21 December 2011

นักวิทยาศาสตร์ค้นพบความลับของการงอกก้านครีบปลา







นักวิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัย คอนสแตนซ์ทางตอนใต้ของประเทศเยอรมนีแถลงถึงความสำเร็จในงานวิจัยสามศตวรรษที่ผ่านมาว่าสัตว์บางชนิดสามารถงอกรยางค์หรือแขนขาที่ด้วนได้อย่างไร

มีสัตว์จำนวนมากที่สามารถงอกรยางค์ขึ้นใหม่ได้ โดยเฉพาะปลาม้าลาย ซึ่งเป็นปลาน้ำจึดพบมากในภาคตะวันออกเฉียงใต้ของเทือกเขาหิมาลัย  เป็นปลาน้ำจืดที่สามารถงอกครีบ อวัยวะ และกล้ามเนื้อหัวใจที่สูญเสียไปได้


นักวิทยาศาสตร์ทราบมานานแล้วว่าปลาม้าลายใช้กรดวิตามินเอ หรือกรดเรติโอนิคเพื่อสร้างก้านครีบของมัน แต่ไม่มีใครทราบแน่นอนว่ากรดดังกล่าวทำงานอย่างไร นิโคลา บลูม นักศึกษาปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยคอนสแตนซ์ ซึ่งเป็นหนึ่งในทีมนักวิจัยนำโดย เกอริต เบอเกอมันน์ เป็นคนแรกที่แสดงให้เห็นว่ากรดวิตามินเอเป็นสารสำคัญในการงอกนี้


เป็นความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่สำหรับพวกเรา เบเกอมันน์บอกกับหนังสือพิมพ์ เดอะโลคอล งานวิจัยนี้ได้รับการยกย่องว่าเป็นความก้าวหน้าชิ้นหนึ่งทางวิทยาศาสตร์ เนื่องด้วยไตรมาสของศตวรรษที่ผ่านมานักวิทยาศาสตร์ยังงวยงงกับผลของการเพิ่มขี้นของกรดวิตะมินเอเทียมเพื่อสร้างก้านครีบขี้นมาใหม่ จนถึงปัจจุบันไม่มีใครสนใจที่จะศึกษาการทำงานที่แท้จริงของกรดนี้ เราแสดงให้เห็นว่ากรดวิตามินเอ มีความสำคัญอย่างแท้จริงในขบวนการงอกก้านครีบของปลาม้าลาย

ก่อนที่ครีบของปลาม้าลายจะงอกขี้นมาใหม่ จะมีชั้นของเนื้อเยื่อมาปิดหุ้มบาดแผลไว้ เซลล์ที่อยู่ใต้ส่วนที่เป็นตอเนื้อเยื่อนี้เรียกว่า บลาสติมา  นักวิทยาศาสตร์พบว่าปลาใช้ลักษณะพิเศษทางพันธุกรรมควบคุมการใช้กรดเพื่อสร้างเซลล์บลาสติมา นั่นหมายถึงว่าสัตว์สามารถสร้างกลุ่มเซลล์รอไว้เพื่อที่จะสร้างครีบขี้นมาใหม่


สัตว์รวมทั้งมนุษย์สามารถสร้างกรดวิตามินเอ หรือกรดเรติโอนิคจากวิตามินเอ ซึ่งสามารถกระตุ้นยีนที่เกี่ยวข้องในการงอกใหม่ได้ ทารกในหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่ได้รับวิตามินเอเพียงพอจากอาหารมักจะมีพัฒนาการต่ำ แต่นั่นก็มิได้หมายความว่าอาหารเสริมวิตามินเอ จะช่วยให้ขาที่ถูกตัดขาดงอกขึ้นมาใหม่ได้ เบกเกมันน์กล่าวว่า เขาต้องการให้การค้นพบครั้งนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ทางการแพทย์ได้ ปัญหาคือมนุษย์เราไม่สามารถงอกเนื้อเยื่อได้ ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีคำอธิบายว่า...ทำไม

No comments:

Post a Comment