19 August 2013

Deal on Horizon 2020







Statement by Máire Geoghegan-Quinn, European Commissioner for Research, Innovation and Science, on the conclusion of negotiations on Horizon 2020
Brussels, 25 June 2013
“After many hours of intense talks, the Irish Presidency, the European Parliament's negotiators and the European Commission have concluded negotiations on the Horizon 2020 package. The package will now be submitted to both the Council and to the European Parliament, where it will be brought forward to a plenary session of the European Parliament.  This is a very important step that will help ensure that Horizon 2020 can launch as planned next year.
That is good news for researchers, for universities, for SMEs, and for all other future participants in the programme. 
It is also good news for the many more that stand to benefit from the breakthroughs and innovations the programme will bring, providing solutions for societal challenges and strengthening industrial competitiveness.
Due credit must go to the European Parliament's negotiators and the Irish Presidency. Together we have worked hard to reach this point.  We now have within reach what the European Parliament, EU Member States and European Commission all envisaged from the start:  a research and innovation programme that will make a real difference for jobs and growth in Europe.”

Focusing Resources on Key Priorities
  1. Excellent Science. This will raise the level of excellence in Europe's science base and ensure a steady stream of world-class research to secure Europe's long-term competitiveness. It will support the best ideas, develop talent within Europe, provide researchers with access to priority research infrastructure, and make Europe an attractive location for the world's best researchers.

    This will:

    - support the most talented and creative individuals and their teams to carry out frontier research of the highest quality by building on the success of the European Research Council;

    - fund collaborative research to open up new and promising fields of research and innovation through support for Future and Emerging Technologies (FET);

    - provide researchers with excellent training and career development opportunities through the Marie Skłodowska-Curie actions ('Marie Curie actions');

    - ensure Europe has world-class research infrastructures (including e-infrastructures) accessible to all researchers in Europe and beyond.
  2. Industrial Leadership. This will aim at making Europe a more attractive location to invest in research and innovation (including eco-innovation), by promoting activities where businesses set the agenda. It will provide major investment in key industrial technologies, maximise the growth potential of European companies by providing them with adequate levels of finance and help innovative SMEs to grow into world-leading companies.

    This will: build leadership in enabling and industrial technologies, with dedicated support for ICT, nanotechnologies, advanced materials, biotechnology, advanced manufacturing and processing, and space, while also providing support for cross-cutting actions to capture the accumulated benefits from combining several Key Enabling Technologies; facilitate access to risk finance; provide Union wide support for innovation in SMEs.
  3. Societal Challenges. This reflects the policy priorities of the Europe 2020 strategy and addresses major concerns shared by citizens in Europe and elsewhere. A challenge-based approach will bring together resources and knowledge across different fields, technologies and disciplines, including social sciences and the humanities. This will cover activities from research to market with a new focus on innovation-related activities, such as piloting, demonstration, test-beds, and support for public procurement and market uptake. It will include establishing links with the activities of the European Innovation Partnerships.
Funding will be focussed on the following challenges:
  • Health, demographic change and well-being;
  • Food security, sustainable agriculture, marine and maritime research and the
  • bio-economy;
  • Secure, clean and efficient energy;
  • Smart, green and integrated transport;
  • Climate action, resource efficiency and raw materials;
  • Inclusive, innovative and secure societies.
Status
With agreement on the H2020 package by the Commission and Parliament, work is now underway on formalising the structures, budgets, work programmes etc.

More information related to Horizon 2020 can be found at http://ec.europa.eu/research/horizon2020/index_en.cfm?pg=home
 

19 March 2013

เชื้อเพลิงชีวภาพเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจริงหรือ?

