29 December 2010

“การเมืองสะอาด (Green Politics)”

เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2553 ฯพณฯ ท่านเอกอัครราชฑูตและคณะฑูตานุฑูตไทยประจำกรุงเบอร์ลิน เป็นเจ้าภาพจัดเลี้ยงอาหารกลางวันประจำเดือนแก่คณะฑูตานุฑูตประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ณ ทำเนียบเอกอัครราชฑูตไทยประจำกรุงเบอร์ลิน มีเอกอัครราชฑูต 13 ท่าน รวมทั้งเอกอัครราชฑูตจากประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ และผู้แทนประเทศ 2 ประเทศจากประเทศสมาชิกทั้งหมด 22 ประเทศ เข้าร่วม เอกอัครราชฑูตของประเทศที่ไม่สามารถมาร่วมงาน ได้แก่ อินเดีย จีนและสิงคโปร์

เพื่อเพิ่มสีสรรในกิจกรรมที่จัดขึ้นเนื่องในโอกาสพิเศษดังกล่าวซึ่งจะเน้นประเด็นที่เกี่ยวข้องด้านธุรกิจและการเมืองเป็นส่วนใหญ่ คณะฑูตานุฑูตไทยจึงได้เชิญ Ms. Barbara UnmÜßig มาเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษในหัวข้อเรื่อง การเมืองสะอาด “Green Politics” Ms. Barbara UnmÜßig นอกจากจะดำรงตำแหน่งเป็นประธานมูลนิธิ Heinrich Böll ซึ่งเป็นสถาบันทางการเมืองที่ให้การสนับสนุนโครงการ “Think TanK” ร่วมกับกรีนปาร์ตี้ในเยอรมันแล้ว เธอยังเป็นนักนิเวศน์วิทยาและเป็นผู้นำในการเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมสะอาดในเยอรมันและให้การสนับสนุนการเคลื่อนไหวดังกล่าวทั่วโลกอีกด้วย

ประเด็นที่ Ms. UnmÜßig นำมาบรรยายในวันดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงอันยิ่งใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศ ซึ่งทำให้ทั่วโลกมีการตื่นตัวที่จะเปลี่ยนแปลงฐานเศรษฐกิจจากถ่านหินซึ่งมีการใช้มาตั้งแต่สมัยยุคกลางไปสู่ธุรกิจพลังงานทางเลือกใหม่ที่มีคาร์บอนต่ำในยุคใหม่นี้ ตอนหนึ่งของการบรรยายเธอกล่าวว่า “ผู้ที่ก่อปัญหาหลักมิใช่ประเทศในแถบซีกโลกใต้ ที่ทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยในปัจจุบันสูงที่สุดในรอบ 10,000 ปีและมนุษย์เป็นผู้ที่ก่อปัญหาดังกล่าว หากเราไม่เปลี่ยนแปลงแหล่งพลังงานและระบบการขนส่ง พวกเราอาจเผชิญกับอุณหภูมิที่สูงกว่าในปี 1990 ถึง 4 องศาเซลเซียส”










ส่วนบทบาทด้านการเกษตร ณ ขณะนี้ยังไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่ามีผลก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศมากนัก โดยพวกที่ทำลายป่าไม้มีผลทำให้มีการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์มากขึ้น 12-13 เปอร์เซนต์ ซึ่งคิดเป็น 1/3 ของปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มมากขึ้นทั่วโลก ดังนั้นรัฐบาลจึงควรมีมาตรการในการรับมือกับปัญหาดังกล่าว โดยต้องเชื่อมโยงนโยบายด้านเศรษฐกิจ ความยากจน พลังงานและความมั่นคงด้านเชื้อเพลิงเข้าด้วยกัน
ด้านพลังงาน ถ่านหินในโลกนี้ยังมีอีกเหลือเฟือในขณะที่น้ำมันมีปริมาณการใช้สูงสุดและแหล่งแร่ยูเรเนียมกำลังจะหมดลง ยังมีพื้นที่ที่เหมาะแก่การเกษตรกรรมอีกมากมาย แต่โชคร้ายที่ไม่ใช่ในทวีปเอเชีย ภาคธุรกิจไม่อาจดำเนินการได้ดั่งปกติเนื่องจากอุตสาหกรรมในซีกโลกเหนือจำเป็นต้องลดปริมาณการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ลงถึง 85-95 เปอร์เซนต์ ให้ได้ภายในปี 2050 ซึ่งในความเป็นจริงยังไม่มีความก้าวหน้าในการดำเนินการตามมาตรการที่จริงจังและเพียงพอ

