26 July 2012

บนความว่างเปล่า: นโยบายเอทานอลของสหรัฐฯมีขึ้นเพื่อบรรลุข้อสรุปที่ไร้ตรรกะ


บทความนี้ถอดความจากบทวิเคราะห์นโยบายด้านเอทาบอลของประเทศสหรัฐอเมริกาโดย Timothy A. Wise ซึ่งพบความผิดปกติจากรายงานแนวโน้มใหม่ทางการเกษตรของ FAO และ OECD เกี่ยวกับคาดการณ์ปริมาณการซื้อขายเอทานอลที่เพิ่มขึ้น- การซื้อขายเอทานอลเพื่อเอทานอลระหว่างสหรัฐอเมริกาและบราซิลประเทศผู้ผลิตเอทานอลที่ดีที่สุดของโลกภายในปี 2021 ซึ่งตั้งเป้าไว้สูงถึง 6.3 พันล้านแกลลอนต่อปี และทั้งหมดเพื่อเหตุผลด้านสิ่งแวดล้อมเพียงประการเดียว ไม่มีแม้แต่หยดเพื่อช่วยมนุษยชาติหรือดาวพระเคราะห์ดวงนี้

ทำไมประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งขณะนี้ใช้พื้นที่การเกษตรสูงถึง 40% ในการปลูกข้าวโพดเพื่อใช้ในการผลิตเอทานอลจึงต้องนำเข้าเอทานอลจากบราซิลสูงถึง 4 พันล้านแกลลอน ในขณะที่มีการคาดการณ์ว่าบราซิลจะนำเข้าเอทานอลจากสหรัฐอเมริกามากถึง 2 พันล้านแกลลอนในเวลาเดียวกัน
นี่คือ เกมส์ด้านเชื้อเพลิงชีวภาพที่สหรัฐฯ ต้องเล่นหรืออย่างไร
สหรัฐผ่านมาตรฐานเชื้อเพลิงทดแทน ซึ่งรู้จักกันดีในนามของ RFS2 (Renewable Fuel Standard) ในปี 2007 ซึ่งมีการบังคับให้ใช้เชื้อเพลิงทดแทนสูงถึง 36 พันล้านแกลลอนในปี 2022 ร่วมกับเชื้อเพลิงชีวภาพอื่นๆ เชื้อเพลิงชีวภาพแบบดั้งเดิมหรือรุ่นแรก เช่น เอทานอลจากข้าวโพดซึ่งมีประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมจำกัด ด้วยลดก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas, GHG) ได้เพียง 20 ด้วยความชาญฉลาดของสภาคองเกรสจึงออกข้อบังคับว่าเป้าหมาย 36 พันล้านแกลลอนสามารถบรรลุได้โดยใช้ "เชื้อเพลิงชีวภาพขั้นสูง" ที่มีคะแนนก๊าซเรือนกระจก 50 % หรือดีกว่าในแง่ของการลดก๊าซเรือนกระจก

ในบทวิเคราะห์ดังกล่าวผู้เขียนเปิดเผยว่าการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพขั้นสูงในประเทศสหรัฐอเมริกายังไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร โดยคาดว่าจะมีผลตอบแทนเพียงน้อยนิดจากไบโอดีเซลที่ทันสมัย​​ซึ่งเป้าหมายยังคงห่างไกลจากความเป็นจริงแต่เชื่อว่าเป็นไปได้ ส่วนที่เหลือได้มาจากการพัฒนาเอทานอลจากแป้ง จึงกลับกลายเป็นว่ามีการทุ่มเงินทั้งหมดเพื่อการวิจัยและพัฒนาการผลิตเอทานอลจากข้าวโพด ซึ่งได้รับการอัดฉีดด้วยเงินอุดหนุนและแรงจูงใจอย่างมหาศาลจากสภาคองเกรสส่งเสริมการปลูกข้าวโพดป้อนส่งเพื่อผลิตเป็นเชื้อเพลิงก่อนเป็นลำดับแรก ไม่มีใครคาดคิดว่าจะมีการผลิตเอทานอลจากแป้งมากมายในเร็ว ๆ นี้ แต่อาจประหลาดใจหากทราบว่า ณ จุดนี้สหรัฐผลิตเอทานอลข้าวโพดเป็นจำนวนมากและเกือบถึงขีดจำกัดทางเทคนิคที่ 15 พันล้านแกลลอนสำหรับเชื้อเพลิงชีวภาพที่ไม่ทันสมัยแล้ว