 
งานวิจัยจากประเทศอังกฤษชี้ว่า กระบวนการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพก่อให้เกิดสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อบรรยากาศและชีวิตมนุษย์ได้ หากรวมตัวกับสารอื่น การรวมตัวกันของสารดังกล่าว นอกจากจะทำให้ผลผลิตการเกษตรลดลงแล้ว คาดว่าจะมีผู้เสียชีวิตก่อนวัยอันควรต่อปี จากผลกระทบดังกล่าวมากถึง 14,000 ราย ภายในปี ค.ศ. 2020 ผลการศึกษาของมหาวิทยาลัยแลงคาสเตอร์ ประเทศอังกฤษชื่อ “Impacts of biofuel cultivation on mortality and crop yields” นำโดยศาสตราจารย์ Nick Hewitt ระบุว่า นโยบายสีเขียวของสหภาพยุโรปหรืออียู ที่ผลักดันให้มีการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพแทนการใช้เชื้อเพลิงจากถ่านหินและน้ำมันนั้น มิได้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างที่คิด เพราะการปลูกพืชเพื่อนำมาแปรรูปเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อคุณภาพของอากาศ 

จริงอยู่ที่การใช้เชื้อเพลิงชีวภาพทดแทนพลังงานจากซากสัตว์ที่มีปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์สูง (carbon-intensive fossil fuels) ส่งผลดีทำให้ลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แต่การปลูกพืชโตเร็วเพื่อใช้ผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ เช่น ยูคาลิปตัส และต้นหลิว เป็นจำนวนมากในพื้นที่หนึ่งๆ (เมื่อเทียบกับต้นหญ้าและพืชที่ปลูกเพื่อใช้เป็นอาหาร) จะทำให้พื้นที่ดังกล่าวเต็มไปด้วยสารเคมีชื่อไอโซพรีน (isoprene) ซึ่งต้นไม้โตเร็วเหล่านี้ปล่อยออกมาอย่างเข้มข้นในขณะเจริญเติบโต เมื่อสารไอโซพรีนรวมตัวเข้ากับมลภาวะทางอากาศตัวอื่นๆ ในแสงอาทิตย์ (air pollutants in sunlight) ในบรรยากาศชั้นล่าง (lower atmosphere) จะเกิดปฏิกิริยาทางเคมี นำไปสู่การก่อตัวของก๊าซโอโซนที่เป็นพิษ (toxic ozone) ขึ้น ซึ่งการศึกษาระบุว่าเป็นอันตรายต่อทั้งพืชและมนุษย์ ดังนั้นนโยบายของอียูที่ผลักดันให้มีการหันมาใช้เชื้อเพลิงชีวภาพจากไม้โตเร็วประเภทดังกล่าว แทนการพึ่งพาพลังงานจากซากสัตว์ที่มีปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์สูง เพื่อบรรลุเป้าหมาย “2020”—ซึ่งหนึ่งในเป้าหมายคือ การลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากอุตสาหกรรมทุกสาขาให้ได้ร้อยละ 20 ภายในปี ค.ศ. 2020—จะส่งผลให้ ผลผลิตข้าวสาลี (wheat) และข้าวโพด (maize) มีจำนวนลดลง คิดเป็นมูลค่า 1.5 หมื่นยูโร ต่อปี เนื่องจากก๊าซโอโซนส่งผลกระทบเชิงลบลดการเจริญเติบโตของพืชเศรษฐกิจเหล่านี้ แต่ที่ร้ายไปกว่านั้นคือ ก๊าซโอโซนในปริมาณเข้มข้น เป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ โดยเฉพาะส่งผลให้เกิดโรคเกี่ยวกับปอด โดยในแต่ละปี องค์การสิ่งแวดล้อมแห่งสหภาพยุโรปหรืออีอีเอ (European Environment Agency—EEA) พบสถิติการตายเนื่องจากโรคปอดในยุโรป มากถึง 22,000 รายต่อปี ในขณะที่มลพิษในอากาศที่เกิดจากเชื้อเพลิงซากสัตว์ก่อให้เกิดการเสียชีวิตในยุโรปราว 500,000 รายต่อปี 