ภายใต้ข้อตกลงที่มีในปัจจุบันอุณหภูมิยังคงสูงขึ้นอีก 2-3 องศาอยู่ดี ธุรกิจพลังงานนิวเคลียร์ไม่อาจเติบโตได้เพราะแพงเกินไป(หากพิจารณาในแง่ของค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างและบำรุงรักษา) สกปรก(เนื่องจากกากกัมมันตรังสีซึ่งไม่สามารถกำจัดได้) และถือว่าเป็นการไม่รับผิดชอบ(ต่อสังคม) เราได้เห็นความนิยมชมชอบต่อโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ทั่วโลกเริ่มลดลง การแข่งขันที่แท้จริงในอนาคตคาดว่าจะเป็นธุรกิจด้านพลังงานทดแทนซึ่งจำเป็นต้องมีนโยบายที่ดีเพื่อรองรับ

การสนับสนุนอุตสาหกรรมนิวเคลียร์ในประเทศเยอรมัน ทำให้การเติบโตของภาคพลังงานทดแทนหยุดชะงักลง หากรัฐบาลวางนโยบายได้ถูกต้องโดยหันไปใช้พลังงานทดแทนจะส่งผลให้มีการลงทุนขนาดใหญ่ด้านพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ ดังเช่น ที่เกิดขึ้นในประเทศจีนและสหรัฐอเมริกา เป็นต้น พลังงานทดแทนในทางการค้าสามารถเติบโตได้แต่จำเป็นต้องอาศัยการลงทุนขนาดใหญ่ในการสร้างสายส่งกำลังที่เหมาะสม

โดยสรุปธุรกิจปกติและโครงสร้างที่ต้องขึ้นกับปริมาณคาร์บอนไม่ใช่หนทางแก้ปัญหา รัฐบาลจำเป็นต้องทำมากกว่าการผนวกแผนการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศเข้าในแผนเศรษฐกิจและการเมืองของประเทศ ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย ดังผลจากการประชุม G20 ซึ่งเป็นที่น่าผิดหวัง ไม่มีมาตรการเยียวยาที่นำมาปรับใช้ใดที่บรรลุตามข้อตกลง การแก้ไขปัญหาความยากจนและการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศจำเป็นจะต้องดำเนินการพร้อมๆกันไปและอย่างต่อเนื่อง

หลังการบรรยายมีการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง โดยเอกอัครราชฑูตญี่ปุ่นได้ถามคำถามที่ท้าทายในประเด็นที่ว่า “ความเป็นจริง” ธุรกิจปกติจะขัดขวางประเทศในการก้าวไปสู่ประเทศสะอาดได้อย่างรวดเร็ว การขาดความก้าวหน้าในการดำเนินการตามความร่วมมือระหว่างประเทศแบบพหุภาคี และประชาคมอื่นจำเป็นต้องรอประเทศสหรัฐอเมริกาและจีนหรือไม่ อีกทั้งประเทศอื่นๆ เช่น เยอรมัน พร้อมแล้วหรือที่จะเปลี่ยนจากแหล่งพลังงานแบบดั้งเดิมไปสู่พลังงานทางเลือกใหม่ โดย Ms. UnmÜßig ได้ถามกลับว่าเรามีเวลาหรือที่จะรอพร้อมทั้งยังเน้นอีกว่าการแก้ปัญหาด้านการตลาดจะทำได้ก็ต่อเมื่อมีการเสาะหาและมีการลงทุนขนาดใหญ่ในแหล่งพลังงานทดแทน โดยรัฐบาลจะต้องผลักดันการแก้ปัญหาเพื่อลดความยากจนและพยายามชักชวนและแจ้งให้ผู้ที่สนใจทราบและร่วมมือกันให้มากขึ้นในการแก้ปัญหาดังกล่าว ต่อมาผู้บรรยายได้จัดส่งเอกสารเรื่อง “Myths about Nuclear Energy-How the energy lobby is pulling wool over our eyes” ให้สถานเอกอัครราชฑูตไทยเพื่อเวียนเผยแพร่ให้ผู้ที่เข้าร่วมประชุมรับทราบต่อไป เอกสารดังกล่าวสามารถดาวน์โหลดได้จากเวปไซต์ http://www.boell.org/downloads/Rozenkrant_UK_31-08.pdf.

