14 June 2012

นักวิจัยค้นพบยีนที่อยู่เบื้องหลังเม็ดสีของส้มสีเลือด



 
นักวิจัยในประเทศจีน อิตาลีและอังกฤษ ค้นพบยีนที่ทำให้เกิดเม็ดสีของส้มสีเลือดและการควบคุมการทำงานของยีน ผลการวิจัยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร The Plant Cell การค้นพบครั้งนี้มีส่วนช่วยในการพัฒนาด้านสุขภาพ การส่งเสริมส้มสีเลือด และนำไปสู่การแก้ปัญหาใหม่สำหรับคนไข้ที่ได้รับความทุกข์ยากจากโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคอ้วนและโรคเบาหวาน 

การศึกษานี้ได้รับทุนสนับสนุนจากกรอบแผนงานฉบับที่ 6 ของอียูภายใต้หัวข้อคุณภาพอาหารและความปลอดภัย และทุนสนับสนุนจากกรอบแผนงานฉบับที่ 7 ของอียูภายใต้หัวข้อ อาหาร การเกษตร การประมง และเทคโนโลยีชีวภาพ

การวิจัยนำโดยนักวิจัยจากศูนย์จอห์น อินเนส ในประเทศอังกฤษ รายงานว่าปกติส้มสีเลือดต้องการอากาศเย็นเป็นตัวเร่งเพื่อพัฒนาเม็ดสีแดง ดังนั้นพื้นที่แถวเทือกเขาเอทน่าในประเทศอิตาลีจึงเป็นสถานที่ที่เหมาะสมที่สุดในการปลูกส้มชนิดนี้ ซึ่งในเวลากลางวันมีแสงแดดและเวลากลางคืนมีอากาศเย็น กลางวันที่มีแดด และอบอุ่นในเวลากลางคืนก็เช่นเดียวกันเป็นสภาวะที่ดีที่สุดในการผลิตส้มสีเลือดที่พบในเขตพื้นที่ของอิตาลี ในการศึกษานี้นักวิจัยตั้งชื่อยีนที่มีส่วนสำคัญในการเกิดเม็ดสีของส้มสีเลือดว่า รูบี้ (Ruby) ซึ่งมีสีแดงทับทิม

ศาสตราจารย์ แคทธี มาร์ติน จากศูนย์จอห์น อินเนส กล่าวว่า ส้มสีเลือดมีเม็ดสีที่เกิดโดยธรรมชาติซึ่งมีส่วนสัมพันธ์กับการพัฒนาสุขภาพของหลอดเลือดหัวใจ การควบคุมโรคเบาหวาน และการลดโรคอ้วน ความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะของส้มทำให้เข้าใจเรื่องพันธุวิศวกรรมเพื่อปลูกส้มสีเลือดในสภาพอากาศที่อบอุ่นมากขึ้น

เม็ดสีที่ทำให้ผลไม้เป็นสีแดง ม่วงและฟ้าคือ สารแอนโธไซยานินและฟราวโวนอยส์ จากการศึกษาก่อนหน้านั้นของงานวิจัยเกี่ยวกับอาหารที่มีสารแอนโธไซยานินสูง ระบุว่าการดื่มน้ำส้มจากส้มสีเลือดจะลดภาวการณ์ที่เซลล์ถูกทำลายโดยอนุมูลอิสระเนื่องจากความเครียด (Oxidative stress) ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน และป้องกันการทำลายดีเอ็นเอจากสภาวะออกซิเดชันและลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ
           
นักวิจัยแยกยีนรูบี้ออกจากส้มสีเลือดและส้มสีทอง พบว่ายีนเม็ดสีนี้ถูกควบคุมโดยยีนที่สามารถย้ายจากโครโมโซมหนึ่งไปอีกโครโมโซมหนึ่งได้ (Mobile genetic elements) ซึ่งถูกกระตุ้นโดยความเครียดจากความเย็น
 
ส้มสีเลือดเป็นอนุพันธุ์ของส้มหวานที่ปลูกกันทั่วโลก การศึกษาล่าสุดยังยืนยันว่าส้มหวานเกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างส้มโอกับส้มแมนดาริน


 

ที่มา: cordis news 10 เมษายน 2555

No comments:

Post a Comment