ชื่อภาษาอังกฤษ | Holy basil, Sacred basil | |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Ocimum tenuiflorum L. |
สรรพคุณ | ||
องค์ประกอบทางเคมี | กะเพราแดง ใบและกิ่งสดเมื่อนำมาสกัดน้ำมันหอมระเหยโดยการต้มกลั่น (hydro-distillation) ได้น้ำมันหอมระเหยร้อยละ 0.08-0.10 องค์ประกอบทางเคมีของน้ำมันวิเคราะห์โดย GC-MS ประกอบด้วยสาร 15 ชนิด ดังนี้ a-pinene (0.51), camphene (0.51), b-pinene (0.48), 1,8-cineol+limonene (0.35), linalool (0.32), borneol (1.18), a-copaene (1.04), b-bourbonene (0.58), [+]-b-elemene (5.24), methyl eugenol (81.72), caryophyllene (0.58), a-humulene (1.32), germacrene D (4.40), cyclohexane-1-ethenyl-1-methyl-2,4-bis[1-methyl-ethenyl] (0.36), d-cadinene (0.15) กะเพราขาว ใบและกิ่งสดเมื่อนำมาสกัดน้ำมันหอมระเหยโดยการต้มกลั่น (hydrodistillation) ได้น้ำมันหอมระเหยร้อยละ 0.08-0.10 องค์ประกอบทางเคมีของน้ำมันวิเคราะห์โดย GC-MS ประกอบด้วยสารทั้ง 15 ชนิดเช่นเดียวกันเพียงแต่ปริมาณแตกต่างกันเท่านั้น | |
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา | มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านออกซิเดชัน ไล่แมลง และขับพยาธิ | |
ความเป็นพิษ | methyl eugenol ซึ่งเป็นสารหลักในน้ำมันมีรายงานว่าเป็นสารพันธุพิษอยู่ในประเภทเดียวกับ safrole, estragol มีค่า ขนาดของยาที่ทำให้สัตว์ทดลองตายครึ่งหนึ่ง (LD50) โดยการป้อนทางปากให้หนูขาวเป็นค่า 0.81-1.56 กรัมต่อกิโลกรัม เป็นสารที่ไม่ก่อให้เกิดความระคายเคืองและการแพ้ทางผิวหนัง |
ชาวอินเดียบูชาใบกระเพราเป็นใบไม้ศักดิ์สิทธิ์ถึงกับตั้งชื่อให้ว่า โฮลลี่ เบซิล (Holy Basil) เพราะนอกจากชาวอินเดียจะใช้ใบกระเพราบูชาเทพเจ้าแล้ว ยังกะเพราปรุงอาหารประจำวัน ซึ่งก็ไม่ต่างกับคนไทยที่อาศัยกลิ่นและรสของใบกระเพราดับกลิ่นคาวและชูรสอาหาร และยังใช้น้ำต้มใบกระเพราดื่มช่วยขับลมแน่นในท้อง
เหยาะน้ำต้มกระเพราะ 2-3 หยด ผสมน้ำนม ขนาด 15 ซีซี ให้ทารกดื่มแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ อันเป็นสาเหตุให้เด็กร้องไห้โยเย
สรรพคุณสำคัญของใบกะเพรา ที่คนส่วนใหญ่ไม่รู้กันทั้งที่ใช้บริโภคกันอยู่ในชีวิตประจำวันก็คือ สรรพคุณในการขับไขมัน ตำรับอาหารไทยจำพวกผัดกะเพราเนื้อ กะเพราหมู กะเพราไก่นอกจากจะใช้ใบกะเพราดับกลิ่นคาวเนื้อสัตว์แล้ว กะเพรายังช่วยขับไขมันและน้ำตาลส่วนเกินออกจากร่างกายได้อีกด้วย