ข้อคิดเห็นจากผู้เขียน
เนื่องด้วยผู้บรรยายเป็นนักนิเวศน์วิทยาและผู้นำการรณรงค์โลกสะอาด ดังนั้นประเด็นการบรรยายและมุมมองจึงมุ่งเน้นไปในทางอนุรักษ์ธรรมชาติเป็นหลัก ข้อคิดเห็นของผู้บรรยายที่เกี่ยวข้องกับพลังงานนิวเคลียร์อาจคลาดเคลื่อนและเป็นการนำเสนอข้อมูลเพียงด้านเดียว ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่มีคำถามจากผู้เข้าร่วมรับฟังในหลายๆประเด็นดังกล่าว ข้อมูลอีกมากมายที่ผู้บรรยาย(จะโดยเจตนาหรือไม่ก็ตาม)หลงลืมและมิได้กล่าวถึงในที่นี้คือ ถ่านหินจำนวนมากยังมีอยู่ทั่วโลกก็จริงแต่มีสักกี่เปอร์เซนต์ที่สะอาดและมีคุณภาพสูงพอที่จะนำมาใช้โดยไม่ก่อให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมหาศาลสู่สิ่งแวดล้อม ถึงแม้ว่าปัจจุบันนี้จะมีเทคโนโลยีขั้นสูงในการนำถ่านหินเหล่านี้มาทำให้มีความบริสุทธิ์สูงได้ที่เรียกว่า “clean coal” ซึ่งหลายประเทศนำมาใช้ในการผลิตไฟฟ้าใช้ภายในประเทศ ถ่านหินสะอาดดังกล่าวมีราคาแพงกว่าถ่านหินที่มีใช้แบบดั้งเดิมมาก และผู้บริโภคเช่นเราเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายดังกล่าวในรูปของค่าไฟฟ้า สำหรับผู้บริโภคระดับกลางคงจะสามารถแบกรับค่าใช้จ่ายดังกล่าวไปได้สักระยะหนึ่ง แต่คนยากจนซึ่งมีอยู่มากมายและในทุกประเทศ พวกเขาจะแบกรับภาระดังกล่าวได้นานสักเพียงใด
ในแง่ของค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างและบำรุงรักษาโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ผู้ที่สนใจศึกษาในประเด็นดังกล่าวอย่างจริงจัง จะทราบว่าผลการศึกษาเปรียบเทียบค่าไฟฟ้าต่อหน่วยจากแหล่งพลังงานต่างๆในหลายๆประเทศชี้ชัดว่าค่าไฟฟ้าต่อหน่วยจากพลังงานนิวเคลียร์ต่ำพอๆกับค่าไฟฟ้าต่อหน่วยจากพลังงานถ่านหิน สิ่งเดียวที่ไม่สามารถโต้แย้งได้เกี่ยวกับนิวเคลียร์คือ การขาดนโยบายหรือมาตรการที่ชัดเจนของประเทศในการบริหารจัดการกากกัมมันตรังสีที่เกิดขึ้น ถึงแม้ปริมาตรจะไม่มากเมื่อเทียบกับขยะจากแหล่งอื่นๆหรือซากแบตเตอรีที่ใช้สะสมพลังงานจากแสงอาทิตย์เมื่อหมดอายุการใช้งานแล้วก็ตาม ดังนั้นประเทศต่างๆควรพิจารณาและแยกย่อยข้อมูลที่มีอย่างรอบคอบและทุกแง่มุมก่อนนำมาประกอบการตัดสินใจเพื่อกำหนดแผนและนโยบายด้านเศรษฐกิจและการเมืองของประเทศได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมและทันกาลต่อไป













ข้อเท็จจริงเพิ่มเติม
แท่งเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ที่ใช้แล้วมีมูลค่ามหาศาลอันเนื่องมาจากพลูโตเนียมที่เกิดจากการใช้เชื้อเพลิงยูเรเนียม ทำให้หลายๆประเทศลังเลใจและไม่สามารถกำหนดนโยบายที่ชัดเจนเกี่ยวกับแท่งเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ที่ใช้แล้วว่าควรจะส่งคืนกลับไปยังประเทศผู้ผลิตดีหรือเก็บเอาไว้ภายในประเทศเพื่อรอเวลาเมื่อประเทศมีเทคโนโลยีพร้อมที่จะสกัดแยกนำเอาพลูโตเนียมออกมาใช้ประโยชน์

“การเมืองสะอาด (Green Politics)”

เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2553 ฯพณฯ ท่านเอกอัครราชฑูตและคณะฑูตานุฑูตไทยประจำกรุงเบอร์ลิน เป็นเจ้าภาพจัดเลี้ยงอาหารกลางวันประจำเดือนแก่คณะฑูตานุฑูตประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ณ ทำเนียบเอกอัครราชฑูตไทยประจำกรุงเบอร์ลิน มีเอกอัครราชฑูต 13 ท่าน รวมทั้งเอกอัครราชฑูตจากประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ และผู้แทนประเทศ 2 ประเทศจากประเทศสมาชิกทั้งหมด 22 ประเทศ เข้าร่วม เอกอัครราชฑูตของประเทศที่ไม่สามารถมาร่วมงาน ได้แก่ อินเดีย จีนและสิงคโปร์

เพื่อเพิ่มสีสรรในกิจกรรมที่จัดขึ้นเนื่องในโอกาสพิเศษดังกล่าวซึ่งจะเน้นประเด็นที่เกี่ยวข้องด้านธุรกิจและการเมืองเป็นส่วนใหญ่ คณะฑูตานุฑูตไทยจึงได้เชิญ Ms. Barbara UnmÜßig มาเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษในหัวข้อเรื่อง การเมืองสะอาด “Green Politics” Ms. Barbara UnmÜßig นอกจากจะดำรงตำแหน่งเป็นประธานมูลนิธิ Heinrich Böll ซึ่งเป็นสถาบันทางการเมืองที่ให้การสนับสนุนโครงการ “Think TanK” ร่วมกับกรีนปาร์ตี้ในเยอรมันแล้ว เธอยังเป็นนักนิเวศน์วิทยาและเป็นผู้นำในการเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมสะอาดในเยอรมันและให้การสนับสนุนการเคลื่อนไหวดังกล่าวทั่วโลกอีกด้วย


ประเด็นที่ Ms. UnmÜßig นำมาบรรยายในวันดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงอันยิ่งใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศ ซึ่งทำให้ทั่วโลกมีการตื่นตัวที่จะเปลี่ยนแปลงฐานเศรษฐกิจจากถ่านหินซึ่งมีการใช้มาตั้งแต่สมัยยุคกลางไปสู่ธุรกิจพลังงานทางเลือกใหม่ที่มีคาร์บอนต่ำในยุคใหม่นี้ ตอนหนึ่งของการบรรยายเธอกล่าวว่า “ผู้ที่ก่อปัญหาหลักมิใช่ประเทศในแถบซีกโลกใต้ ที่ทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยในปัจจุบันสูงที่สุดในรอบ 10,000 ปีและมนุษย์เป็นผู้ที่ก่อปัญหาดังกล่าว หากเราไม่เปลี่ยนแปลงแหล่งพลังงานและระบบการขนส่ง พวกเราอาจเผชิญกับอุณหภูมิที่สูงกว่าในปี 1990 ถึง 4 องศาเซลเซียส”


ส่วนบทบาทด้านการเกษตร ณ ขณะนี้ยังไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่ามีผลก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศมากนัก โดยพวกที่ทำลายป่าไม้มีผลทำให้มีการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์มากขึ้น 12-13 เปอร์เซนต์ ซึ่งคิดเป็น 1/3 ของปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มมากขึ้นทั่วโลก ดังนั้นรัฐบาลจึงควรมีมาตรการในการรับมือกับปัญหาดังกล่าว โดยต้องเชื่อมโยงนโยบายด้านเศรษฐกิจ ความยากจน พลังงานและความมั่นคงด้านเชื้อเพลิงเข้าด้วยกัน


