19 January 2012

โลกตกอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อวิกฤติอาหารจึงต้องการการปฏิรูปที่ลึกกว่านี้

ในปี ๒๐๐๗-๒๐๐๘ วิกฤติราคาอาหารเป็นตัวกระตุ้นสำคัญในการปฏิรูปนโยบายของรัฐบาล  แต่ในขณะนั้นรัฐบาลยังมิได้หาสาเหตุของปัญหา รายงานใหม่จากสถาบันเพื่อการเกษตรและนโยบายการค้าระหว่างประเทศ (Institute for Agriculture and Trade Policy, IATP) และสถาบันเพื่อการพัฒนาโลกและสิ่งแวดล้อม (Global Development and Environment Institute (GDAE) ณ มหาวิทยาลัยทัฟส์  ในมลรัฐแมสซาชูเซตส์  เขียนโดย ทิโมธี เอ. ไวส์และโซเฟีย เมอร์ฟี เตือนว่า ชุมชนระหว่างประเทศกำลังหลีกเลี่ยงการปฏิรูปโครงสร้างเชิงลึกทำให้โลกตกอยู่ในภาวะวิกฤติที่ร้ายแรงด้านอื่นซึ่งจะส่งผลให้ราคาอาหารของโลกถีบตัวสูงขึ้น





ในรายงาน เรื่อง “การแก้ไขวิกฤติอาหาร: ประเมินผลการปฏิรูปนโยบายโลกตั้งแต่ปี ๒๐๐๗” เป็นการประเมินนโยบายและแผนการดำเนินงานตั้งแต่ปี ๒๐๐๗ อย่างเข้มข้นโดยกลุ่มคนจากองค์กรระหว่างประเทศ ๔ กลุ่ม ได้แก่ องค์กรสหประชาชาติ กลุ่ม จี-๒๐ ธนาคารโลกและผู้บริจาคระหว่างประเทศ ผู้เขียนเห็นด้วยกับการกลับไปให้ความสนใจต่อการพัฒนาภาคการเกษตร ทั้งเกษตรกรรายย่อยและสตรี แต่เตือนว่านโยบายการปฏิรูปอาจไม่เพียงพอต่อสถานการณ์ปัจจุบันของโลกและความต้องการของโลกในอนาคตอย่างยั่งยืน ไวส์และเมอร์ฟีใส่ความรับผิดชอบให้แก่รัฐบาลที่มีฐานะมั่งคั่งเพื่อรับผิดชอบต่อนโยบายการเกษตรของตนซึ่งจะส่งผลต่อความเปราะบางและความผันผวนของราคาอาหารทั่วโลก และสนับสนุนให้มีการลงทุนในประเทศที่กำลังพัฒนาเพื่อเพิ่มการพัฒนาด้านการเกษตรและลดการพึ่งพาอาหารนำเข้าจากต่างประเทศ
         ไวส์และเมอร์ฟีเรียกร้องความสนใจอย่างเร่งด่วนใน ๓ ประเด็น
·       ลดการเก็งกำไรในตลาดสินค้าโภคภัณฑ์: เนื่องด้วยการปฏิรูปมีเพียงจำกัด ทำให้ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์มีราคาแกว่งตัวขึ้นลงสูงมาก ข้อเสนอที่จะใช้อาหารสำรองเพื่อลดความผันผวนได้รับการปฏิเสธเป็นส่วนใหญ่
·       หยุด “การกว๊านซื้อที่ดิน”: ในขณะที่ทรัพยากรในการผลิตอาหารมีมูลค่าสูงขึ้น ประเทศที่มีทรัพยากรจำกัดและนักลงทุนเก็งกำไรหันไปกว๊านซื้อหรือเช่าที่ดินเพื่อการเกษตรหลายล้านเอเคอร์ในทวีปแอฟริกาและภูมิภาคอื่นๆที่กำลังพัฒนา ตลาดใหม่ที่ไม่อยู่ภายใต้การควบคุมเป็นการประนีประนอมความสามารถในการผลิตอาหารระยะยาวของประเทศกำลังพัฒนาในขณะที่ทอดทิ้งผู้ที่ทำงานดั้งเดิมในที่ดินของตน
·       ลดการขยายการใช้พื้นที่เกษตรไปใช้ปลูกพืชเพื่อผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ: แรงจูงใจจากรัฐบาลทำให้มีการขยายการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพอย่างมากมายในประเทศอุตสาหกรรมที่เอื้อให้ความต้องการถีบตัวสูงอย่างมากและส่งผลให้ราคาสินค้าเกษตรปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ผู้ที่สนใจสามารอ่านรายงานฉบับสมบูรณ์ได้ที่ http://www.ase.tufts.edu/gdae/policy_research/resolving_food_crisis.html

