโน เทคโนโลยีวัสดุและผลิตภัณฑ์ใหม่ พลังงาน สิ่งแวดล้อม (รวมถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ) การขนส่ง ความปลอดภัยและอวกาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความร่วมมือด้านงานวิจัย และนวัตกรรม ความร่วมมือด้านการถ่ายทอดทางเทคโนโลยี การแลกเปลี่ยนนักวิจัยและนักศึกษาปริญญาเอก ที่เน้นด้าน ระบบและการบริการด้านสุขภาพ  ความมั่งคงปลอดภัยด้านอาหาร เทคโนโลยีทางการแพทย์ เทคโนโลยีด้านสาระดิจิตอล รวมถึงเทคโนโลยีเกิดใหม่ในอนาคตด้วย  เทคโนโลยีชีวภาพนาโน เทคโนโลยีวัสดุ สำหรับ เซลล์แสงอาทิตย์ ลม และเซลส์เชื้อเพลิง ระบบพลังงานอัจริยะ พลังงานทดแทน และระบบวัดรังสีชีวภาพสำหรับเตรียมพร้อมรับเหตุฉุกเฉินทางรังสี (ความปลอดภัยสำหรับพลเมือง) และยังสนใจต่อหัวข้อวิจัยร่วมกันที่ริเริ่มอีกสามหัวข้อใหญ่ของโปรแกรมความร่วมมือในปี 2012 นี้ได้แก่ ข้อริเริ่มรถที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (รถสีเขียว) ข้อริเริ่ม การเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน ข้อริเริ่ม โรงงานในอนาคต
          ประเทศไทยประสงค์ที่จะสร้างความร่วมมืออย่างแข็งขันในอนาคตกับสหภาพยุโรปใน ความร่วมมือระดับทวิภาคีในเรื่องของความท้าทายของสังคม อันได้แก่ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  ประชากรผู้สูงอายุ การขาดแคลนทรัพยากรและพลังงาน โรคเรื้อรัง สนับสนุนการเจรจาด้านนโยบาย และการพัฒนาความร่วมมือด้านนวัตกรรมต่อไป

No comments:

Post a Comment