โชคดีสำหรับผู้ผลิตเอทานอลของบราซิลผู้ร่วมงานทางอ้อมของสหรัฐ เนื่องด้วยในข้อบังคับด้านเชื้อเพลิงทดแทนโดยการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพขั้นสูง "อื่น ๆ" แม้ว่าสภาคองเกรสจะถูกขาย RFS ตามสัญญาการไม่พึ่งพาพลังงานแต่บรรดา "เชื้อเพลิงชีวภาพอื่น ๆ" ไม่จำเป็นต้องผลิตในประเทศสหรัฐอเมริกา (ซึ่งสหรัฐฯสามารถจัดหามาได้โดยใช้ช่องทางองค์การค้าโลก) เอทานอลจากอ้อยของบราซิลได้รับการยอมรับว่าเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพขั้นสูงด้วยสามารถลดก๊าซเรือนกระจก(GHG) ได้ถึง 50 % แม้ว่าจะมีความกังวลใจอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับระยะเวลาที่จะมีผลกระทบด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ

ดังนั้นโครงการวิจัยร่วมระหว่าง FAO / OECD ซึ่งมีแผนการดำเนินงานจนถึงปี 2021 จึงช่วยผ่อนปรนข้อบังคับ RFS2 ของสหรัฐฯ ที่ต้องใช้เชื้อเพลิงชีวภาพทั้งหมดและเชื้อเพลิงชีวภาพขั้นสูงซึ่งสหรัฐอเมริกาจะต้องนำเข้าเอทานอลจากน้ำตาลจากบราซิลกว่า 4 พันล้านแกลลอนได้ระดับหนึ่ง
ความจริงมันอาจมากกว่านั้น ซึ่งนักวิจัยไม่เคยจินตนาการว่ารัฐสภาจะยอมให้สิ่งนั้นเกิดขึ้นได้ และนักวิจัยก็ได้สร้างแบบจำลองของตนเองขึ้นมาเหมือนกัน หากนโยบายขององค์กรพิทักษ์สิ่งแวดล้อม (EPA) มีการปฏิบัติตามอย่างจริงจังและหากสหรัฐไม่ได้รู้สึกผ่อนคลายจากข้อเรียกร้องของ RFS2 เพื่อชดเชยการผลิตเอทานอลเกณฑ์ต่ำจากแป้งภายในประเทศ การนำเข้าจากบราซิลคาดว่าจะสูงถึง 13 พันล้านแกลลอนซึ่งเกือบเท่ากับกำลังการผลิตเอทานอลจากข้าวโพดของสหรัฐในปัจจุบัน
สถานการณ์ที่สามมีโอกาสมากที่จะเกิดขึ้น หากองค์กรพิทักษ์สิ่งแวดล้อม (EPA) ตัดสินใจที่จะช่วยเอทานอลข้าวโพดของสหรัฐเพื่อเติมเต็มช่องว่างจากการขาดแคลนแป้งแม้จะมีผลด้านสิ่งแวดล้อมเพียงน้อยนิดอีกทั้งยังมีค่าใช้จ่ายทางสังคมสูงในแง่ของราคาอาหาร รูปแบบของโครงการความร่วมมือระหว่าง FAOและ OECD คือ หนึ่งโครงการจะสามารถเพิ่มความต้องการข้าวโพดสูงถึง 35 % และราคาข้าวโพดเพิ่มสูงขึ้นถึง 16 % ทั่วโลก