อย่างไรก็ดี งานวิจัยนี้ได้ชี้ทางออกให้แก่อียู โดยมีข้อเสนอแนะว่าควรมีนโยบายย้ายฐานการปลูกพืชและผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพออกไปอยู่ห่างไกลจากบริเวณที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่น เพื่อลดโอกาสการก่อตัวของก๊าซโอโซน นอกจากนี้งานวิจัยนี้ยังระบุเพิ่มเติมว่า การพิจารณาใช้พันธุวิศวกรรมร์เพื่อลดปริมาณการปล่อยสารไอโซพรีนในพืชเป้าหมายอาจเป็นอีกทางออกหนึ่ง งานวิจัยจากประเทศอังกฤษชิ้นนี้เป็นหนึ่งในหลายความพยายามที่ต้องการทำให้อียูตระหนักถึงนัยของการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพเพื่อตอบสนองนโยบายการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของอียู เพื่อให้อียูพิจารณาปรับตัวลดผลกระทบที่ไม่ได้คาดการณ์ไว้ งานวิจัยอื่นๆ ในลักษณะเดียวกันที่มุ่งวิพากษ์วิจารณ์นโยบายการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพในฐานะพลังงานทดแทน เช่น เมื่อราวต้นปี ค.ศ. 2012 รายงานของคณะกรรมาธิการความมั่นคงอาหารโลก หรือยูเอ็น ซีเอฟเอส (United Nations’s Committee on World Food Security—UN CFS) วิพากษ์วิจารณ์นโยบายกระตุ้นการใช้พลังงานทดแทนของอียูดังกล่าวว่ามีส่วนทำให้ราคาอาหารโลกเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าอียูมีการปรับตัวอย่างสร้างสรรค์โดยหันมาใช้วัตถุดิบเชื้อเพลิงชีวภาพที่มิใช่อาหารหรือเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อาหารเพื่อลดผลกระทบดังกล่าว น่าติดตามว่าอียูจะมีการตอบสนองต่องานวิจัยจากประเทศอังกฤษชิ้นนี้อย่างไรในอนาคต 

ที่มา 1. http://news.lancs.ac.uk/Web/News/Pages/Biofuel-cultivation-could-harm-human-health.aspx 
        2. http://www.nature.com/nclimate/journal/vaop/ncurrent/full/nclimate1788.html 
        3. http://www.reuters.com/article/2013/01/07/us-climate-biofuels-idUSBRE90601A20130107 
        4. http://news.thaieurope.net/content/view/3864/211/

09 January 2013

ATPER 2013 Conference

สมาคมนักวิชาชีพไทยในยุโรป (ATPER) กำหนดจะจัดการประชุม ATPER 2013 ขึ้นในวันที่ 1-2 มิถุนายน 2556 ณ กรุงสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน จึงขอเชิญชวนนักวิชาชีพไทยและนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาในยุโรปเสนอหัวข้องานวิจัยหรือโครงการในที่ประชุม ATPER 2013 หัวข้องานวิจัยหรือโครงการที่นำเสนอจะต้องอยู่ในสาขาที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาองค์ความรู้ในประเทศไทย และสามารถร่วมมือกับหน่วยงานในประเทศไทยในการดำเนินการได้ โดยหัวข้องานวิจัยหรือโครงการ ที่ผ่านการคัดเลือกในที่ประชุม ATPER 2013 จะได้รับการเสนอชื่อเพื่อเข้าร่วมงานประชุมกับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช) ที่ประเทศไทย โดยสมาคมนักวิชาชีพไทยในยุโรปจะให้การสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปร่วมการประชุมแก่ผู้เสนอโครงการ ผู้ที่สนใจส่งหัวข้องานวิจัยหรือโครงการเพื่อนำเสนอในการประชุม ATPER 2013 ขอให้จัดส่งบทคัดย่อข้อเสนอโครงการขนาด 1 หน้ากระดาษ A4 ภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษไปยัง contact@atper.eu ภายในวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2556 สมาคมฯ จะดำเนินการคัดเลือกข้อเสนอโครงการ และแจ้งผลให้ท่านทราบ ภายในวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2556 สมาคมฯ จะรับผิดชอบออกค่าใช้จ่ายรวมทั้งค่าที่พักในการเดินทางให้แก่ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกให้ไปนำเสนอผลงานในการประชุมดังกล่าว ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ contact@atper.eu