19 September 2011

นวัตกรรม พลาสติกสีเขียว (Green Plastic) พลาสติกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

           ผลจากการศึกษาล่าสุดเปิดเผยว่า โปรตีนหางนม (Whey Protein)  ซึ่งเป็นผลผลิตพลอยได้จากการผลิตเนยแข็ง สามารถทำเป็นฟิล์มพลาสติก ซึ่งสามารถ กันความชื้น และออกซิเจนได้ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่า ฟิล์มพลาสติกโดยทั่วไป ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อนำไปสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ต่อไป 


                Elodie Bugnicourt  จากสถาบันวิจัยใน บลาเซียโลนา กล่าวว่า เราพัฒนาพลาสติกชีวภาพใหม่ จาก โปรตีนหางนม สำหรับทำเป็นบรรจุภัณฑ์อาหารที่รีไซเคิลได้  หางนม เป็นผลผลิตพลอยได้จากการผลิตเนยแข็ง  ส่วนทีเป็นเนื้อแข็ง 7 เปอร์เซนต์ จะอุดมไปด้วยโปรตีน นำมาผลิตเป็นชั้นๆ เป็นพลาสติกชีวภาพใหม่ของเรา
          เนื่องจากฟิล์มพลาสติกชนิดใหม่นี้ ทำมาจากโปรตีนหางนมจึงสามารถย่อยสลายทางชีวภาพหรือถูกย่อยสลายในธรรมชาติได้ ในแต่ละปีโรงงานผลิตเนยแข็งในยุโรปจะผลิตหางนมได้ประมาณ 50 ล้านตัน บางส่วนนำไปใช้เป็นอาหารเสริมโปรตีนสำหรับร่างกาย แต่ประมาณ 40 เปอร์เซนต์จะถูกทิ้งไป
ผลงานการวิจัยนี้เป็นความร่วมมือของกลุ่มบริษัทเล็กๆ หลายบริษัทในแถบคาตาโลเนีย ประเทศสเปน ภายใต้ทุนสนับสนุนการวิจัยจากสหภาพยุโรป เพื่อนำผลผลิตพลอยได้นี้มาผลิตเป็นวัสดุใหม่ขึ้นมา   
โปรตีนหางนมบริสุทธ์ได้จากการนำโปรตีนหางนมที่ได้จากการผลิตเนยแข็ง มากรองและทำให้แห้งแบบพ่นฝอย  จากนั้นนำมาทำเป็นชั้นบางๆหลายๆชั้น เพื่อผลิตเป็นฟิล์มพลาสติกที่มีคุณสมบัติสามารถกันอากาศและน้ำได้เหมาะสำหรับนำมาใช้เป็นบรรจุภัณฑ์อาหาร  ซึ่งรีไซเคิลได้ง่าย โดย Klaus Noller หัวหน้าภาควิชาพัฒนาวัสดุศาสตร์ วิศวกรรมกระบวนการผลิตและวัสดุบรรจุภัณฑ์ จากสถาบัน Fraunhofer ประเทศเยอรมัน อธิบายว่า เนื่องจากโปรตีนหางนม สามารถละลายในน้ำได้อย่างง่ายดายโดยมีเอ็นไซม์เป็นตัวช่วย ชั้นของฟิล์มจะแยกออกจากกันได้โดยง่าย ช่วยให้การทำรีไซเคิลง่ายมากขึ้น  ซึ่งต่างจากพลาสติกโดยทั่วไปที่ทำมาจากวัสดุสิ้นเปลือง ต้องใช้เวลานานหลายร้อยปีกว่าจะย่อยสลายได้
          คาดหวังว่าเทคโนโลยีใหม่นี้จะนำไปสู่การผลิตในระดับอุตสาหกรรมภายใน สอง-สามปีข้างหน้า เพื่อผลิตฟิล์มพลาสติกบรรจุภัณฑ์อาหารที่ย่อยสลายได้ในทางชีวภาพหรือถูกย่อยสลายในธรรมชาติ
                               
          Elodie Bugnicourt ยังกล่าวเสริมอีกว่า โครงการนี้เป็นการทำงานร่วมกันของหุ้นส่วนทั้งหมด 14 แห่งทั้ง ผู้ผลิต นักวิจัย ผู้ชำนาญการจากพลาสติก บรรจุภัณฑ์ การรีไซเคิล และวิศวกรรม เพื่อทำให้โครงการนี้สำเร็จได้
แหล่งข้อมูล : Star Project; what’s new on European Commission on Research & Innovation ,19 Auguest 2011

No comments:

Post a Comment