แต่ความวิปริตที่สุดคือ การค้าเอทานอลเพื่อเอทานอลระหว่างสหรัฐอเมริกาและบราซิล ภายใต้สถานการณ์สมมติพื้นฐานของ FAO-OECD บราซิลจะต้องนำเข้าเอทานอลข้าวโพดจากประเทศสหรัฐอเมริกาถึง 2 พันล้านแกลลอน ทำไมถ้าบราซิลเป็นประเทศที่ส่งออกเอทานอลรายใหญ่ที่สามารถผลิตเอทานอลที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้มากขึ้นและอย่างยั่งยืนเพื่อชดเชยจำนวนเอทานอลที่ขาดภายในประเทศเนื่องจากการส่งออกไปยังสหรัฐและเพื่อตอบสนองความต้องการเชื้อเพลิงชีวภาพภายในประเทศที่เพิ่มขึ้นจากการขยายตัวของรถยนต์ที่สามารถปรับเปลี่ยนเชื้อเพลิงได้ บราซิลยอมที่จะใช้เอทานอลข้าวโพดเกรดต่ำของสหรัฐหากบราซิลสามารถแลกขายเอทานอลจากน้ำตาลราคาสูงให้สหรัฐได้ในมูลค่าที่เท่ากัน
เป็นเรื่องวิปลาสที่สหรัฐจะสามารถบรรลุเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมโดยการซื้อสินค้าคุณภาพจากประเทศอื่นไม่ใช่จากการคิดค้นเทคนิคที่ดีโดยมันสมองของคนอเมริกันเอง  ในขณะที่มองไปรอบๆประเทศเพื่อขายสินค้าที่ด้อยคุณภาพและไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมให้แก่ประเทศอื่นๆในราคาที่ถูกกว่า

กระบวนการต่อสู้ระหว่างอาหารและเชื้อเพลิงในท้ายที่สุดเชื้อเพลิงก็จะเป็นผู้ชนะ ความต้องการเอทานอลอย่างต่อเนื่องจะมีผลทำให้ราคาข้าวโพดทั่วโลกพุ่งสูงขึ้น ในรายงานร่วมของ FAO-OECD มีคำเตือนเกี่ยวกับผลกระทบอย่างรุนแรงจากเชื้อเพลิงชีวภาพต่อราคาอาหารและจะมีผลกระทบมากยิ่งขึ้นหากเกิดภัยแล้งในพื้นที่ปลูกข้าวโพดของสหรัฐฯ ทั้งนี้คาดการณ์ว่าราคาเชื้อเพลิงชีวภาพจะคงตัวหรือลดลงเพียงเล็กน้อยในปี 2012 และหลังจากนั้น แต่ราคาข้าวโพดและถั่วเหลืองจะถีบตัวสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์และโลกกำลังจับตามองราคาน้ำมันซึ่งเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ลำดับที่สามตลอดช่วงห้าปีที่ผ่านมา เป็นที่น่าเสียดายที่พวกเขายังไม่ได้เรียนรู้และยังเชื่อว่าเป็นความคิดที่ดีที่จะนำอาหารมาใส่ในรถของเรา
ผู้ที่สนใจสามารถอ่านบทความเหล่านี้ได้ที่ 
Read more from Triple Crisis Blog.
Read more on Timothy A Wise’s work on the food crisis
Read more from GDAE’s Globalization and Sustainable Development Program

24 July 2012

การศึกษาการดูดจับคาร์บอนด้วยสาหร่ายเพื่อพาจมลงสู่ก้นมหาสมุทร

สำนักข่าวรอยเตอร์ ณ เมืองออสโลว์ รายงานผลการศึกษาโดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ โดยการเพิ่มปุ๋ยเหล็กให้มหาสมุทรเพื่อต่อสู้กับภาวะโลกร้อนเมื่อวันพุธที่ 18 กรกฎาคม 2012 ที่ผ่านมา การใส่ปุ๋ยเหล็กลงในทะเลจะช่วยลดคาร์บอนจากบรรยากาศและนำไปฝังไว้ในพื้นมหาสมุทรได้นานหลายศตวรรษ  อย่างไรก็ตามทีมงานยังไม่สามารถตอบคำถามเกี่ยวกับความเสียหายที่อาจเป็นไปได้ต่อสิ่งมีชีวิตทางทะเลได้


