10 May 2012

เป้าหมายของสหภาพยุโรปสีเขียวขึ้นอยู่กับตลาดคาร์บอนและ Acciona

สำนักข่าวรอยเตอร์ ณ กรุงบรัสเซลส์ สัมภาษณ์ผู้นำกลุ่มบริษัทด้านพลังงาน Acciona ของสเปนซึ่งให้ข้อคิดเห็นว่าสหภาพยุโรปอาจล้มเหลวในการบรรลุเป้าหมายสีเขียวหากไม่มีการแทรกแซงเพื่อผลักดันให้ราคาการซื้อขายคาร์บอนสูงขึ้นกว่าระดับปัจจุบันสามเท่า

Acciona เป็นหนึ่งในกลุ่มของธุรกิจประกอบด้วยรอยัลดัตช์เชลล์, ยูนิลีเวอร์ (บริษัทข้ามชาติสัญชาติอังกฤษและเนเธอร์แลนด์), ฟิลลิปส์, ดอยช์เทเลคอม (กลุ่มสื่อสารที่ใหญ่ที่สุดของยุโรป) และ โวดาโฟน (บริษัทโทรคมนาคมใหญ่ของอังกฤษ)

เมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2555 ที่ผ่านมาผู้นำกลุ่มบริษัทในเครือดังกล่าวเข้าเยี่ยมพบคณะกรรมาธิการยุโรป ประธานาธิบดีโฮเซมานูเอลบาร์โรโซ กรรมาธิการอาวุโสและผู้บริหารระดับสูงของสหภาพยุโรป

พวกเขาตอกย้ำเจตนารมณ์ที่จะบรรลุเป้าหมายที่ท้าทายความสามารถในอนาคตด้านพลังงานหมุนเวียนและการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และสนับสนุนการดำเนินการของสหภาพยุโรปเพื่อเข้าแทรกแซงราคาคาร์บอนอย่างเร่งด่วน

"พวกเราต้องการที่จะมาแสดงจุดยืนที่ชัดเจนและความมุ่งมั่นของพวกเราที่จะปฏิบัติการตามมาตรการเหล่านี้" คาร์เมน เบคเคอริล ประธานกรรมการด้านพลังงานของ Acciona กล่าวในการให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวรอยเตอร์
เธอกล่าวเสริมเมื่อถูกถามถึงมุมมองของ Acciona เกี่ยวกับราคาคาร์บอนที่ควรจะเป็น "หลายปีที่ผ่านมาพวกเราไตร่ตรองราคาคาร์บอนที่ประมาณ 20 ยูโรต่อตัน(ประมาณ 26.30 เหรียญสหรัฐ) ซึ่งราคาดังกล่าวจะเป็นสัญญาณที่ดี"

ราคาการซื้อขายคาร์บอนของสหภาพยุโรปซึ่งเป็นหนึ่งในเครื่องมือหลักในการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ปรับลดลงไปที่ระดับต่ำสุดหลังจากยุโรปเข้าสู่​​สภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจเมื่ออุปทานล้นตลาด ราคาการซื้อขายลดลงไปที่ราคาต่ำกว่า 6 ยูโรเมื่อต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมาและมีการตกลงซื้อขายที่ราคา 7 ยูโรต่อตันเมื่อรอบการซื้อขายในวันพฤหัสบดีที่ 3 พ.ค. 2555

นางคอนนี่ เฮดการ์ด (Connie Hedegaard) กรรมาธิการด้านสภาพภูมิอากาศ กล่าวว่าเมื่อเดือนเมษายนคณะกรรมาธิการกำลังมองหาวิธีการที่จะปรับแก้ตารางเวลาในการประมูลซื้อคาร์บอน ซึ่งต้องจำกัดอุปทานและเพิ่มราคาให้สูงขึ้น

ทิศทางของนโยบาย

นอกเหนือจากการสนับสนุนคณะกรรมาธิการในการเข้าแทรกแซงตลาดคาร์บอนแล้ว นางเบคเคอริลยังกล่าวเสริมอีกว่าประเทศสมาชิกของสหภาพยุโรปจะต้องเห็นด้วยกับเป้าหมายนโยบายในปี 2030 เพื่อให้นักลงทุนมีเวลานานเพียงพอที่จะวางแผนก่อนที่กฎระเบียบที่มีอยู่ตามเป้าหมายปี 2020 จะหมดอายุลง