มีงานวิจัยหลายชิ้นกล่าวถึงสรรพคุณอันหลากหลายของใบกะเพรา ในที่นี้ขอกล่าวเฉพาะสรรพคุณที่เชื่อมโยงกับฤทธิ์ลดไขมันและน้ำตาลของใบกะเพรา ดังนี้

ฤทธิ์ลดไขมัน
จากการทดสอบฤทธิ์ของกะเพราในกระต่ายทดลอง โดยให้กระต่ายได้รับใบกะเพราสดผสมในอาหาร เพียง 1-2 กรัม/กก./วัน เป็นเวลาติดต่อกัน 4 สัปดาห์ เมื่อตรวจเลือดสัตว์ทดลองพบว่า ระดับคอเลสเตอรอลโดยรวม (Total Cholesterol) ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) ฟอสโฟไลปิด (Phospholipids) ลดลงอย่างฮวบฮาบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคอเลสเตอรอลตัวเลว (Low Density Lipoprotein-LDL-Cholesterol) ลดลง พอๆ กับที่คอเลสเตอรอลตัวดี (High Density-HDL-Cholesterol) เพิ่มขึ้น
ฤทธิ์ลดน้ำตาล
จากการศึกษาในหนูทดลอง โดยให้ผงใบกะเพราขนาด 200 มิลลิกรัม/กก./วัน ในหนู 3 ประเภท ได้แก่ หนูปกติ หนูที่มีภาวะน้ำตาลสูงจากการให้กลูโคส และหนูที่เป็นเบาหวานโดยการทำลายตับอ่อน พบว่ากะเพราสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดของหนูทดลองทั้ง 3 ประเภท นอกจากนี้น้ำมันหอมระเหยในใบกะเพรา (Basil Essential Oil) ยังช่วยให้กลไกควบคุมน้ำตาลในเลือดเป็นปกติอีกด้วย
เมื่อใบกะเพรามีฤทธิ์ลดไขมันและน้ำตาลอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ย่อมมีผลทำให้มวลร่างกายลดลงอย่างเห็นหน้าเห็นหลัง โดยเฉพาะน้ำตาลซึ่งเป็นสาเหตุก่อให้เกิดโรคอ้วนมากกว่าไขมันเสียอีก อย่างไรก็ตาม การบริโภคใบกะเพราให้ได้ผลในการลดความอ้วนนั้น จะต้องบริโภคทุกวันให้ถูกวิธี ดังนี้
ความสดของใบกะเพรา ใบกะเพราสดมีน้ำมันหอมระเหยมากกว่าใบกะเพราที่ปรุงสุกแล้ว หรือถ้าใช้ผงกะเพรา จะต้องได้จากกระบวนการอบระเหย เอาเฉพาะน้ำออกไปโดยไม่สูญเสีย น้ำมันหอมระเหยหลายชนิดในใบกะเพรา
ขนาดการใช้ แนะนำให้ใช้ขนาดเท่ากับในสัตว์ทดลองคือ กะเพราสด 2 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน เช่น ถ้าน้ำหนัก 70 กิโลกรัม ก็ต้องบริโภคใบกะเพราะสดวันละปริมาณ 140-150 กรัม
ถ้าสามารถบริโภคกะเพราตามวิธีข้างต้นได้รับรองว่า นอกจากท่านจะสามารถลดน้ำหนักร่างกายได้หุ่นดีสมใจนึกแล้ว ยังมีสุขภาพดีอีกด้วย เพราะใบกะเพรานอกจากจะมีฤทธิ์ลดไขมันลดน้ำตาลแล้ว ยังมีฤทธิ์รักษาโรคเบาหวาน ลดการทำลายผนังหลอดเลือด ลดความเสี่ยงต่อภาวะหลอดเลือดอุดตัน ลดภาวะความดันโลหิตสูง ป้องกันโรคหัวใจวาย และโรคเส้นเลือดในสมองตีบตัน อันเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตเฉียบพลันเป็นจำนวนมากในคนอ้วนทั้งหลาย
No comments:
Post a Comment