ผลการศึกษาตอนหนึ่งกล่าวว่า เมื่อทิ้งลงสู่มหาสมุทรเหล็กจะสามารถกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชขนาดเล็กที่พกพาความร้อนจากคาร์บอนที่ดักจับและพาดิ่งลงสู่ก้นมหาสมุทรเมื่อพืชพวกนี้ตายลง 




ในปี 2004 นักวิทยาศาสตร์ทิ้งเหล็กซัลเฟตซึ่งเป็นสารอาหารที่สำคัญสำหรับพืชทะเลมากถึงเจ็ดตันลงในมหาสมุทรใต้ซึ่งต่อมาพบว่าอย่างน้อยครึ่งหนึ่งของสาหร่ายชนิดไดอะตอมสามารถดักจับคาร์บอนที่ดูดซับความร้อนไว้และพาดิ่งจมลงสู่ด้านล่างของทะเลลึก 1,000 เมตร (หรือประมาณ 3,300 ฟุต) เมื่อสาหร่ายพวกนี้ตายลง
ทีมงานจากประเทศกว่า 12 ประเทศรายงานไว้ในวารสาร Nature ว่า "สาหร่ายทะเลชนิดไดอะตอมที่ได้รับธาตุเหล็กจะยึดจับคาร์บอนไว้อย่างไม่มีกำหนด นานนับเป็นศตวรรษในน้ำก้นมหาสมุทรซึ่งจะกลายเป็นดินตะกอนในที่สุด"



การฝังคาร์บอนในมหาสมุทรจะช่วยต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากการสะสมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศที่นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่าจะเพิ่มอุณหภูมิและทำให้เกิดน้ำท่วมมากขึ้น โคลนถล่ม ภัยแล้งและระดับน้ำทะเลที่สูงกว่าเดิม


การศึกษานี้เป็นหลักฐานที่น่าเชื่อชิ้นแรกที่แสดงว่าคาร์บอนสามารถดูดซับโดยสาหร่ายและจมลงสู่ก้นมหาสมุทร  แต่ยังมีข้อกังขาเกี่ยวกับการให้ปุ๋ยแก่มหาสมุทรที่ยังคงมีอยู่คือ คาร์บอนที่ไม่จมและยังคงอยู่ในชั้นบนของมหาสมุทรจะสามารถผสมกลับสู่อากาศได้หรือไม่



การศึกษาก่อนหน้าหน้านี้นับเป็นโหลๆแสดงให้เห็นว่าฝุ่นเหล็กสามารถช่วยกระตุ้นการขยายพันธุ์ของสาหร่ายทะเล แต่ไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัดว่ามันจะจมลงสู่ก้นทะเลหรือไม่
ในปัจจุบันการทดลองขนาดใหญ่ที่มีการให้ปุ๋ยในมหาสมุทรโดยใช้เหล็กถูกระงับโดยอนุสัญญานานาชาติลอนดอนว่าด้วยการทิ้งของในทะเลเนื่องด้วยหวาดกลัวต่อผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น


Victor Smetacek ผู้นำทีมวิจัย แห่งสถ​​าบันอัลเฟรดเวเจเนอร์ในประเทศเยอรมนีกล่าวกับรอยเตอร์ว่า "ผมหวังว่าผลการศึกษาเหล่านี้จะแสดงให้เห็นถึงการทดลองที่มีประโยชน์นี้"


เขาให้ความเห็นว่าการให้ปุ๋ยแก่มหาสมุทรควรจะควบคุมดูแลโดยสหประชาชาติและไม่ควรมีสิทธิ์ได้รับคาร์บอนเครดิตภายใต้สนธิสัญญาของสหประชาชาติ และบริษัทเอกชนไม่ควรได้รับอนุญาตให้ดำเนินการทดสอบนี้เองเพื่อให้มั่นใจว่าการทดสอบมีการกำกับดูแลที่เหมาะสมอย่างแท้จริง


แม้ว่าการให้ปุ๋ยแก่มหาสมุทรจะเป็นหนึ่งในบรรดาเทคนิคแนะนำสำหรับการชะลอการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เรียกว่า "วิศวกรรมทางภูมิศาสตร์" ยังคงมีความเป็นไปได้อื่น ๆ ได้แก่ การสะท้อนแสงแดดด้วยกระจกยักษ์ขนาดใหญ่ในอวกาศ


เคน บัสเลอร์ จากสถาบันสมุทรศาสตร์วูดส์โฮล ประเทศสหรัฐอเมริกาได้เขียนความเห็นของเขาในวารสาร Nature ว่า "นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่เห็นด้วยที่ว่ายังห่างไกลที่จะแนะนำให้ใส่ปุ๋ยเหล็กลงในมหาสมุทรเพื่อใช้เป็นเครื่องมือทางวิศวกรรมภูมิศาสตร์" แต่หลายคนคิดว่าควรมีการทดลองที่ใหญ่กว่าและถูกต้องต่อไปเพื่อดูว่าเทคโนโลยีดังกล่าวสามารถใช้งานได้จริง

16 July 2012

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของยูเออีได้รับใบรับรองด้านสิ่งแวดล้อมแล้ว

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานวันนี้(16 ก.ค. 2012) ว่า- บรรษัทพลังงานนิวเคลียร์อีมิเรตส์ (Emirates Nuclear Energy Corporation, ENEC) แถลงข่าวเมื่อวันอาทิตย์ที่ 15 ก.ค. 2012 ว่าหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมของอาบูดาบีอนุมัติแผนสำหรับโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์แห่งแรกของประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์แล้ว แต่บรรษัทยังไม่ได้รับใบอนุญาตก่อสร้าง

ใบรับรองด้านสิ่งแวดล้อมจากการหน่วยงานกำกับด้านสิ่งแวดล้อมเป็นหนึ่งในหลายใบอนุมัติที่จำเป็นสำหรับการเริ่มต้นก่อสร้างเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 2 หน่วยของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ณ เมืองบรากาห์ (Brakah)

นายโมฮาแหม็ด อัลแฮมมาดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ ENEC กล่าวว่า "พลังงานนิวเคลียร์เป็นหนึ่งในหลายวิธีที่อาบูดาบีจะแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่จะพิทักษ์สิ่งแวดล้อม และพลังงานนิวเคลียร์ไม่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนเลยแม้แต่น้อยในระหว่างการดำเนินงาน"

ตอนหนึ่งในการแถลงข่าวเขากล่าวว่า "ในปี 2020 จะมีพลังงานนิวเคลียร์จากโรงไฟฟ้าสี่โรงเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าคาร์บอนต่ำ 5,600 เมกะวัตต์ เพื่อป้อนเข้าสู่ระบบสายส่งพลังงานไฟฟ้าแห่งชาติ" การเพิ่มโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ดังกล่าวจะสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้ประมาณ 12 ล้านตันต่อปี

ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า ยูเออี (UAE) เป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อหัวสูงที่สุดในโลก ในเดือนธันวาคม 2009 ประเทศเกาหลีนำโดย Electric Power Corporation (KEPCO) ชนะการประมูลสัญญาก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จำนวน 4 โรงในประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งมีขึ้นตามนโยบายของรัฐบาลเพื่อตอบสนองความต้องการด้านพลังงานไฟฟ้าที่เพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของเกาหลีพัฒนาจากเทคโนโลยีโรงไฟฟ้าต้นแบบของสหรัฐอเมริกา
ผลจากอุบัติเหตุนิวเคลียร์ ณ เมือง ฟูกูชิมา ประเทศญี่ปุ่นเมื่อเดือนมีนาคมปีที่แล้วเนื่องมาจากแผ่นดินไหวใหญ่และคลื่นสึนามิ ทำให้บางประเทศต้องพิจารณาความทะเยอทะยานด้านนิวเคลียร์ของพวกเขาใหม่ ยูเออีมีความต้องการที่จะลดการพึ่งพาการนำเข้าก๊าซธรรมชาติ แต่หลังจากยื่นขออนุญาตก่อสร้างเมื่อเดือนธันวาคม 2010 จนถึงขณะนี้ ENEC ยังไม่ได้รับใบอนุญาตก่อสร้างจากหน่วยงานกำกับดูแลความปลอดภัยด้านนิวเคลียร์ของรัฐบาลกลาง (Federal Authority of Nuclear Regulation, FANR)