เป้าหมายของสหภาพยุโรปสามประการในรอบปี 2020 คือ (1) เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนร้อยละ 20 (2) เพิ่มส่วนแบ่งของพลังงานทดแทนในพลังงานผสมถึง 20 เปอร์เซ็นต์และ (3) ลดการใช้พลังงานลงร้อยละ 20 ของระดับที่คาดการณ์ไว้

เป้าหมายการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพเป็นเพียงหนึ่งในสามเป้าหมายของสหภาพยุโรป ซึ่งสหภาพยุโรปประสบปัญหาในทางปฏิบัติที่จะดำเนินการให้บรรลุตามแนวทางที่วางไว้และติดกับอยู่ในขั้นตอนการอภิปรายเกี่ยวกับความยุ่งยากที่จะร่างกฎหมายเพื่อบังคับใช้มาตรการประหยัดพลังงาน

แนวความคิดที่จะเพิ่มมาตรการในการควบคุมการใช้พลังงานก่อให้เกิดความแตกแยกระหว่างประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปและภาคธุรกิจ บางภาคส่วนรวมทั้งภาคสาธารณูปโภคไม่พอใจกับการแทรกแซงของสหภาพยุโรปและมีข้อถกเถียงกันว่าการเสริมกฎระเบียบมากขึ้นอาจส่งผลให้การเจริญเติบโตของสหภาพยุโรปลดลงหรือไม่

แหล่งข่าวของอียูกล่าวว่าสเปนเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกที่คัดค้านมาตรการการประหยัดพลังงานของสหภาพยุโรป

นางเบคเคอริลสนับสนุนนโยบายการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานของยุโรป  ด้วยเห็นว่าเป็นวิธีการที่จะประกันความปลอดภัยของอุปทานและลดการพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันและก๊าซ อีกทั้งมาตรการด้านพลังงานมีความจำเป็นต่อความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของสหภาพยุโรป พร้อมทั้งกล่าวเสริมว่า เป้าหมายพลังงานสีเขียวอื่น ๆ ของสหภาพยุโรปอาจมีความเสี่ยงหากนโยบายการซื้อขายคาร์บอนไม่เข้มแข็งพอ เนื่องด้วยตลาดซื้อขายคาร์บอนเป็นเครื่องมือพื้นฐานสำหรับการกระตุ้นการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

ผู้นำของกลุ่มบริษัทพลังงาน Acciona และบริษัทอื่น ๆ ที่เข้าเยี่ยมพบกับบาร์โรโซในวันดังกล่าวทั้งหมดเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มผู้นำองค์กรความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของสหภาพยุโรปของเจ้าชายแห่งเวลส์

Sandrine Dixson-Decleve ผู้อำนวยการขององค์กรกล่าวว่าการอภิปรายเมื่อวันพฤหัสบดีได้รวมตัวเลือกอื่น ๆ ที่จะช่วยประคับประคองตลาดคาร์บอน เช่น การกำหนดค่าตอบแทนสูงถึงหนึ่งพันล้านยูโรรวมทั้งการสอบเทียบใหม่  อีกทั้งยังมีการแลกเปลี่ยนมุมมองที่ดีเกี่ยวกับการเปลี่ยนวิธีการจากมาตรการรัดเข็มขัดเป็นการเจริญเติบโตสีเขียว

09 May 2012

กฎระเบียบด้านการป้องกันน้ำท่วมของอียู (EU Flood Directive)