18 January 2012

นักวิชาชีพ/นักศึกษาไทยในยุโรป

....ประกาศ...
 นักวิชาชีพและนักศึกษาไทยในยุโรป

          สำนักงานที่ปรึกษาฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ณ กรุงบรัสเซลส์ ได้รับมอบหมายให้เสาะแสวงหานักวิชาชีพและนักศึกษาไทยในยุโรป เพื่อรวบรวมข้อมูลจัดส่งให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
         วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือและสนับสนุนการถ่ายทอดวิทยาการด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมจากยุโรปเพื่อพัฒนาต่อยอดไปยังประเทศไทย
         เนื่องด้วยสำนักงานฯไม่สามารถเดินทางไปพบหรือติดต่อท่านด้วยตนเอง นอกจากจะไม่ทราบว่าท่านๆอยู่ที่ไหนส่วนใดของยุโรปแล้ว  บุคลากรของเราก็มีจำนวนจำกัด ประกอบกับพื้นที่ของยุโรปกว้างใหญ่เกินกว่าจะดำเนินการได้โดยลำพัง สำนักงานฯจึงต้องใช้ช่องทางทั้งหมดที่มีอยู่เพื่อหาพวกท่านให้พบให้จงได้ ขอบคุณ social network ที่ทำให้สำนักงานฯมีช่องทางที่คาดหวังว่าจะทำให้เราติดต่อถึงท่านได้
         จึงขอส่งข้อความนี้ไปยังพี่ๆน้องๆคนไทยและน้องๆนักศึกษาไทยทุกท่านที่ทำงานหรือศึกษาในประเทศใดประเทศหนึ่งของสหภาพยุโรป หรือมีคู่สมรสเป็นนักวิชาชีพในยุโรป ในทุกสาขาอาชีพและทุกวัย หากท่านมีความประสงค์ ยินดีและเต็มใจโดยสมัครใจที่จะแบ่งปันเวลาบางส่วนของท่านเพื่อกลับไปช่วยประเทศไทยบ้านเกิดของท่านในยามที่ท่านสะดวกและประเทศชาติต้องการ หากท่านอ่านพบประกาศฉบับนี้ โปรดติดต่อกลับมายังสำนักงานฯ ได้โดยตรง ที่ info@thaiscience.eu หรือ post ข้อความท้ายประกาศนี้ เราจะติดต่อกลับไปหาท่านในโอกาสแรก ข้อมูลของท่านจะได้รับการปกป้องและใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ทางราชการเท่านั้น

         ขอขอบคุณทุกท่านมา ณ ที่นี้ สำหรับการเสียสละและความหวังดีที่มีต่อบ้านเกิดเมืองนอนของท่าน แม้ตัวอยู่ไกลแต่ใจยังคงเป็นไทยไม่เปลี่ยนแปลง...และต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลงของประเทศไทยในทางที่ดี...ช่วยกันนะคะ

         รักประเทศไทยและทุกคน...มากมายๆ








       

ปรากฏการณ์ปลาดุก (ทะเล)

ขออนุญาตนำมาเผยแพร่ต่อเพื่อแบ่งปันเรื่องดีมีข้อคิดให้ได้อ่าน
และร่วมชื่นชมในพระอัจฉริยภาพของพระองค์ท่าน....อีกครั้ง


ปกหน้า-หลัง



การประมงเป็นอาชีพหลักของชุมชนที่อาศัยอยู่ริมทะเล
เรื่อที่จะเล่าต่อไปนี้ เป็นนิทานคติธรรมอีกเรื่อง



ที่คนไทยฟังจากคนจีน ที่อ้างว่าเป็นเรื่องจากนอร์เวย์ ดินแดนแห่งพระอาทิตย์เที่ยงคืน
เรื่องจะเท็จจะจริงเพียงใดก็ตาม เราพิจารณาแต่ข้อคิดก็แล้วกัน



ปลาแฮริ่งเป็นๆ ย่อมราคาดีกว่าปลาแฮริ่งตาย
กว่าเรือประมงจะกลับถึงฝั่ง ปลาแฮริ่งในถังก็ตายไปหมดแล้ว



มีเรือประมงอยู่ลำเดียวที่มีปลาแฮริ่งเป็นๆ มาขาย
ผู้สื่อข่าวต้องอ้อนวอนอยู่นาน ไต้ก๋งจึงยอมเผยเคล็ดลับสุดยอด
เขาเอาปลาดุกทะเลใส่ลงไปในถังใส่ปลาแฮริ่ง



ปลาแฮริ่งกลัวปลาดุก จึงต้องว่ายน้ำหนีตลอดเวลา
เมื่อว่ายน้ำตลอดเวลา ก็เลยไม่ตาย



เรื่องนี้คนจีนบอกว่า คนที่อยู่คนเดียว สบายๆ
หรือหน่วยงานที่ผูกขาดกิจการ ไม่มีคู่แข่ง
มักจะอยู่นิ่งๆ ไม่คิดปรับปรุง
อีกหน่อยก็ต้องตายไป



ถ้ามีปลาดุกมาคอยไล่งาบก็จะต้องดิ้น ต้องหนี
ทำให้อยู่รอดได้ (หนีไม่ทันก็ตายไปเลย)
คือต้องทำงานให้ได้ผลดีขึ้นๆ






พระราชนิพนธ์และภาพฝีพระหัตถ์
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 2549






10 January 2012

The Water Node 2012. The EU and International research co-operation to address water challenge. Brussels, 25, 26 & 27 January 2012

ปี 2012 เป็นปีแห่งน้ำและเป็นปีแห่งการเริ่มโครงการ “การพิทักษ์น้ำของยุโรป” ของสหภาพยุโรป โครงการนี้จะได้รับการจดจำว่าเป็นนโยบายด้านน้ำของสหภาพยุโรปที่แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของสหภาพยุโรปต่อคำมั่นสัญญาที่จะบรรลุซึ่งเป้าหมายการพัฒนาสหัสวรรษของโลก(การเข้าถึงน้ำดื่มและสุขาภิบาล)และเพื่อรับรองผลการประชุม Rio+20 ของสหประชาชาติเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ดังนั้นเรื่องน้ำจึงเป็นหนึ่งในสาขาที่ได้รับการส่งเสริมให้มีความร่วมมือด้านการวิจัยและนวัตกรรมระหว่างประเทศตามนโยบายของสหภาพยุโรปเช่นเดียวกับนโยบายในสาขาอื่นๆ เช่น นโยบายการพัฒนาและสิ่งแวดล้อม

ศูนย์ยุโรปเพื่อการวิจัยในเอเชีย แอฟริกาและลาตินอเมริกา (European Centre for Research in Asia Africa and Latin America, ECRAAL) จะจัดการประชุมนานาชาติครั้งที่ 2 ในหัวข้อเรื่อง “The Water Node 2012” ในระหว่างวันที่ 25-27 ม.ค. 2555 ณ กรุงบรัสเซลส์ วัตถุประสงค์ของการประชุมในครั้งนี้มี 4 ข้อ คือ 1. เพื่อสนับสนุนให้มีความร่วมมือระหว่างประเทศโดยใช้กิจกรรมการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างหน่วยงานวิจัยและสถาบันอุดมศึกษาในชุมชน 2. เพื่อสร้างความตระหนักถึงศักยภาพในการสร้างความร่วมมือด้านการวิจัยของสถาบันอุดมศึกษาในสหภาพยุโรปกับต่างประเทศ 3. เพื่อระบุ กระตุ้นและเผยแพร่ผลงานวิจัยและโครงการที่มีสิทธิ์ได้รับการสนับสนุนเงินทุนในปีสุดท้ายตามกรอบแผนงานฉบับที่ 7 หรือแหล่งเงินทุนอื่นๆของอียู และสุดท้ายเพื่อเพิ่มสมาชิก ECRAAL จากหน่วยงานวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาของเอเชีย แอฟริกาและลาตินอเมริกา ตามวัตถุประสงค์เชิงนโยบายในการขยายการดำเนินกิจกรรมตามนโยบายกับองค์กรระหว่างประเทศ
    ผู้ที่สนใจเกี่ยวกับการประชุมหรือต้องการเข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.ecraal.org/info-ecraal-2012-article-71.htm กำหนดหมดเขตลงทะเบียนวันที่ 18 ม.ค. 2012 ด่วน!!! ที่นั่งมีจำนวนจำกัด