ด้านพลังงาน ถ่านหินในโลกนี้ยังมีอีกเหลือเฟือในขณะที่น้ำมันมีปริมาณการใช้สูงสุดและแหล่งแร่ยูเรเนียมกำลังจะหมดลง ยังมีพื้นที่ที่เหมาะแก่การเกษตรกรรมอีกมากมาย แต่โชคร้ายที่ไม่ใช่ในทวีปเอเชีย ภาคธุรกิจไม่อาจดำเนินการได้ดั่งปกติเนื่องจากอุตสาหกรรมในซีกโลกเหนือจำเป็นต้องลดปริมาณการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ลงถึง 85-95 เปอร์เซนต์ ให้ได้ภายในปี 2050 ซึ่งในความเป็นจริงยังไม่มีความก้าวหน้าในการดำเนินการตามมาตรการที่จริงจังและเพียงพอ ภายใต้ข้อตกลงที่มีในปัจจุบันอุณหภูมิยังคงสูงขึ้นอีก 2-3 องศาอยู่ดี ธุรกิจพลังงานนิวเคลียร์ไม่อาจเติบโตได้เพราะแพงเกินไป(หากพิจารณาในแง่ของค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างและบำรุงรักษา) สกปรก(เนื่องจากกากกัมมันตรังสีซึ่งไม่สามารถกำจัดได้) และถือว่าเป็นการไม่รับผิดชอบ(ต่อสังคม) เราได้เห็นความนิยมชมชอบต่อโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ทั่วโลกเริ่มลดลง การแข่งขันที่แท้จริงในอนาคตคาดว่าจะเป็นธุรกิจด้านพลังงานทดแทนซึ่งจำเป็นต้องมีนโยบายที่ดีเพื่อรองรับ


การสนับสนุนอุตสาหกรรมนิวเคลียร์ในประเทศเยอรมัน ทำให้การเติบโตของภาคพลังงานทดแทนหยุดชะงักลง หากรัฐบาลวางนโยบายได้ถูกต้องโดยหันไปใช้พลังงานทดแทนจะส่งผลให้มีการลงทุนขนาดใหญ่ด้านพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ ดังเช่น ที่เกิดขึ้นในประเทศจีนและสหรัฐอเมริกา เป็นต้น พลังงานทดแทนในทางการค้าสามารถเติบโตได้แต่จำเป็นต้องอาศัยการลงทุนขนาดใหญ่ในการสร้างสายส่งกำลังที่เหมาะสม
โดยสรุปธุรกิจปกติและโครงสร้างที่ต้องขึ้นกับปริมาณคาร์บอนไม่ใช่หนทางแก้ปัญหา รัฐบาลจำเป็นต้องทำมากกว่าการผนวกแผนการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศเข้าในแผนเศรษฐกิจและการเมืองของประเทศ ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย ดังผลจากการประชุม G20 ซึ่งเป็นที่น่าผิดหวัง ไม่มีมาตรการเยียวยาที่นำมาปรับใช้ใดที่บรรลุตามข้อตกลง การแก้ไขปัญหาความยากจนและการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศจำเป็นจะต้องดำเนินการพร้อมๆกันไปและอย่างต่อเนื่อง
หลังการบรรยายมีการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง โดยเอกอัครราชฑูตญี่ปุ่นได้ถามคำถามที่ท้าทายในประเด็นที่ว่า “ความเป็นจริง” ธุรกิจปกติจะขัดขวางประเทศในการก้าวไปสู่ประเทศสะอาดได้อย่างรวดเร็ว การขาดความก้าวหน้าในการดำเนินการตามความร่วมมือระหว่างประเทศแบบพหุภาคี และประชาคมอื่นจำเป็นต้องรอประเทศสหรัฐอเมริกาและจีนหรือไม่ อีกทั้งประเทศอื่นๆ เช่น เยอรมัน พร้อมแล้วหรือที่จะเปลี่ยนจากแหล่งพลังงานแบบดั้งเดิมไปสู่พลังงานทางเลือกใหม่ โดย Ms. UnmÜßig ได้ถามกลับว่าเรามีเวลาหรือที่จะรอพร้อมทั้งยังเน้นอีกว่าการแก้ปัญหาด้านการตลาดจะทำได้ก็ต่อเมื่อมีการเสาะหาและมีการลงทุนขนาดใหญ่ในแหล่งพลังงานทดแทน โดยรัฐบาลจะต้องผลักดันการแก้ปัญหาเพื่อลดความยากจนและพยายามชักชวนและแจ้งให้ผู้ที่สนใจทราบและร่วมมือกันให้มากขึ้นในการแก้ปัญหาดังกล่าว ต่อมาผู้บรรยายได้จัดส่งเอกสารเรื่อง “Myths about Nuclear Energy-How the energy lobby is pulling wool over our eyes” ให้สถานเอกอัครราชฑูตไทยเพื่อเวียนเผยแพร่ให้ผู้ที่เข้าร่วมประชุมรับทราบต่อไป เอกสารดังกล่าวสามารถดาวน์โหลดได้จากเวปไซต์ http://www.boell.org/downloads/Rozenkrant_UK_31-08.pdf.

