22 March 2016

นโยบายด้านพลังงานของสหรัฐอเมริกา

          นโยบายด้านพลังงานของสหรัฐอเมริกามีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญในหลายแง่มุมหลังจากการทบทวนนโยบายในเชิงลึกเมื่อ 6 ปีที่ผ่านมา สหรัฐอเมริกาวางตำแหน่งของประเทศไว้ในฐานะประเทศที่สามารถส่งมอบระบบพลังงานที่น่าเชื่อถือ ราคาไม่แพงและยั่งยืน แนวโน้มที่เห็นชัดเจนที่สุดคือ การฟื้นตัวของการผลิตน้ำมันและก๊าซที่เคยซบเซา การเพิ่มยอดการผลิตก๊าซด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ได้รับการพัฒนาต่อยอดทำให้เกมส์ในตลาดอเมริกาเหนือเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง และส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการจ้างงานทั้งในภาคอุตสาหกรรมพลังงานของอเมริกาเองและทั่วโลก เช่น ทำให้ราคาพลังงานลดลง ซึ่งส่งผลให้ต้นทุนการผลิตในทุกภาคส่วนลดลงตามไปด้วย
          ด้วยมาตรการด้านประสิทธิภาพพลังงานที่เข้มแข็งในการคมนาคมขนส่ง โดยลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล และการกำกับดูแลโรงไฟฟ้าใหม่และที่มีอยู่เดิมและกิจกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง การปฏิวัติพลังงานในครั้งนี้ของสหรัฐอเมริกาส่งผลต่อตลาดพลังงาน การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก การแข่งขันทางเศรษฐกิจ และศักยภาพด้านความมั่นคงด้านพลังงาน ภูมิศาสตร์การเมือง และต่อเศรษฐกิจโลกอย่างกว้างขวาง ความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศมีความเข้มแข็งมากขึ้นตลอด 6 ปีที่ผ่านมา มีการผลิตน้ำมัน ก๊าซจากชั้นหินดินดานและพลังงานจากชีวมวลภายในประเทศไปพร้อมๆกับมาตรการด้านอุปสงค์ เช่น นโยบายสนับสนุนประสิทธิภาพด้านพลังงาน ลดการใช้พลังงานในการคมนาคมขนส่ง ซึ่งอาจส่งผลให้สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่พึ่งพาตนเองได้ภายในปี 2035
          การใช้เทคโนโลยีการผลิตน้ำมันดิบที่พัฒนาให้ทันสมัยมากขึ้น ที่เรียกว่า hydraulic fracturing หรือที่รู้จักกันสั้นๆว่า “fracking” ทำให้คาดการณ์ว่าจะมีผลระยะกลางทำให้อุปทานภายในประเทศเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ภาพประกอบจาก https://sites.psu.edu/fracking1/wp-content/uploads/sites/26686/2015/04/ cropped-fracking-infographic.jpg

 กรอบนโยบายด้านพลังงานฉบับใหม่
          จากเอกสารด้านนโยบาย “President’s blueprint for a secure Energy Future” เผยแพร่ในปี 2011 ทำให้ผู้กำหนดนโยบายและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในภาคอุตสาหกรรม ตลอดจนสาธารณชน เห็นทิศทางนโยบายระยะกลางของรัฐบาลกลางชัดเจนมากขึ้น ที่จะขยายการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานความร้อนจากใต้พิภพเป็น 2 เท่าในปี 2020 ลดการนำเข้าน้ำมันลงครึ่งหนึ่งภายใน 10 ปี และเพิ่มกำลังการผลิตพลังงานเป็น 2 เท่าภายในปี 2030 พร้อมทั้งเป็นผู้นำด้านพลังงานสะอาดในระดับนานาชาติ
        ปี 2012 สหรัฐอเมริกาประกาศใช้ยุทธศาสตร์ “All-of-the-Above” ซึ่งกำหนดเป้าหมายพร้อมแผนปฏิบัติการไว้ 3 ประการ คือ (1) สนับสนุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจด้วยการสร้างงาน (2) ส่งเสริมความมั่นคงด้านพลังงาน และ (3) ใช้เทคโนโลยีพลังงานคาร์บอนต่ำ
การสร้างระบบพลังงานที่ยั่งยืน
          สหรัฐอเมริกาจะเร่งผลักดันเพื่อฟื้นฟูสภาพเศรษฐกิจ เพิ่มปริมาณการจ้างงาน ลดการพึ่งพิงการนำเข้าเชื้อเพลิงฟอสซิล และลดปริมาณการปล่อยคาร์บอน โดยจะส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมพลังงานสะอาด รถไฟความเร็วสูง แบตเตอรี่รถยนต์ การใช้ไฟฟ้าแบบชาญฉลาด (smart grid) และอาคารประหยัดพลังงาน โดยการออกกฎหมายและมาตรการส่งเสริมเทคโนโลยีและพลังงานสะอาด ต่างๆ เช่น
- American Recovery and Reinvestment Act (ARRA) ประกาศใช้ในปี 2009 สหรัฐอเมริกาลงทุนกว่า 80 ล้านดอลลาร์สหรัฐในภาคอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน เทคโนโลยีสะอาด นวัตกรรมด้านยานยนต์และเซลล์เชื้อเพลิง รวมทั้งระบบ smart grid นอกจากนี้ ยังมีมาตรการ CAR (Car Allowance Rebate System) ที่ให้เงินจำนวน 3,500 – 4,500 ดอลลาร์สหรัฐแก่ผู้ที่นำรถเก่าซึ่งเข้าข่ายที่กำหนด มาแลกซื้อรถใหม่ ในช่วง ก.ค. ส.ค. 2009 ทำให้สามารถกำจัดรถเก่าได้ถึง 7 แสนคันและช่วยกระตุ้นการบริโภคได้ระดับหนึ่ง
- Energy Efficiency Standards เพิ่มมาตรฐานการผลิตเครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์เพื่อเพิ่มสมรรถภาพในการประหยัดพลังงาน
- Executive Order on Federal Sustainability ให้รัฐบาลกลางสหรัฐฯ เป็นแบบอย่างในการอนุรักษ์และประหยัดพลังงาน โดยตั้งเป้าที่จะลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ร้อยละ 28 ภายในปี 2020 เพิ่มประสิทธิภาพการประหยัดพลังงาน และลดการใช้เชื้อเพลิงในการคมนาคม
- Efficiency Standards for Cars and Trucks เพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
      
ในเดือนมิถุนายน 2014 องค์กรพิทักษ์สิ่งแวดล้อม (Environmental Protection Agency, EPA) เสนอแผนพลังงานสะอาด (Clean Power Plan) เพื่อลดมลพิษจากโรงไฟฟ้าที่มีอยู่ พร้อมทั้งออกคู่มือเพื่อให้มลรัฐต่างๆนำไปจัดทำแผนของตนเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ โดยกำหนดว่ากฎระเบียบข้อกำหนดต่างๆจะต้องเสร็จเรียบร้อยภายในเดือนมิถุนายน 2016   
          นโยบายด้านประสิทธิภาพพลังงาน (Energy Efficiency policies) มีวัตถุประสงค์เพื่อเร่งการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในขณะที่ความต้องการด้านพลังงานลดลง สหรัฐอเมริกามีความก้าวหน้าในการดำเนินการด้านนี้เป็นอย่างดี คาดการณ์ว่าจะดำเนินการอย่างต่อเนื่องเป็นนโยบายระยะกลาง โดย ARRA ลงทุน 12 ล้านเหรียญสหรัฐในโปรแกรมการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานให้แก่บ้านพักอาศัยในเขตผู้มีรายได้ต่ำ อาคารที่ทำการของรัฐและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยกำหนดรหัสพลังงานสำหรับอาคารพาณิชย์และอาคารที่พักอาศัยสร้างใหม่ให้ประหยัดพลังงานได้ 30 % เมื่อเทียบกับอาคารที่สร้างขึ้นในปี 2006
         การพัฒนาด้าน smart grid มีความก้าวหน้าตลอด 5 ปีที่ผ่านมา อาคารบ้านเรือนกว่า 33 ล้านหลังคาเรือนติดตั้งมิเตอร์เพื่อวัดการใช้ไฟฟ้าอย่างชาญฉลาดนี้
      ส่วนเป้าหมายนโยบายที่จะเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนให้ได้ 2 เท่าที่ผลิตได้ในปี 2012 ภายในปี 2020 ยังไม่มีแผนการที่ชัดเจนว่าจะบรรลุเป้าหมายนี้ได้อย่างไร ทำให้ผู้ลงทุนขาดความเชื่อมั่นที่จะลงทุนในโครงการด้านนี้ของรัฐบาลกลาง
      กำลังการผลิตน้ำมันที่เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลของสหรัฐอเมริกา ก่อให้เกิดข้อกังวลใจด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย ด้วยยังขาดโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งทางรถไฟและมาตรการความปลอดภัยที่รองรับขนาดการผลิตดังกล่าว
สถานการณ์ด้านพลังงาน
          ในปี 2014 สหรัฐอเมริกามีกำลังการผลิตไฟฟ้าที่ 4093 ล้านล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง ประมาณ 67 % เป็นไฟฟ้าที่ผลิตจากเชื้อเพลิงฟอสซิล (ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ และปิโตรเลียม) โดยมีส่วนแบ่งพลังงานจากแหล่งต่างๆ ดังแสดงในภาพ
ภาพ แสดงสัดส่วนพลังงานจากแหล่งต่างๆ ของสหรัฐอเมริกา ในปี 2014
ความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างไทย-สหรัฐอเมริกา
     สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติของไทย และ Renewable Energy Institute International ของสหรัฐฯ ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือวิจัย พัฒนา และสาธิตเทคโนโลยีการแปรสภาพชีวมวลเป็นพลังงานเชื้อเพลิง และวัสดุชีวภาพ เมื่อวันที่ 31 มี.ค. 2006 และสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 31 มี.ค. 2011
ในปี 2007 กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ และ กระทรวงพลังงานได้ร่วมกันดำเนินโครงการความร่วมมือด้านเชื้อเพลิงชีวภาพระหว่างไทยกับสหรัฐฯ เพื่อเปรียบเทียบความเหมาะสมของเทคโนโลยีและแสวงหาแนวทางความร่วมมือในการถ่ายทอดองค์ความรู้จากสหรัฐฯ
ระหว่างการประชุมรัฐมนตรีพลังงาน เอเปค ครั้งที่ 9 เมื่อวันที่ 18-19 มิ.ย. 2010 ณ เมือง ฟุคุอิ ประเทศญี่ปุ่น รัฐมนตรีพลังงานของไทยได้หารือกับรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพลังงานของสหรัฐฯ โดยทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะส่งเสริมความร่วมมือทางวิชาการด้านเทคโนโลยีชีวภาพ โดยเฉพาะการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านเชื้อเพลิงชีวภาพ (Celluosic 2nd Generation of Biofuel) และความร่วมมือด้านพลังงานนิวเคลียร์ โดยเฉพาะเทคโนโลยีด้านความปลอดภัย รวมทั้งแนวทางการกำกับดูแล และสร้างความเข้าใจให้กับประชาชน
         สหรัฐอเมริกามีท่าทีเปิดรับความร่วมมือด้านพลังงานกับไทยในทุกสาขารวมทั้งนิวเคลียร์ โดยผ่านหน่วยงาน United States Trade and Development Agency (USTDA)  

บทบาทของเทคโนโลยีนิวเคลียร์กับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หลังปี 2015

เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals) หรือที่เรียกสั้นๆว่า SDGs คืออะไร
SDGs คือ เซ็ทของกลุ่มเป้าหมายใหม่ของสหประชาชาติ ได้จากการเจรจาต่อรองอันยาวนานกว่า 2 ปี เพื่ออนาคตของโลกใบนี้จนถึงปี 2030 ประกอบด้วย 17 เป้าหมาย (goals) 169 เป้าหมายย่อย (targets)
มีอะไรแปลกใหม่และแตกต่างใน 17 เป้าหมายของ SDGs
ข้อที่ 1 และสำคัญที่สุดคือ เป้าหมายเหล่านี้จะนำไปประยุกต์ใช้กับทุกๆประเทศ ในทุกภาคส่วน ทุกเมือง ทุกธุรกิจ ทุกโรงเรียนและสถาบันอย่างท้าทาย ที่เรียกว่า “อย่างสากล (Universality) ข้อที่ 2 ทุกเป้าหมายมีความเชื่อมโยงอย่างเป็นระบบ ไม่สามารถเลือกที่จะบรรลุเป้าหมายใดเพียงเป้าหมายหนึ่งได้ แต่ต้องบรรลุในทุกเป้าหมาย ที่เรียกว่า “บูรณาการ (Integration)” และข้อสุดท้าย การที่จะบรรลุเป้าหมายเหล่านั้นได้ จำเป็นต้องเปลี่ยนรากฐานการดำรงชีวิตของมนุษย์บนโลกใบนี้อย่างมโหฬาร ที่เรียกว่า “การเปลี่ยนแปลง (Transformation)
เป้าหมายทั้ง 17 มีอะไรบ้าง
เป้าหมาย
เป้าหมาย
1 กำจัดความยากจนในทุกรูปแบบ ในทุกสถานที่ให้หมดสิ้นไป
2 ยุติความหิวโหยและอดอยากด้วยความมั่นคงด้านอาหารและโภชนาการที่ดี
3 มั่นใจว่าทุกคนจะต้องมีสุขภาพที่ดี โดยส่งเสริมการกินดีอยู่ดี
4 มั่นใจว่ามีการศึกษาแบบเรียนรวมที่มีคุณภาพสำหรับทุกคน พร้อมทั้งส่งเสริมการเรียนตลอดชีพ
5 บรรลุความเท่าเทียมทางเพศ ให้อำนาจแก่สตรีและเด็กหญิง
6 มั่นใจว่ามีน้ำและสุขาภิบาลเพื่อทุกคน
7 มั่นใจว่ามีพลังงานที่ทันสมัย ยั่งยืน น่าเชื่อถือและราคาไม่แพงแก่ทุกคน
8 ส่งเสริมการจ้างงานที่เหมาะสมแก่ทุกคนเพื่อความเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนโดยรวม
9 มีโครงสร้างพื้นฐานที่ยืดหยุ่น โดยส่งเสริมและสนับสนุนอุตสาหกรรมที่ยั่งยืน
10 ลดความเหลื่อมล้ำทั้งภายในและระหว่างประเทศ
11 ทำเมืองให้เป็นที่ทุกคนอยู่ร่วมกันได้อย่างปลอดภัย ยืดหยุ่นและยั่งยืน
12 มั่นใจว่ามีรูปแบบการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน
13 ปฏิบัติการอย่างเร่งด่วนเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศและผลกระทบที่เกิดขึ้น
14 อนุรักษ์แหล่งทรัพยากรชายฝั่ง ทางทะเลและมหาสมุทรให้มีใช้อย่างยั่งยืน
15 มีการจัดการป่าอย่างยั่งยืน ยับยั้งและพลิกฟื้นผืนดินที่เสียหาย ต่อสู้กับความแห้งแล้งและการเกิดทะเลทราย ยับยั้งการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ
16 ส่งเสริมการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างยุติธรรมและสันติสุข
17 สร้างความเข้มแข็งระหว่างหุ้นส่วนโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

          แต่ละเป้าหมายมีความสำคัญในตัวเองและทุกเป้าหมายมีความเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน
ภาพประกอบจาก : 17goals.org/wp-content/uploads/2015/.../17Goals_BasicSlideset_v1.pptx
เทคโนโลยีนิวเคลียร์ก็เช่นเดียวกัน ที่มีส่วนในการพัฒนาโลกใบนี้มาหลายศตวรรษ และพร้อมที่จะสนับสนุนเป้าหมายใหม่ SDGs ของสหประชาชาติ โดยทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ หรือที่รู้จักกันดีในนาม IAEA จะให้การสนับสนุนเป้าหมายต่างๆ ผ่านโครงการความร่วมมือทางวิชาการด้านเทคโนโลยีนิวเคลียร์เพื่อสันติภาพในหลากหลายสาขา โดยทุกประเทศสมาชิกจะต้องผนวกเป้าหมายใหม่เข้ากับแผนพัฒนาแห่งชาติของตน ซึ่งจะต้องสะท้อนให้เห็นในกรอบความร่วมมือทางวิชาการของประเทศนั้นๆกับ IAEA (Country Programme Framework, CPF)

ด้วยเป้าหมาย SDGs และเป้าหมายของ IAEA มีความซ้ำซ้อนกันอย่างใกล้ชิด จึงคาดหวังว่าเป้าหมายใหม่นี้จะช่วยยกระดับการพัฒนาเทคโนโลยีนิวเคลียร์ไปสู่ระดับใหม่ ด้วยขอบเขตที่กว้างขวาง จะเปิดโอกาสให้หน่วยงานของสหประชาชาติต่างๆ มีความร่วมมือกันมากขึ้น โดยหน่วยงานที่มีภารกิจหลักในสาขาเฉพาะทางสามารถแสวงหาหุ้นส่วนความร่วมมือจากหน่วยงานอื่นๆได้ 

19 August 2013

Deal on Horizon 2020







Statement by Máire Geoghegan-Quinn, European Commissioner for Research, Innovation and Science, on the conclusion of negotiations on Horizon 2020
Brussels, 25 June 2013
“After many hours of intense talks, the Irish Presidency, the European Parliament's negotiators and the European Commission have concluded negotiations on the Horizon 2020 package. The package will now be submitted to both the Council and to the European Parliament, where it will be brought forward to a plenary session of the European Parliament.  This is a very important step that will help ensure that Horizon 2020 can launch as planned next year.
That is good news for researchers, for universities, for SMEs, and for all other future participants in the programme. 
It is also good news for the many more that stand to benefit from the breakthroughs and innovations the programme will bring, providing solutions for societal challenges and strengthening industrial competitiveness.
Due credit must go to the European Parliament's negotiators and the Irish Presidency. Together we have worked hard to reach this point.  We now have within reach what the European Parliament, EU Member States and European Commission all envisaged from the start:  a research and innovation programme that will make a real difference for jobs and growth in Europe.”

Focusing Resources on Key Priorities
  1. Excellent Science. This will raise the level of excellence in Europe's science base and ensure a steady stream of world-class research to secure Europe's long-term competitiveness. It will support the best ideas, develop talent within Europe, provide researchers with access to priority research infrastructure, and make Europe an attractive location for the world's best researchers.

    This will:

    - support the most talented and creative individuals and their teams to carry out frontier research of the highest quality by building on the success of the European Research Council;

    - fund collaborative research to open up new and promising fields of research and innovation through support for Future and Emerging Technologies (FET);

    - provide researchers with excellent training and career development opportunities through the Marie Skłodowska-Curie actions ('Marie Curie actions');

    - ensure Europe has world-class research infrastructures (including e-infrastructures) accessible to all researchers in Europe and beyond.
  2. Industrial Leadership. This will aim at making Europe a more attractive location to invest in research and innovation (including eco-innovation), by promoting activities where businesses set the agenda. It will provide major investment in key industrial technologies, maximise the growth potential of European companies by providing them with adequate levels of finance and help innovative SMEs to grow into world-leading companies.

    This will: build leadership in enabling and industrial technologies, with dedicated support for ICT, nanotechnologies, advanced materials, biotechnology, advanced manufacturing and processing, and space, while also providing support for cross-cutting actions to capture the accumulated benefits from combining several Key Enabling Technologies; facilitate access to risk finance; provide Union wide support for innovation in SMEs.
  3. Societal Challenges. This reflects the policy priorities of the Europe 2020 strategy and addresses major concerns shared by citizens in Europe and elsewhere. A challenge-based approach will bring together resources and knowledge across different fields, technologies and disciplines, including social sciences and the humanities. This will cover activities from research to market with a new focus on innovation-related activities, such as piloting, demonstration, test-beds, and support for public procurement and market uptake. It will include establishing links with the activities of the European Innovation Partnerships.
Funding will be focussed on the following challenges:
  • Health, demographic change and well-being;
  • Food security, sustainable agriculture, marine and maritime research and the
  • bio-economy;
  • Secure, clean and efficient energy;
  • Smart, green and integrated transport;
  • Climate action, resource efficiency and raw materials;
  • Inclusive, innovative and secure societies.
Status
With agreement on the H2020 package by the Commission and Parliament, work is now underway on formalising the structures, budgets, work programmes etc.

More information related to Horizon 2020 can be found at http://ec.europa.eu/research/horizon2020/index_en.cfm?pg=home
 

19 March 2013

เชื้อเพลิงชีวภาพเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจริงหรือ?

 
งานวิจัยจากประเทศอังกฤษชี้ว่า กระบวนการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพก่อให้เกิดสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อบรรยากาศและชีวิตมนุษย์ได้ หากรวมตัวกับสารอื่น การรวมตัวกันของสารดังกล่าว นอกจากจะทำให้ผลผลิตการเกษตรลดลงแล้ว คาดว่าจะมีผู้เสียชีวิตก่อนวัยอันควรต่อปี จากผลกระทบดังกล่าวมากถึง 14,000 ราย ภายในปี ค.ศ. 2020 ผลการศึกษาของมหาวิทยาลัยแลงคาสเตอร์ ประเทศอังกฤษชื่อ “Impacts of biofuel cultivation on mortality and crop yields” นำโดยศาสตราจารย์ Nick Hewitt ระบุว่า นโยบายสีเขียวของสหภาพยุโรปหรืออียู ที่ผลักดันให้มีการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพแทนการใช้เชื้อเพลิงจากถ่านหินและน้ำมันนั้น มิได้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างที่คิด เพราะการปลูกพืชเพื่อนำมาแปรรูปเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อคุณภาพของอากาศ 

จริงอยู่ที่การใช้เชื้อเพลิงชีวภาพทดแทนพลังงานจากซากสัตว์ที่มีปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์สูง (carbon-intensive fossil fuels) ส่งผลดีทำให้ลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แต่การปลูกพืชโตเร็วเพื่อใช้ผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ เช่น ยูคาลิปตัส และต้นหลิว เป็นจำนวนมากในพื้นที่หนึ่งๆ (เมื่อเทียบกับต้นหญ้าและพืชที่ปลูกเพื่อใช้เป็นอาหาร) จะทำให้พื้นที่ดังกล่าวเต็มไปด้วยสารเคมีชื่อไอโซพรีน (isoprene) ซึ่งต้นไม้โตเร็วเหล่านี้ปล่อยออกมาอย่างเข้มข้นในขณะเจริญเติบโต เมื่อสารไอโซพรีนรวมตัวเข้ากับมลภาวะทางอากาศตัวอื่นๆ ในแสงอาทิตย์ (air pollutants in sunlight) ในบรรยากาศชั้นล่าง (lower atmosphere) จะเกิดปฏิกิริยาทางเคมี นำไปสู่การก่อตัวของก๊าซโอโซนที่เป็นพิษ (toxic ozone) ขึ้น ซึ่งการศึกษาระบุว่าเป็นอันตรายต่อทั้งพืชและมนุษย์ ดังนั้นนโยบายของอียูที่ผลักดันให้มีการหันมาใช้เชื้อเพลิงชีวภาพจากไม้โตเร็วประเภทดังกล่าว แทนการพึ่งพาพลังงานจากซากสัตว์ที่มีปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์สูง เพื่อบรรลุเป้าหมาย “2020”—ซึ่งหนึ่งในเป้าหมายคือ การลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากอุตสาหกรรมทุกสาขาให้ได้ร้อยละ 20 ภายในปี ค.ศ. 2020—จะส่งผลให้ ผลผลิตข้าวสาลี (wheat) และข้าวโพด (maize) มีจำนวนลดลง คิดเป็นมูลค่า 1.5 หมื่นยูโร ต่อปี เนื่องจากก๊าซโอโซนส่งผลกระทบเชิงลบลดการเจริญเติบโตของพืชเศรษฐกิจเหล่านี้ แต่ที่ร้ายไปกว่านั้นคือ ก๊าซโอโซนในปริมาณเข้มข้น เป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ โดยเฉพาะส่งผลให้เกิดโรคเกี่ยวกับปอด โดยในแต่ละปี องค์การสิ่งแวดล้อมแห่งสหภาพยุโรปหรืออีอีเอ (European Environment Agency—EEA) พบสถิติการตายเนื่องจากโรคปอดในยุโรป มากถึง 22,000 รายต่อปี ในขณะที่มลพิษในอากาศที่เกิดจากเชื้อเพลิงซากสัตว์ก่อให้เกิดการเสียชีวิตในยุโรปราว 500,000 รายต่อปี 



อย่างไรก็ดี งานวิจัยนี้ได้ชี้ทางออกให้แก่อียู โดยมีข้อเสนอแนะว่าควรมีนโยบายย้ายฐานการปลูกพืชและผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพออกไปอยู่ห่างไกลจากบริเวณที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่น เพื่อลดโอกาสการก่อตัวของก๊าซโอโซน นอกจากนี้งานวิจัยนี้ยังระบุเพิ่มเติมว่า การพิจารณาใช้พันธุวิศวกรรมร์เพื่อลดปริมาณการปล่อยสารไอโซพรีนในพืชเป้าหมายอาจเป็นอีกทางออกหนึ่ง งานวิจัยจากประเทศอังกฤษชิ้นนี้เป็นหนึ่งในหลายความพยายามที่ต้องการทำให้อียูตระหนักถึงนัยของการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพเพื่อตอบสนองนโยบายการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของอียู เพื่อให้อียูพิจารณาปรับตัวลดผลกระทบที่ไม่ได้คาดการณ์ไว้ งานวิจัยอื่นๆ ในลักษณะเดียวกันที่มุ่งวิพากษ์วิจารณ์นโยบายการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพในฐานะพลังงานทดแทน เช่น เมื่อราวต้นปี ค.ศ. 2012 รายงานของคณะกรรมาธิการความมั่นคงอาหารโลก หรือยูเอ็น ซีเอฟเอส (United Nations’s Committee on World Food Security—UN CFS) วิพากษ์วิจารณ์นโยบายกระตุ้นการใช้พลังงานทดแทนของอียูดังกล่าวว่ามีส่วนทำให้ราคาอาหารโลกเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าอียูมีการปรับตัวอย่างสร้างสรรค์โดยหันมาใช้วัตถุดิบเชื้อเพลิงชีวภาพที่มิใช่อาหารหรือเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อาหารเพื่อลดผลกระทบดังกล่าว น่าติดตามว่าอียูจะมีการตอบสนองต่องานวิจัยจากประเทศอังกฤษชิ้นนี้อย่างไรในอนาคต 

ที่มา 1. http://news.lancs.ac.uk/Web/News/Pages/Biofuel-cultivation-could-harm-human-health.aspx 
        2. http://www.nature.com/nclimate/journal/vaop/ncurrent/full/nclimate1788.html 
        3. http://www.reuters.com/article/2013/01/07/us-climate-biofuels-idUSBRE90601A20130107 
        4. http://news.thaieurope.net/content/view/3864/211/

09 January 2013

ATPER 2013 Conference

สมาคมนักวิชาชีพไทยในยุโรป (ATPER) กำหนดจะจัดการประชุม ATPER 2013 ขึ้นในวันที่ 1-2 มิถุนายน 2556 ณ กรุงสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน จึงขอเชิญชวนนักวิชาชีพไทยและนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาในยุโรปเสนอหัวข้องานวิจัยหรือโครงการในที่ประชุม ATPER 2013 หัวข้องานวิจัยหรือโครงการที่นำเสนอจะต้องอยู่ในสาขาที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาองค์ความรู้ในประเทศไทย และสามารถร่วมมือกับหน่วยงานในประเทศไทยในการดำเนินการได้ โดยหัวข้องานวิจัยหรือโครงการ ที่ผ่านการคัดเลือกในที่ประชุม ATPER 2013 จะได้รับการเสนอชื่อเพื่อเข้าร่วมงานประชุมกับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช) ที่ประเทศไทย โดยสมาคมนักวิชาชีพไทยในยุโรปจะให้การสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปร่วมการประชุมแก่ผู้เสนอโครงการ ผู้ที่สนใจส่งหัวข้องานวิจัยหรือโครงการเพื่อนำเสนอในการประชุม ATPER 2013 ขอให้จัดส่งบทคัดย่อข้อเสนอโครงการขนาด 1 หน้ากระดาษ A4 ภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษไปยัง contact@atper.eu ภายในวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2556 สมาคมฯ จะดำเนินการคัดเลือกข้อเสนอโครงการ และแจ้งผลให้ท่านทราบ ภายในวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2556 สมาคมฯ จะรับผิดชอบออกค่าใช้จ่ายรวมทั้งค่าที่พักในการเดินทางให้แก่ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกให้ไปนำเสนอผลงานในการประชุมดังกล่าว ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ contact@atper.eu

19 December 2012

การประชุม ASEAN-EU Year of Science, Technology, and Innovation 2012

การประชุม ASEAN-EU Year of Science, Technology, and Innovation ๒๐๑๒ ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๑๐-๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๕ ณ กรุงบรัสเซลส์ โดย EU Commission
สาระสำคัญสรุปได้ดังนี้ มีผู้เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ประมาณ ๑๐๐ คน ประกอบด้วย ผู้แทนจากหน่วยงานด้าน ว และ ท. ของประเทศอาเซียนทั้ง ๑๐ ประเทศ นักวิจัยในสาขา Life Science, Environment and Food ผู้แทนจากประเทศอียูและหน่วยงานระหว่างประเทศ สถาบันหลักระหว่างประเทศและผู้แทนจากองค์กรอิสระ ผู้ประสานงานโครงการของแต่ละประเทศ นักวิจัยจากประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้รับทุนวิจัย Marie Curie และสมาชิกโครงการ SEA-EU-NET จาก ๒๒ สถาบัน
Mr. Simon Grimley ที่ปรึกษาด้านความร่วมมือระหว่างประเทศของ สวทช. และ NCP SEA-EU-NET of Thailand ได้รับเกียรติให้บรรยายสรุปผลการดำเนินงานของโครงการ SEA-EU-NET Phase I และ Mr. Chirstoph Elineau, NCP SEA-EU-NET of Germany นำเสนอแผนการดำเนินงานโครงการ SEA-EU-NET Phase II (ระยะเวลา ๔ ปี เริ่มจากเดือนตุลาคม ๒๕๕๕) ซึ่งมุ่งเน้นส่งเสริมความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสาขา Health, Water, and Food ในประเด็นที่ทั้งสองภูมิภาคมีความสนใจร่วมกัน
ดร.พิเชษ ดุรงคเวโรจน์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) เป็นผู้แทนจากประเทศไทยกล่าวสรุปในพิธีปิดฉากปีแห่งวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมระหว่างอาเซียนและอียูในปี ๒๐๑๒ ว่าประสงค์ที่จะเห็นทุกปีเป็นปีแห่งวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมระหว่างอาเซียนและอียู นอกจากนี้ได้รับเชิญให้เป็นผู้แทนประเทศอาเซียนนำเสนอ Krabi Initiative ซึ่งประเทศไทยเป็นผู้ริเริ่มเพื่อใช้เป็น platform ในกรอบความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเชื่อมโยงระหว่างสามเสาหลักของประชาคมอาเซียน
ในโอกาสนี้ ฯพณฯ เอกอัครราชทูต ประจำกรุงบรัสเซลส์และหัวหน้าคณะผู้แทนไทยประจำสหภาพยุโรป นายอภิชาติ ชินวรรโณ เป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารกลางวันคณะผู้แทนไทยก่อนเดินทางกลับประเทศไทย

19 October 2012

ศาลยุติธรรมของสหภาพยุโรปตัดสินว่าอังกฤษมีความผิดฐานปล่อยน้ำทิ้งเข้าทางน้ำของยุโรป

จากคำตัดสินของศาลยุติธรรมของสหภาพยุโรปเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 18 ตุลาคม 2012 อังกฤษเผชิญกับค่าปรับจำนวนมหาศาลเนื่องจากละเมิดกฎหมายการบำบัดน้ำเสียหลังการใช้ของสหภาพยุโรปในตอนเหนือของประเทศอังกฤษและลอนดอน ส่งผลให้มีน้ำทิ้งไหลเข้าทางน้ำของยุโรปทำให้น้ำเสียซึ่งอาจมีเชื้อโรคหรือสารพิษปนเปื้อนเข้าสู่ระบบ
ศาลมีอำนาจที่จะเรียกเก็บค่าปรับหลายพันยูโรต่อวัน แต่ขณะนี้ยังไม่ตัดสินว่าค่าปรับจะเป็นเท่าใด ภายใต้กฎหมายของสหภาพยุโรปที่เรียกว่า “คำสั่ง (directive )” ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี 1991 อังกฤษจึงถูกบังคับให้ปฏิบัติตามมาตรฐานการบำบัดน้ำเสียใหม่นี้เช่นเดียวกับประเทศสมาชิกอื่น ๆ แต่อังกฤษไม่สามารถปฏิบัติตามได้ ตอนหนึ่งของคำตัดสินแห่งศาลลักเซมเบิร์กกล่าวว่า "สหราชอาณาจักรล้มเหลวในการปฏิบัติตามข้อผูกพันของตนภายใต้ directive" ในคำแถลงของศาลกล่าวว่า “โรงงานใน Whitburn ซึ่งอยู่ตอนเหนือของประเทศอังกฤษและในลอนดอนทิ้งสิ่งปฏิกูลลงในระบบระบายน้ำของท้องถิ่น ซึ่งระบบระบายน้ำของลอนดอนส่วนมากสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยวิกตอเรียและเคยปล่อยน้ำดิบเสียลงสู่แม่น้ำเทมส์เมื่อฝนตกหนักท่วมอุโมงค์ที่มีใช้ตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 ดูเหมือนว่าโรงบำบัดน้ำเสียของลอนดอนจะสามารถจัดเก็บน้ำเสียได้เพียงพอในสภาพอากาศปกติ แต่มีความจุไม่เพียงพอเมื่อมีฝนตก"
สหราชอาณาจักรโต้แย้งว่าได้ดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาให้สอดคล้องกับกฎระเบียบใหม่ของสหภาพยุโรปแล้วแต่คำโต้แย้งไม่มีน้ำหนักเพียงพอต่อศาล ศาลกล่าวว่า "รัฐสมาชิกอาจไม่สารภาพความยากลำบากในทางปฏิบัติหรือการบริหารเพื่อปฏิบัติตามภาระผูกพันตามเงื่อนเวลาที่กำหนด ซึ่งเป็นความรับผิดชอบของประเทศสมาชิกฯ ที่จะนำมาตรการที่เหมาะสมมาใช้เพื่อบรรลุตามเงื่อนไข" ลอนดอนได้รับมอบหมายให้สร้างอุโมงค์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่า 'ท่อระบายน้ำซุปเปอร์' ใต้แม่น้ำเทมส์เพื่อแก้ปัญหาความจุของระบบการจัดเก็บน้ำเสียของเมืองซึ่งมีมูลค่าสูงถึง 4000 ล้านปอนด์ แต่โดนคัดค้านโดยประชาชนและนักการเมืองท้องถิ่นเพราะค่าใช้จ่ายดังกล่าวจะทำให้ต้องจ่ายค่าน้ำสูงขึ้น ในปี 2010 คณะกรรมาธิการยุโรปขอให้ศาลยุติธรรมแห่งสหภาพยุโรปปรับประเทศเบลเยียมสูงถึง 15 ล้านยูโรสำหรับการละเมิดกฎหมายการบำบัดน้ำเสีย คิดเป็นค่าปรับสูงถึงวันละ 62,000 ยูโร (2.48 ล้านบาท)ซึ่งคาดว่าศาลอาจนำมาใช้เป็นบรรทัดฐานในการคิดค่าปรับสหราชอาณาจักรของการกระทำผิดในครั้งนี้