กฎระเบียบดังกล่าวจัดทำขึ้นเพื่อใช้ในพื้นที่ไอร์แลนด์เหนือซึ่งเป็นพื้นที่รับน้ำขนาดใหญ่
หัวใจของกฎระเบียบนี้ คือ ปกป้องชุมชน มีวัตถุประสงค์เพื่อบริหารจัดการผลจากน้ำท่วมต่อสุขอนามัย สิ่งแวดล้อม มรดกทางวัฒนธรรมและเศรษฐกิจ โดยมุ่งเน้น
1.       การป้องกันความสูญเสียจากน้ำท่วมโดยหลีกเลี่ยงการปลูกสร้างอาคารบ้านเรือนในพื้นที่ที่มีแนวโน้มว่าจะเกิดน้ำท่วม โดยนำเอาแผนที่การพัฒนาประเทศในอนาคตมาใช้ในการบริหารจัดการความเสี่ยง นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้มีการใช้พื้นที่ทางการเกษตรและป่าไม้ให้เหมาะสมอีกด้วย
2.       การปกป้องชุมชน โดยจัดทำมาตรการทั้งที่เป็นโครงสร้างและไม่เป็นโครงสร้างเพื่อลดผลกระทบจากน้ำท่วม
3.       เตรียมความพร้อมของชุมชน โดยแจ้งเตือนสาธารณชนล่วงหน้าถึงความเสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วม พร้อมทั้งวิธีปฏิบัติในกรณีที่เกิดน้ำท่วม
กรอบเวลาของการดำเนินงานแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน
ขั้นตอนที่ 1 ออกกฎหมายที่เรียกว่า The Water Environment (Floods Directive) Regulations (Northern Ireland) 2009 เพื่อให้กฎระเบียบดังกล่าวมีผลบังคับใช้ในปี 2009
ขั้นตอนที่ 2 กำหนดพื้นที่ที่เสี่ยงต่อน้ำท่วม การประเมินความเสี่ยงต่อน้ำท่วมเบื้องต้นกำหนดแล้วเสร็จในเดือนธันวาคม 2011
ขั้นตอนที่ 3 จัดทำแผนที่เสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วมและอุบัติภัยจากน้ำท่วมให้แล้วเสร็จภายในธันวาคม 2013
ขั้นตอนที่ 4 จัดทำแผนบริหารจัดการในพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมให้แล้วเสร็จในปี 2015






นโยบายการลดการปลดปล่อย CO2 ของอียู

อียูตั้งเป้าหมายที่จะลดการปลดปล่อย CO2 ลงถึง 85 % ในปี 2050 




นโยบายดังกล่าวกำหนดขึ้นตามแผนที่พลังงาน 2050 ของอียูที่เผยแพร่เมื่อเดือนธันวาคม 2011
ความสำเร็จตามนโยบายดังกล่าวขึ้นกับมาตรการประหยัดพลังงานของอียู ซึ่งได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ว่าจะสามารถทำได้หรือไม่ เนื่องด้วยในแผนที่พลังงานดังกล่าวใช้ 5 สถานการณ์จำลองโดยที่อียูต้องลดการใช้พลังงานลงถึง 32 -41 % โดยกำหนดค่าอัตราการเจริญทางเศรษฐกิจ (GDP) 1.7 % ต่อปี ซึ่งหากคำนวณตามอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ดังกล่าวค่าการใช้พลังงานจะต้องสูงกว่านั้นมาก
ในขณะนี้ทั่วยุโรปมีแผนปฏิบัติการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานแต่มีขอบข่ายที่จำกัดมากและไม่มีแผนการดำเนินงานที่จริงจัง
นโยบายดังกล่าวได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ว่าคงไม่สามารถบรรลุตามเป้าหมายการลดพลังงานระยะสั้นของอียูลงได้ถึง 20 % ในปี 2020 ดังนั้นคงไม่ต้องพูดถึงความสำเร็จของแผนประหยัดพลังงานระยะยาวของอียูที่ตั้งเป้าไว้ในปี 2050

นอร์เวย์เปิดอาคารใหม่ที่จะใช้ในการทดสอบการบวนการดักจับก๊าซคาร์บอนด้วยเทคโนโลยี CCS