ข้อคิดเห็นจากผู้เขียนเนื่องด้วยผู้บรรยายเป็นนักนิเวศน์วิทยาและผู้นำการรณรงค์โลกสะอาด ดังนั้นประเด็นการบรรยายและมุมมองจึงมุ่งเน้นไปในทางอนุรักษ์ธรรมชาติเป็นหลัก ข้อคิดเห็นของผู้บรรยายที่เกี่ยวข้องกับพลังงานนิวเคลียร์อาจคลาดเคลื่อนและเป็นการนำเสนอข้อมูลเพียงด้านเดียว ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่มีคำถามจากผู้เข้าร่วมรับฟังในหลายๆประเด็นดังกล่าว ข้อมูลอีกมากมายที่ผู้บรรยาย(จะโดยเจตนาหรือไม่ก็ตาม)หลงลืมและมิได้กล่าวถึงในที่นี้คือ ถ่านหินจำนวนมากยังมีอยู่ทั่วโลกก็จริงแต่มีสักกี่เปอร์เซนต์ที่สะอาดและมีคุณภาพสูงพอที่จะนำมาใช้โดยไม่ก่อให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมหาศาลสู่สิ่งแวดล้อม ถึงแม้ว่าปัจจุบันนี้จะมีเทคโนโลยีขั้นสูงในการนำถ่านหินเหล่านี้มาทำให้มีความบริสุทธิ์สูงได้ที่เรียกว่า “clean coal” ซึ่งหลายประเทศนำมาใช้ในการผลิตไฟฟ้าใช้ภายในประเทศ ถ่านหินสะอาดดังกล่าวมีราคาแพงกว่าถ่านหินที่มีใช้แบบดั้งเดิมมาก และผู้บริโภคเช่นเราเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายดังกล่าวในรูปของค่าไฟฟ้า สำหรับผู้บริโภคระดับกลางคงจะสามารถแบกรับค่าใช้จ่ายดังกล่าวไปได้สักระยะหนึ่ง แต่คนยากจนซึ่งมีอยู่มากมายและในทุกประเทศ พวกเขาจะแบกรับภาระดังกล่าวได้นานสักเพียงใด
ในแง่ของค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างและบำรุงรักษาโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ผู้ที่สนใจศึกษาในประเด็นดังกล่าวอย่างจริงจัง จะทราบว่าผลการศึกษาเปรียบเทียบค่าไฟฟ้าต่อหน่วยจากแหล่งพลังงานต่างๆในหลายๆประเทศชี้ชัดว่าค่าไฟฟ้าต่อหน่วยจากพลังงานนิวเคลียร์ต่ำพอๆกับค่าไฟฟ้าต่อหน่วยจากพลังงานถ่านหิน สิ่งเดียวที่ไม่สามารถโต้แย้งได้เกี่ยวกับนิวเคลียร์คือ การขาดนโยบายหรือมาตรการที่ชัดเจนของประเทศในการบริหารจัดการกากกัมมันตรังสีที่เกิดขึ้น ถึงแม้ปริมาตรจะไม่มากเมื่อเทียบกับขยะจากแหล่งอื่นๆหรือซากแบตเตอรีที่ใช้สะสมพลังงานจากแสงอาทิตย์เมื่อหมดอายุการใช้งานแล้วก็ตาม ดังนั้นประเทศต่างๆควรพิจารณาและแยกย่อยข้อมูลที่มีอย่างรอบคอบและทุกแง่มุมก่อนนำมาประกอบการตัดสินใจเพื่อกำหนดแผนและนโยบายด้านเศรษฐกิจและการเมืองของประเทศได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมและทันกาลต่อไป


ข้อเท็จจริงเพิ่มเติมแท่งเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ที่ใช้แล้วมีมูลค่ามหาศาลอันเนื่องมาจากพลูโตเนียมที่เกิดจากการใช้เชื้อเพลิงยูเรเนียม ทำให้หลายๆประเทศลังเลใจและไม่สามารถกำหนดนโยบายที่ชัดเจนเกี่ยวกับแท่งเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ที่ใช้แล้วว่าควรจะส่งคืนกลับไปยังประเทศผู้ผลิตดีหรือเก็บเอาไว้ภายในประเทศเพื่อรอเวลาเมื่อประเทศมีเทคโนโลยีพร้อมที่จะสกัดแยกนำเอาพลูโตเนียมออกมาใช้ประโยชน์





28 December 2010

ผลกระทบต่อโลกมีเพียงเล็กน้อยเมื่ออียูลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนลงถึง 30 เปอร์เซนต์

นาย Fatih Birol หัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจของทบวงการพลังงานระหว่างประเทศ (IEA)ได้ให้สัมภาษณ์ต่อสำนักข่าวรอยเตอร์เมื่อวันที่ 22 .. 2553 ว่า ข้อเสนอใหม่ของสหภาพยุโรปเรื่องการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อย่างเข้มงวดจะมีผลกระทบต่อกระบวนการโลกร้อนอย่างจำกัดเท่านั้น อียูได้เห็นชอบต่อเป้าหมายที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างน้อยร้อยละ 20 ในปี 2020 เมื่อเทียบกับปี 1990 แต่มีอีกหลายข้อเสนอแนะที่คิดว่าเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกควรเป็นร้อยละ 30



นาย Fatih Birol  กล่าวว่าผลที่ได้จากเป้าหมายที่เข้มงวดในการลดของสหภาพยุโรปโดยประมาณจะเทียบเท่ากับการปล่อยก๊าซของประเทศจีนเพียงสองสัปดาห์เท่านั้น "ประเทศสหรัฐอเมริกาและ จีนมีความจำเป็นในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก การขยายแผนการของยุโรปเพื่อลดการปล่อยก๊าซจาก 20-30 เปอร์เซ็นต์โดยประมาณ จะเท่ากับการปล่อยก๊าซของจีนเพียงสองสัปดาห์เท่านั้น" นาย Birol กล่าวในการให้สัมภาษณ์ นอกจากนี้ เขายังได้แสดงข้อกังขาเกี่ยวกับโอกาสของการพัฒนาความก้าวหน้าในการประชุมสุดยอดด้านสภาพภูมิอากาศของสหประชาชาติในครั้งต่อไป ซึ่งจะจัดขึ้น ประเทศเม็กซิโก

"ลมไม่พัดไปในทิศทางที่ถูกต้องสำหรับการต่อสู้กับภาวะโลกร้อน หากพูดอย่างตรงไปตรงมามีโอกาสน้อยมากที่จะบรรลุข้อสัญญาผูกพันตามกฎหมายในการประชุมสุดยอดที่แคนคูน" และยังกล่าวเสริมอีกว่า "ผมจะมีความสุขมากหากสิ่งที่ผมพูดผิดไปจากความเป็นจริง

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อมจากเกือบ 200 ประเทศไปร่วมการประชุม เมืองแคนคูน, เม็กซิโก ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 29 พฤศจิกายน – 10 ธันวาคม เพื่อให้ได้มาซึ่งรายละเอียดข้อตกลงเกี่ยวกับการจัดการสภาพภูมิอากาศของโลก ซึ่งคาดว่าจะสามารถหาข้อสรุปได้ภายในเดือนธันวาคม 2011 การเจรจาในแคนคูนจัดขึ้นหลังการประชุมสุดยอดที่น่าผิดหวัง ที่มีขึ้น เมืองโคเปนเฮเกนในปีที่ผ่านมา เนื่องด้วยไม่สามารถบรรลุข้อตกลงในเรื่องการจัดการสืบต่อจากพิธีสารเกียวโตที่จะสิ้นสุดลงในปี 2012 ได้

ความคาดหมายในหลายประเทศรวมทั้งสหราชอาณาจักรเพื่อลดการปล่อยก๊าซ โดยกำหนดเป้าหมายของสหภาพยุโรปเพื่อลดการปล่อยก๊าซ 20% ในปี 2020 และเพิ่มขึ้นเป็น 30% หากประเทศเหล่านั้นสามารถทำได้ (ดังแสดงในตาราง) 



แหล่งข้อมูล: World Environment News - November 23, 2010 from Planet Ark และ