เมื่อวันจันทร์ที่ 7 พ.ค. 2555 นอร์เวย์เปิดอาคารที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งจะใช้เป็นอาคารในการพัฒนาเทคโนโลยีการกักเก็บก๊าซคาร์บอน (Carbon Capture and Storage, CCS), เทคโนโลยีที่ยังไม่ผ่านการรับรองในเชิงพาณิชย์เพื่อกลบฝังก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยจากโรงไฟฟ้าไว้ใต้ดินอย่างปลอดภัย
รัฐบาลนอร์เวย์ให้การสนับสนุนศูนย์ในการทดสอบเทคโนโลยีการดักจับคาร์บอนที่เกิดจากการเผาไหม้ของโรงงานสองแหล่งเป็นจำนวนเงินถึงหนึ่งพันล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อพิสูจน์ว่าเทคโนโลยีดังกล่าวมีความคุ้มค่าและปลอดภัย สามารถขยายไปใช้ในระดับอุตสาหกรรมได้
นายกรัฐมนตรี Jens Stoltenberg กล่าวในพิธีเปิดศูนย์เทคโนโลยี Mongstad (TCM) ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเมือง เบอร์เกน ว่า "วันนี้เรากำลังเปิดห้องปฏิบัติการที่ใหญ่ที่สุดและทันสมัยที่สุดของโลกเพื่อทดสอบเทคโนโลยีการดักจับคาร์บอน ... มันเป็นโครงการที่สำคัญสำหรับนอร์เวย์และสำหรับโลก" ศูนย์ทดสอบนี้ติดตั้งเครื่องมือและอุปกรณ์ที่หลากหลายมีการทำงานที่ไม่ซ้ำแบบกัน สามารถทดสอบก๊าซไอเสียจากโรงงานสองแห่งในบริเวณใกล้เคียงคือ โรงไฟฟ้าแบบความร้อนร่วมขนาด 280 เมกะวัตต์และ โรงกลั่นน้ำมัน Mongstad ซึ่งมีกำลังผลิตถึง10-ล้านตันต่อปี ทั้งสองโรงงานผลิตก๊าซไอเสียที่มีปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์แตกต่างกัน ประมาณร้อยละ 3.5 และร้อยละ 13 ตามลำดับ การปล่อยมลพิษโรงกลั่นน้ำมัน Mongstad มีปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ใกล้เคียงกับปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยออกมาจากโรงไฟฟ้าแบบถ่านหิน ซึ่งมีผลสรุปจากการศึกษาวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ว่ามีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างยิ่ง CCS เป็นโอกาสเดียวของประเทศที่ก๊าซธรรมชาติใต้ทะเลกำลังจะหมดลง เป็นความพยายามที่จะหลีกเลี่ยงผลกระทบอันเลวร้ายจากก๊าซเรือนกระจกที่เกิดการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลอย่างต่อเนื่อง โดยกลบฝังก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมา แม้ว่าค่าใช้จ่ายจะสูงมากก็ตาม ศูนย์เทคโนโลยีดังกล่าวประกอบด้วยโรงงานขนาดใหญ่สองโรงงานที่มีความจุในการดักจับคาร์บอนเพื่อประมวลผลรวมกันถึง 100,000 ตันของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี นับเป็นโรงงานที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในพื้นที่ขณะนี้ ณ ปัจจุบัน มีเพียงไม่กี่ประเทศที่ตกลงใจที่จะลงทุนเงินจำนวนมหาศาลในเทคโนโลยีการดักจับคาร์บอน ประเทศที่มีโครงการดังกล่าวแล้ว ได้แก่ สหรัฐอเมริกา, ออสเตรเลีย, อังกฤษและจีน
นาย Guenther Oettinger กรรมาธิการด้านพลังงานของสหภาพยุโรป ปรบมือให้แก่ความพยายามของนอร์เวย์ที่มีขึ้นในช่วงเวลาที่โครงการสาธิตด้านCCS ของยุโรปจนตรอกเนื่องจากการขาดการลงทุน เขากล่าวว่า “นับเป็นก้าวสำคัญของยุโรปในการพัฒนาเทคโนโลยี CCS ซึ่งจะช่วยให้เกิดโมเมนตัมใหม่ในการอภิปรายเพื่อส่งเสริมให้มีการพัฒนาใช้เทคโนโลยี CCS ในยุโรป ก๊าซธรรมชาติจะมีอนาคตระยะยาวในยุโรปหากซีซีเอส สามารถนำมาใช้ได้จริง” ตลาดคาร์บอนสหภาพยุโรปถูกนำมาเสนอใช้เพราะเชื่อว่าเป็นวิธีที่ถูกที่สุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุดในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยการกำหนดราคาในการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และค่าตอบแทนจากการขายของภาคเอกชนเพื่อใช้เป็นปัจจัยต้นทุนประกอบการตัดสินใจลงทุนในระยะยาวของเอกชน อย่างไรก็ตามราคาที่อนุญาตให้มีการซื้อขายคาร์บอนต่ำกว่า 7 ยูโร ซึ่งเป็นราคาต่ำสุดในการรับซื้อคาร์บอนจากบริษัทที่จะลงทุนในเทคโนโลยีสะอาด นอร์เวย์เป็นประเทศที่มีประชากรเพียง 4.9 ล้านคน แต่เป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่เป็นอันดับแปดของโลกและเป็นประเทศผู้ส่งออกก๊าซธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดของยุโรปตะวันตกในขณะนี้