19 December 2012

การประชุม ASEAN-EU Year of Science, Technology, and Innovation 2012

การประชุม ASEAN-EU Year of Science, Technology, and Innovation ๒๐๑๒ ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๑๐-๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๕ ณ กรุงบรัสเซลส์ โดย EU Commission
สาระสำคัญสรุปได้ดังนี้ มีผู้เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ประมาณ ๑๐๐ คน ประกอบด้วย ผู้แทนจากหน่วยงานด้าน ว และ ท. ของประเทศอาเซียนทั้ง ๑๐ ประเทศ นักวิจัยในสาขา Life Science, Environment and Food ผู้แทนจากประเทศอียูและหน่วยงานระหว่างประเทศ สถาบันหลักระหว่างประเทศและผู้แทนจากองค์กรอิสระ ผู้ประสานงานโครงการของแต่ละประเทศ นักวิจัยจากประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้รับทุนวิจัย Marie Curie และสมาชิกโครงการ SEA-EU-NET จาก ๒๒ สถาบัน
Mr. Simon Grimley ที่ปรึกษาด้านความร่วมมือระหว่างประเทศของ สวทช. และ NCP SEA-EU-NET of Thailand ได้รับเกียรติให้บรรยายสรุปผลการดำเนินงานของโครงการ SEA-EU-NET Phase I และ Mr. Chirstoph Elineau, NCP SEA-EU-NET of Germany นำเสนอแผนการดำเนินงานโครงการ SEA-EU-NET Phase II (ระยะเวลา ๔ ปี เริ่มจากเดือนตุลาคม ๒๕๕๕) ซึ่งมุ่งเน้นส่งเสริมความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสาขา Health, Water, and Food ในประเด็นที่ทั้งสองภูมิภาคมีความสนใจร่วมกัน
ดร.พิเชษ ดุรงคเวโรจน์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) เป็นผู้แทนจากประเทศไทยกล่าวสรุปในพิธีปิดฉากปีแห่งวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมระหว่างอาเซียนและอียูในปี ๒๐๑๒ ว่าประสงค์ที่จะเห็นทุกปีเป็นปีแห่งวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมระหว่างอาเซียนและอียู นอกจากนี้ได้รับเชิญให้เป็นผู้แทนประเทศอาเซียนนำเสนอ Krabi Initiative ซึ่งประเทศไทยเป็นผู้ริเริ่มเพื่อใช้เป็น platform ในกรอบความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเชื่อมโยงระหว่างสามเสาหลักของประชาคมอาเซียน
ในโอกาสนี้ ฯพณฯ เอกอัครราชทูต ประจำกรุงบรัสเซลส์และหัวหน้าคณะผู้แทนไทยประจำสหภาพยุโรป นายอภิชาติ ชินวรรโณ เป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารกลางวันคณะผู้แทนไทยก่อนเดินทางกลับประเทศไทย

19 October 2012

ศาลยุติธรรมของสหภาพยุโรปตัดสินว่าอังกฤษมีความผิดฐานปล่อยน้ำทิ้งเข้าทางน้ำของยุโรป

จากคำตัดสินของศาลยุติธรรมของสหภาพยุโรปเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 18 ตุลาคม 2012 อังกฤษเผชิญกับค่าปรับจำนวนมหาศาลเนื่องจากละเมิดกฎหมายการบำบัดน้ำเสียหลังการใช้ของสหภาพยุโรปในตอนเหนือของประเทศอังกฤษและลอนดอน ส่งผลให้มีน้ำทิ้งไหลเข้าทางน้ำของยุโรปทำให้น้ำเสียซึ่งอาจมีเชื้อโรคหรือสารพิษปนเปื้อนเข้าสู่ระบบ
ศาลมีอำนาจที่จะเรียกเก็บค่าปรับหลายพันยูโรต่อวัน แต่ขณะนี้ยังไม่ตัดสินว่าค่าปรับจะเป็นเท่าใด ภายใต้กฎหมายของสหภาพยุโรปที่เรียกว่า “คำสั่ง (directive )” ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี 1991 อังกฤษจึงถูกบังคับให้ปฏิบัติตามมาตรฐานการบำบัดน้ำเสียใหม่นี้เช่นเดียวกับประเทศสมาชิกอื่น ๆ แต่อังกฤษไม่สามารถปฏิบัติตามได้ ตอนหนึ่งของคำตัดสินแห่งศาลลักเซมเบิร์กกล่าวว่า "สหราชอาณาจักรล้มเหลวในการปฏิบัติตามข้อผูกพันของตนภายใต้ directive" ในคำแถลงของศาลกล่าวว่า “โรงงานใน Whitburn ซึ่งอยู่ตอนเหนือของประเทศอังกฤษและในลอนดอนทิ้งสิ่งปฏิกูลลงในระบบระบายน้ำของท้องถิ่น ซึ่งระบบระบายน้ำของลอนดอนส่วนมากสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยวิกตอเรียและเคยปล่อยน้ำดิบเสียลงสู่แม่น้ำเทมส์เมื่อฝนตกหนักท่วมอุโมงค์ที่มีใช้ตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 ดูเหมือนว่าโรงบำบัดน้ำเสียของลอนดอนจะสามารถจัดเก็บน้ำเสียได้เพียงพอในสภาพอากาศปกติ แต่มีความจุไม่เพียงพอเมื่อมีฝนตก"
สหราชอาณาจักรโต้แย้งว่าได้ดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาให้สอดคล้องกับกฎระเบียบใหม่ของสหภาพยุโรปแล้วแต่คำโต้แย้งไม่มีน้ำหนักเพียงพอต่อศาล ศาลกล่าวว่า "รัฐสมาชิกอาจไม่สารภาพความยากลำบากในทางปฏิบัติหรือการบริหารเพื่อปฏิบัติตามภาระผูกพันตามเงื่อนเวลาที่กำหนด ซึ่งเป็นความรับผิดชอบของประเทศสมาชิกฯ ที่จะนำมาตรการที่เหมาะสมมาใช้เพื่อบรรลุตามเงื่อนไข" ลอนดอนได้รับมอบหมายให้สร้างอุโมงค์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่า 'ท่อระบายน้ำซุปเปอร์' ใต้แม่น้ำเทมส์เพื่อแก้ปัญหาความจุของระบบการจัดเก็บน้ำเสียของเมืองซึ่งมีมูลค่าสูงถึง 4000 ล้านปอนด์ แต่โดนคัดค้านโดยประชาชนและนักการเมืองท้องถิ่นเพราะค่าใช้จ่ายดังกล่าวจะทำให้ต้องจ่ายค่าน้ำสูงขึ้น ในปี 2010 คณะกรรมาธิการยุโรปขอให้ศาลยุติธรรมแห่งสหภาพยุโรปปรับประเทศเบลเยียมสูงถึง 15 ล้านยูโรสำหรับการละเมิดกฎหมายการบำบัดน้ำเสีย คิดเป็นค่าปรับสูงถึงวันละ 62,000 ยูโร (2.48 ล้านบาท)ซึ่งคาดว่าศาลอาจนำมาใช้เป็นบรรทัดฐานในการคิดค่าปรับสหราชอาณาจักรของการกระทำผิดในครั้งนี้

18 October 2012

EU sanctions target Iran oil, gas, tanker companies

เมื่อวันอังคารที่ 17 ตุลาคม 2555 รัฐบาลของสหภาพยุโรปประกาศท่าทีตอบโต้โปรแกรมนิวเคลียร์ที่เตหะราน โดยจำกัดการปล่อยสินเชื่อของธนาคารกลางแก่อุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซของประเทศอิหร่านถึง 30 บริษัทซึ่งเป็นแหล่งรายได้หลักของประเทศ ประเทศอเมริกาและสหภาพยุโรประงับการนำเข้าน้ำมันจากอิหร่านอย่างสิ้นเชิงเพื่อกดดันอิหร่านเรื่องโปรแกรมนิวเคลียร์และพยายามทุกวิถีทางที่จะเข้าแซกแทรงกิจการการค้าน้ำมันของอิหร่านในตลาดอื่นๆอีกด้วย ยักษ์ใหญ่จับมือกัน...คงต้องจับตาดูอย่างใกล้ชิดว่าอิหร่านจะทำอย่างไรเพื่อให้หลุดพ้นจากหายนะนี้โดยที่ไม่ต้องเปิดเผยโครงการนิวเคลียร์ของตนให้ชาวโลกรู้ว่ามีอยู่จริงหรือไม่......

ขอบข่ายโครงการความร่วมมือของสหภาพยุโรปด้านการวิจัยและนวัตกรรม(Horizon ๒๐๒๐)

"Horizon ๒๐๒๐" เป็นชื่อเรียกขอบข่ายโครงการความร่วมมือด้านการวิจัยและนวัตกรรมของสหภาพยุโรปฉบับใหม่ต่อจากกรอบโครงการความร่วมมือฉบับที่ ๗ (FP7) เพื่อสนับสนุนความคิดริเริ่มของคณะกรรมาธิการยุโรปด้านการวิจัยและนวัตกรรมที่ตั้งธงไว้ที่ปี ค.ศ. ๒๐๒๐ ซึ่งมีกำหนดเริ่มต้นในวันที่ ๑ มกราคม ๒๐๑๔ ข้อเสนอของสหภาพยุโรปขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างการอภิปรายในรัฐสภายุโรปและคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป โครงสร้างที่คณะกรรมาธิการยุโรปเสนอประกอบด้วยลำดับความสำคัญขั้นพื้นฐานสามลำดับ คือ ๑. เป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ ๒. เป็นผู้นำด้านอุตสาหกรรม ๓. สนองตอบความท้าทายทางสังคม ความแตกต่างหลักระหว่าง FP7 และ ฮอไรซอน ๒๐๒๐ ประกอบด้วย: (๑)นำการวิจัยและนวัตกรรมมารวมไว้ในโปรแกรมเดียว (๒)มุ่งเน้นไปที่ความท้าทายทางสังคมในสหสาขาวิชาชีพที่ประชาคมยุโรปกำลังเผชิญอยู่ (๓)ทำให้การทำงานร่วมกันของทุก บริษัท มหาวิทยาลัยและสถาบันอื่น ๆ ในทุกประเทศในสหภาพยุโรปและนอกสหภาพยุโรปง่ายขึ้น
ฮอไรซอน ๒๐๒๐ เป็นอุปกรณ์ทางการเงินเพื่อสนับสนุนการริเริ่มดำเนินงานด้านนวัตกรรมของสหภาพยุโรปที่ตั้งเป้าหมายไว้ในปี ค.ศ. ๒๐๒๐ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันระดับโลกของยุโรป ระหว่างปี ๒๐๑๔-๒๐๒๐ ด้วยเงินงบประมาณในการดำเนินการตามโปรแกรมใหม่ของสหภาพยุโรปเพื่อการวิจัยและนวัตกรรมสูงถึง ๘๐,๐๐๐ ล้านยูโร นับเป็นส่วนหนึ่งของการผลักดันเพื่อสร้างการเจริญเติบโตและการจ้างงานใหม่ในยุโรป ฮอไรซอน ๒๐๒๐ เสนอช่องทางที่ง่ายขึ้นภายใต้กฎชุดเดียวกันโดยรวมเงินทุนด้านการวิจัยและนวัตกรรมทั้งหมดซึ่งในปัจจุบันมีการให้ทุนสนับสนุนผ่านโครงการเพื่อการพัฒนากรอบการวิจัยและเทคนิค กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมในการแข่งขันและขอบข่ายงานโครงการนวัตกรรม ( CIP ) และสถาบันนวัตกรรมและเทคโนโลยีแห่งยุโรป ( EIT ) รวมเข้าเป็นหนึ่งเดียว การสนับสนุนข้อเสนอการวิจัยและนวัตกรรมภายใต้ Horizon ๒๐๒๐ จะ: @เสริมสร้างความแข็งแกร่งของสหภาพยุโรปด้านวิทยาศาสตร์โดยมีงบประมาณเฉพาะจำนวน ๒๔,๕๙๘ ล้านยูโร เพื่อช่วยเพิ่มการวิจัยระดับบนสุดในยุโรปรวมทั้งเพิ่มเงินทุนให้แก่คณะกรรมการวิจัยยุโรป( ERC ) ซึ่งประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากถึง ๗๗% @วงเงินงบประมาณ ๑๗,๙๓๘ ล้านยูโรเพื่อสร้างความเป็นผู้นำด้านอุตสาหกรรมในการสร้างสรรค์นวัตกรรม รวมทั้งการลงทุนที่สำคัญในเทคโนโลยีที่สำคัญและการเข้าถึงแหล่งทุนเพื่อการสนับสนุนธุรกิจขนาดกลางถึงขนาดเล็ก SMEs ให้มากยิ่งขึ้น @ วงเงินงบประมาณ ๓๑,๗๔๘ ล้านยูโรเพื่อช่วยระบุความกังวลร่วมของยุโรปเช่นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ, การพัฒนาระบบขนส่งอย่างยั่งยืนและการเคลื่อนย้าย การผลิตพลังงานทดแทนที่ราคาไม่แพงมาก สร้างมั่นใจด้านความปลอดภัยของอาหารและการรักษาความปลอดภัยหรือการรับมือกับความท้าทายของประชากรผู้สูงอายุ ฮอไรซอน ๒๐๒๐ จะรับมือกับความท้าทายทางสังคมด้วยการช่วยลดช่องว่างระหว่างการวิจัยและการตลาดโดยช่วยองค์กรในการพัฒนานวัตกรรมการคิดค้นทางเทคโนโลยีของพวกเขาเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานได้จริงและมีศักยภาพในเชิงพาณิชย์ เป็นวิธีการตลาดที่ขับเคลื่อนด้วยการนำภาคเอกชนและรัฐสมาชิกมาทำงานรวมกันโดยร่วมใช้ทรัพยากรที่จำเป็น ความร่วมมือระหว่างประเทศเป็นหัวใจสำคัญลำดับแรกๆของฮอไรซอน ๒๐๒๐ นอกเหนือจากการเปิดกว้างให้มีความร่วมมือระหว่างประเทศแล้ว ฮอไรซอน ๒๐๒๐ ยังมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมการดำเนินการระหว่างประเทศเป้าหมายกับประเทศคู่ค้าสำคัญและกับภูมิภาคสำคัญตามยุทธศาสตร์ของสหภาพยุโรป ในกลยุทธ์ใหม่ ซึ่งกลยุทธ์และความเชื่อมโยงที่มีตลอดโครงการก็เพื่อทำให้มั่นใจว่ามีความร่วมมือระหว่างประเทศตามกรอบความร่วมมือฮอไรซอน ๒๐๒๐ ฮอไรซอน ๒๐๒๐ จะสมบูรณ์ด้วยมาตรการเพิ่มเติมเพื่อความสมบูรณ์ในการพัฒนาสาขาการวิจัยของยุโรป ในปี ค.ศ. ๒๐๑๔ มาตรการเหล่านี้จะมุ่งทำลายอุปสรรคการสร้างตลาดเดียวสำหรับความรู้การวิจัยและนวัตกรรมอย่างแท้จริง

23 August 2012

Essence of Thailand ครั้งที่ 7 ณ เมือง Stockel, Belgium

ใกล้กำหนดการจัดงาน Essence of Thailand 2012 ซึ่งสถานเอกอัครราชทูต ประจำกรุงบรัสเซลส์ร่วมกับทีมประเทศไทยบรัสเซลส์ จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี  ณ เมือง Stockel ประเทศเบลเยียม ซึ่งในปีนี้มีกำหนดจัดงานในวันที่ 9 กันยายน 2012 ที่จะถึงนี้

วัตถุประสงค์ของการจัดงานก็เพื่อกระชับและขยายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและพันธมิตรในเบลเยียมและสหภาพยุโรปโดยมีอาหาร ผลไม้และศิลปวัฒนธรรมไทยเป็นสื่อกลาง โดยคาดหวังว่าจะสามารถสร้างความตระหนักให้แก่ชาวต่างชาติถึงประโยชน์และคุณค่าอาหารไทย ตลอดจนเรียนรู้วิธีการปรุงอาหารโดยใช้ผักและพืชสมุนไทยได้อย่างถูกวิธีจากการสาธิตของเชฟทั้งไทยและเทศในงาน และในท้ายที่สุดจะสามารถขยายตลาดการส่งออกสินค้าเกษตรมายังสหภาพยุโรปได้มากขึ้นตามนโยบายของรัฐบาล"ครัวไทยสู่โลก"

ดังนั้นจึงขอเชิญชวนทุกท่านเข้าร่วมชมการแสดงศิลปวัฒนธรรมไทยและชิมอาหารไทยหลากหลายชนิดที่นำมาจำหน่ายในงานโดยร้านอาหารไทยที่มีชื่อในเบลเยียมได้ตั้งแต่ 10:00 - 20:00 น. อย่ามาคนเดียวนะคะ จูงลูกจูงหลาน คุณพ่อคุณแม่คุณพี่คุณน้อง...มาสนุกร่วมกัน...และจะขอบคุณยิ่งหากทุกท่านจะช่วยกันกระจายข่าวเรื่องการจัดงานครั้งนี้ให้เพื่อนๆในเครือข่ายของท่านทราบโดยทั่วกัน

    แล้วพบกันนะคะ


:D  

ปล. เกือบลืม!!! มีการจับสลากตั๋วเดินทางไป-กลับจากสารการบินไทยในงานอีกด้วย โชคดีค่ะ


20 August 2012

แว่นตากันแดดอาจเพิ่มอันตรายต่อดวงตา



แว่นตากันแดดที่ไม่เหมาะสม หากไม่สามารถป้องกันรังสียูวีอาจทำให้ดวงตาถูกทำลายจากแสงอาทิตย์เพิ่มขึ้น
ปกติเราจะคุ้นเคยกับการเตือนเรื่องอันตรายของแสงอาทิตย์ต่อผิวหนัง แต่ขณะนี้นักวิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยแอสตันในเมืองเบอร์มิงแฮมกำลังเตือนถึงอันตรายของแว่นกันแดดต่อดวงตา นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่าบางครั้งแว่นตากันแดดที่สวมใส่อยู่นั้นอาจไม่ได้ทำหน้าที่ปกป้องดวงตาเท่าที่ควรและในบางกรณียังเพิ่มปริมาณของแสงเข้าสู่ดวงตามากขึ้นอีกด้วย

ศาสตราจารย์เจมส์ วอล์ฟซัน จากหน่วยงานวิจัยด้านทัศนมาตรศาสตร์(Optometry) กล่าวว่าปกติเลนส์แว่นตาจะอยู่ตรงด้านหน้าของดวงตาแต่ยังมีแสงที่เข้าด้านข้างสะท้อนเข้าตาเพิ่มมากขึ้นไปอีก 20 เท่าของแสงที่ผ่านเข้าด้านตรงหน้าของดวงตานักวิทยาศาสตร์แนะนำว่าควรสวมแว่นกันแดดที่สามารถป้องกันรังสียูวีได้เพื่อปกป้องดวงตาไม่ให้ได้รับอันตรายจากรังสียูวีที่แผ่ผ่านเมฆมายังพื้นโลกถึง 90 เปอร์เซ็นต์แม้ในวันที่ท้องฟ้ามืดครึ้มด้วยเมฆก็ตาม

คอนแทคเลนส์กันแสงยูวีสามารถลดความเสี่ยงของโรคจอประสาทตาเสื่อม


จากการศึกษาของมหาวิทยาลัยแอสตันเกี่ยวกับการใช้คอนแทคเลนส์ที่มีคุณสมบัติป้องกันแสงยูวีสามารถรักษาระดับความเข้มของสารสีเหลืองพวกลูทีนและซีแซนทีน ณ จุดกลางรับภาพของจอประสาทตา(Macular pigment density) ซึ่งพบว่าระดับความเข้มของสารสีเหลืองในคนที่ใส่คอนแทคเลนส์ป้องกันแสงยูวีมีสูงกว่าในคนที่ไม่ใส่เลนส์ซึ่งไม่ป้องกันแสงยูวี จากการศึกษาเบื้องต้นแสดงให้เห็นว่าระดับความเข้มของสารสีเหลืองจะช่วยลดโรคจอประสาทตาเสื่อมตามอายุ (Age related Muscular Degeneration, AMD) ซึ่งเป็นความผิดปกติเกิด ณ จุดกลางรับภาพของจอประสาทตาทำให้สูญเสียการมองเห็นเฉพาะตรงกลางภาพทำให้ภาพบิดเบี้ยวหรือเห็นไม่ชัด พบมากในคนวัย 55 ปีขึ้นไป อย่างไรก็ตามยังจำเป็นต้องศึกษาผลการศึกษาดังกล่าวในทางคลินิกเพิ่มเติมต่อไป
ศาสตราจารย์เจมส์ วอล์ฟซันกล่าวเสริมอีกว่าการสวมใส่คอนแทคเลนส์ที่ป้องกันรังสียูวีได้ไม่สามารถใช้แทนการใช้แว่นครอบตากันรังสียูวีหรือแว่นกันแดดที่ป้องกันรังสียูวีได้เนื่องจากคอนแทคเลนส์ไม่ได้คลุมดวงตาทั่วทั้งหมด การดูแลดวงตาที่ดีควรสวมใส่คอนแทคเลนส์ป้องกันรังสียูวีเช่นเดียวกับการใส่แว่นตากันแดดที่มีคุณภาพสูงสำหรับป้องกันรังสียูวีอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอรวมถึงการสวมใส่หมวกปีกกว้างก็สามารถช่วยได้มาก

Age related Muscular Degeneration, AMD







สนใจติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.euronews.com/2012/07/09/scientists-warn-sunglasses-may-harm-eyes/ และ http://www.jnj.com

26 July 2012

บนความว่างเปล่า: นโยบายเอทานอลของสหรัฐฯมีขึ้นเพื่อบรรลุข้อสรุปที่ไร้ตรรกะ


บทความนี้ถอดความจากบทวิเคราะห์นโยบายด้านเอทาบอลของประเทศสหรัฐอเมริกาโดย Timothy A. Wise ซึ่งพบความผิดปกติจากรายงานแนวโน้มใหม่ทางการเกษตรของ FAO และ OECD เกี่ยวกับคาดการณ์ปริมาณการซื้อขายเอทานอลที่เพิ่มขึ้น- การซื้อขายเอทานอลเพื่อเอทานอลระหว่างสหรัฐอเมริกาและบราซิลประเทศผู้ผลิตเอทานอลที่ดีที่สุดของโลกภายในปี 2021 ซึ่งตั้งเป้าไว้สูงถึง 6.3 พันล้านแกลลอนต่อปี และทั้งหมดเพื่อเหตุผลด้านสิ่งแวดล้อมเพียงประการเดียว ไม่มีแม้แต่หยดเพื่อช่วยมนุษยชาติหรือดาวพระเคราะห์ดวงนี้

ทำไมประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งขณะนี้ใช้พื้นที่การเกษตรสูงถึง 40% ในการปลูกข้าวโพดเพื่อใช้ในการผลิตเอทานอลจึงต้องนำเข้าเอทานอลจากบราซิลสูงถึง 4 พันล้านแกลลอน ในขณะที่มีการคาดการณ์ว่าบราซิลจะนำเข้าเอทานอลจากสหรัฐอเมริกามากถึง 2 พันล้านแกลลอนในเวลาเดียวกัน
นี่คือ เกมส์ด้านเชื้อเพลิงชีวภาพที่สหรัฐฯ ต้องเล่นหรืออย่างไร
สหรัฐผ่านมาตรฐานเชื้อเพลิงทดแทน ซึ่งรู้จักกันดีในนามของ RFS2 (Renewable Fuel Standard) ในปี 2007 ซึ่งมีการบังคับให้ใช้เชื้อเพลิงทดแทนสูงถึง 36 พันล้านแกลลอนในปี 2022 ร่วมกับเชื้อเพลิงชีวภาพอื่นๆ เชื้อเพลิงชีวภาพแบบดั้งเดิมหรือรุ่นแรก เช่น เอทานอลจากข้าวโพดซึ่งมีประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมจำกัด ด้วยลดก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas, GHG) ได้เพียง 20 ด้วยความชาญฉลาดของสภาคองเกรสจึงออกข้อบังคับว่าเป้าหมาย 36 พันล้านแกลลอนสามารถบรรลุได้โดยใช้ "เชื้อเพลิงชีวภาพขั้นสูง" ที่มีคะแนนก๊าซเรือนกระจก 50 % หรือดีกว่าในแง่ของการลดก๊าซเรือนกระจก

ในบทวิเคราะห์ดังกล่าวผู้เขียนเปิดเผยว่าการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพขั้นสูงในประเทศสหรัฐอเมริกายังไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร โดยคาดว่าจะมีผลตอบแทนเพียงน้อยนิดจากไบโอดีเซลที่ทันสมัย​​ซึ่งเป้าหมายยังคงห่างไกลจากความเป็นจริงแต่เชื่อว่าเป็นไปได้ ส่วนที่เหลือได้มาจากการพัฒนาเอทานอลจากแป้ง จึงกลับกลายเป็นว่ามีการทุ่มเงินทั้งหมดเพื่อการวิจัยและพัฒนาการผลิตเอทานอลจากข้าวโพด ซึ่งได้รับการอัดฉีดด้วยเงินอุดหนุนและแรงจูงใจอย่างมหาศาลจากสภาคองเกรสส่งเสริมการปลูกข้าวโพดป้อนส่งเพื่อผลิตเป็นเชื้อเพลิงก่อนเป็นลำดับแรก ไม่มีใครคาดคิดว่าจะมีการผลิตเอทานอลจากแป้งมากมายในเร็ว ๆ นี้ แต่อาจประหลาดใจหากทราบว่า ณ จุดนี้สหรัฐผลิตเอทานอลข้าวโพดเป็นจำนวนมากและเกือบถึงขีดจำกัดทางเทคนิคที่ 15 พันล้านแกลลอนสำหรับเชื้อเพลิงชีวภาพที่ไม่ทันสมัยแล้ว

โชคดีสำหรับผู้ผลิตเอทานอลของบราซิลผู้ร่วมงานทางอ้อมของสหรัฐ เนื่องด้วยในข้อบังคับด้านเชื้อเพลิงทดแทนโดยการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพขั้นสูง "อื่น ๆ" แม้ว่าสภาคองเกรสจะถูกขาย RFS ตามสัญญาการไม่พึ่งพาพลังงานแต่บรรดา "เชื้อเพลิงชีวภาพอื่น ๆ" ไม่จำเป็นต้องผลิตในประเทศสหรัฐอเมริกา (ซึ่งสหรัฐฯสามารถจัดหามาได้โดยใช้ช่องทางองค์การค้าโลก) เอทานอลจากอ้อยของบราซิลได้รับการยอมรับว่าเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพขั้นสูงด้วยสามารถลดก๊าซเรือนกระจก(GHG) ได้ถึง 50 % แม้ว่าจะมีความกังวลใจอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับระยะเวลาที่จะมีผลกระทบด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ

ดังนั้นโครงการวิจัยร่วมระหว่าง FAO / OECD ซึ่งมีแผนการดำเนินงานจนถึงปี 2021 จึงช่วยผ่อนปรนข้อบังคับ RFS2 ของสหรัฐฯ ที่ต้องใช้เชื้อเพลิงชีวภาพทั้งหมดและเชื้อเพลิงชีวภาพขั้นสูงซึ่งสหรัฐอเมริกาจะต้องนำเข้าเอทานอลจากน้ำตาลจากบราซิลกว่า 4 พันล้านแกลลอนได้ระดับหนึ่ง
ความจริงมันอาจมากกว่านั้น ซึ่งนักวิจัยไม่เคยจินตนาการว่ารัฐสภาจะยอมให้สิ่งนั้นเกิดขึ้นได้ และนักวิจัยก็ได้สร้างแบบจำลองของตนเองขึ้นมาเหมือนกัน หากนโยบายขององค์กรพิทักษ์สิ่งแวดล้อม (EPA) มีการปฏิบัติตามอย่างจริงจังและหากสหรัฐไม่ได้รู้สึกผ่อนคลายจากข้อเรียกร้องของ RFS2 เพื่อชดเชยการผลิตเอทานอลเกณฑ์ต่ำจากแป้งภายในประเทศ การนำเข้าจากบราซิลคาดว่าจะสูงถึง 13 พันล้านแกลลอนซึ่งเกือบเท่ากับกำลังการผลิตเอทานอลจากข้าวโพดของสหรัฐในปัจจุบัน
สถานการณ์ที่สามมีโอกาสมากที่จะเกิดขึ้น หากองค์กรพิทักษ์สิ่งแวดล้อม (EPA) ตัดสินใจที่จะช่วยเอทานอลข้าวโพดของสหรัฐเพื่อเติมเต็มช่องว่างจากการขาดแคลนแป้งแม้จะมีผลด้านสิ่งแวดล้อมเพียงน้อยนิดอีกทั้งยังมีค่าใช้จ่ายทางสังคมสูงในแง่ของราคาอาหาร รูปแบบของโครงการความร่วมมือระหว่าง FAOและ OECD คือ หนึ่งโครงการจะสามารถเพิ่มความต้องการข้าวโพดสูงถึง 35 % และราคาข้าวโพดเพิ่มสูงขึ้นถึง 16 % ทั่วโลก

แต่ความวิปริตที่สุดคือ การค้าเอทานอลเพื่อเอทานอลระหว่างสหรัฐอเมริกาและบราซิล ภายใต้สถานการณ์สมมติพื้นฐานของ FAO-OECD บราซิลจะต้องนำเข้าเอทานอลข้าวโพดจากประเทศสหรัฐอเมริกาถึง 2 พันล้านแกลลอน ทำไมถ้าบราซิลเป็นประเทศที่ส่งออกเอทานอลรายใหญ่ที่สามารถผลิตเอทานอลที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้มากขึ้นและอย่างยั่งยืนเพื่อชดเชยจำนวนเอทานอลที่ขาดภายในประเทศเนื่องจากการส่งออกไปยังสหรัฐและเพื่อตอบสนองความต้องการเชื้อเพลิงชีวภาพภายในประเทศที่เพิ่มขึ้นจากการขยายตัวของรถยนต์ที่สามารถปรับเปลี่ยนเชื้อเพลิงได้ บราซิลยอมที่จะใช้เอทานอลข้าวโพดเกรดต่ำของสหรัฐหากบราซิลสามารถแลกขายเอทานอลจากน้ำตาลราคาสูงให้สหรัฐได้ในมูลค่าที่เท่ากัน
เป็นเรื่องวิปลาสที่สหรัฐจะสามารถบรรลุเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมโดยการซื้อสินค้าคุณภาพจากประเทศอื่นไม่ใช่จากการคิดค้นเทคนิคที่ดีโดยมันสมองของคนอเมริกันเอง  ในขณะที่มองไปรอบๆประเทศเพื่อขายสินค้าที่ด้อยคุณภาพและไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมให้แก่ประเทศอื่นๆในราคาที่ถูกกว่า

กระบวนการต่อสู้ระหว่างอาหารและเชื้อเพลิงในท้ายที่สุดเชื้อเพลิงก็จะเป็นผู้ชนะ ความต้องการเอทานอลอย่างต่อเนื่องจะมีผลทำให้ราคาข้าวโพดทั่วโลกพุ่งสูงขึ้น ในรายงานร่วมของ FAO-OECD มีคำเตือนเกี่ยวกับผลกระทบอย่างรุนแรงจากเชื้อเพลิงชีวภาพต่อราคาอาหารและจะมีผลกระทบมากยิ่งขึ้นหากเกิดภัยแล้งในพื้นที่ปลูกข้าวโพดของสหรัฐฯ ทั้งนี้คาดการณ์ว่าราคาเชื้อเพลิงชีวภาพจะคงตัวหรือลดลงเพียงเล็กน้อยในปี 2012 และหลังจากนั้น แต่ราคาข้าวโพดและถั่วเหลืองจะถีบตัวสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์และโลกกำลังจับตามองราคาน้ำมันซึ่งเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ลำดับที่สามตลอดช่วงห้าปีที่ผ่านมา เป็นที่น่าเสียดายที่พวกเขายังไม่ได้เรียนรู้และยังเชื่อว่าเป็นความคิดที่ดีที่จะนำอาหารมาใส่ในรถของเรา
ผู้ที่สนใจสามารถอ่านบทความเหล่านี้ได้ที่ 
Read more from Triple Crisis Blog.
Read more on Timothy A Wise’s work on the food crisis
Read more from GDAE’s Globalization and Sustainable Development Program

24 July 2012

การศึกษาการดูดจับคาร์บอนด้วยสาหร่ายเพื่อพาจมลงสู่ก้นมหาสมุทร

สำนักข่าวรอยเตอร์ ณ เมืองออสโลว์ รายงานผลการศึกษาโดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ โดยการเพิ่มปุ๋ยเหล็กให้มหาสมุทรเพื่อต่อสู้กับภาวะโลกร้อนเมื่อวันพุธที่ 18 กรกฎาคม 2012 ที่ผ่านมา การใส่ปุ๋ยเหล็กลงในทะเลจะช่วยลดคาร์บอนจากบรรยากาศและนำไปฝังไว้ในพื้นมหาสมุทรได้นานหลายศตวรรษ  อย่างไรก็ตามทีมงานยังไม่สามารถตอบคำถามเกี่ยวกับความเสียหายที่อาจเป็นไปได้ต่อสิ่งมีชีวิตทางทะเลได้


ผลการศึกษาตอนหนึ่งกล่าวว่า เมื่อทิ้งลงสู่มหาสมุทรเหล็กจะสามารถกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชขนาดเล็กที่พกพาความร้อนจากคาร์บอนที่ดักจับและพาดิ่งลงสู่ก้นมหาสมุทรเมื่อพืชพวกนี้ตายลง 




ในปี 2004 นักวิทยาศาสตร์ทิ้งเหล็กซัลเฟตซึ่งเป็นสารอาหารที่สำคัญสำหรับพืชทะเลมากถึงเจ็ดตันลงในมหาสมุทรใต้ซึ่งต่อมาพบว่าอย่างน้อยครึ่งหนึ่งของสาหร่ายชนิดไดอะตอมสามารถดักจับคาร์บอนที่ดูดซับความร้อนไว้และพาดิ่งจมลงสู่ด้านล่างของทะเลลึก 1,000 เมตร (หรือประมาณ 3,300 ฟุต) เมื่อสาหร่ายพวกนี้ตายลง
ทีมงานจากประเทศกว่า 12 ประเทศรายงานไว้ในวารสาร Nature ว่า "สาหร่ายทะเลชนิดไดอะตอมที่ได้รับธาตุเหล็กจะยึดจับคาร์บอนไว้อย่างไม่มีกำหนด นานนับเป็นศตวรรษในน้ำก้นมหาสมุทรซึ่งจะกลายเป็นดินตะกอนในที่สุด"



การฝังคาร์บอนในมหาสมุทรจะช่วยต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากการสะสมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศที่นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่าจะเพิ่มอุณหภูมิและทำให้เกิดน้ำท่วมมากขึ้น โคลนถล่ม ภัยแล้งและระดับน้ำทะเลที่สูงกว่าเดิม


การศึกษานี้เป็นหลักฐานที่น่าเชื่อชิ้นแรกที่แสดงว่าคาร์บอนสามารถดูดซับโดยสาหร่ายและจมลงสู่ก้นมหาสมุทร  แต่ยังมีข้อกังขาเกี่ยวกับการให้ปุ๋ยแก่มหาสมุทรที่ยังคงมีอยู่คือ คาร์บอนที่ไม่จมและยังคงอยู่ในชั้นบนของมหาสมุทรจะสามารถผสมกลับสู่อากาศได้หรือไม่



การศึกษาก่อนหน้าหน้านี้นับเป็นโหลๆแสดงให้เห็นว่าฝุ่นเหล็กสามารถช่วยกระตุ้นการขยายพันธุ์ของสาหร่ายทะเล แต่ไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัดว่ามันจะจมลงสู่ก้นทะเลหรือไม่
ในปัจจุบันการทดลองขนาดใหญ่ที่มีการให้ปุ๋ยในมหาสมุทรโดยใช้เหล็กถูกระงับโดยอนุสัญญานานาชาติลอนดอนว่าด้วยการทิ้งของในทะเลเนื่องด้วยหวาดกลัวต่อผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น


Victor Smetacek ผู้นำทีมวิจัย แห่งสถ​​าบันอัลเฟรดเวเจเนอร์ในประเทศเยอรมนีกล่าวกับรอยเตอร์ว่า "ผมหวังว่าผลการศึกษาเหล่านี้จะแสดงให้เห็นถึงการทดลองที่มีประโยชน์นี้"


เขาให้ความเห็นว่าการให้ปุ๋ยแก่มหาสมุทรควรจะควบคุมดูแลโดยสหประชาชาติและไม่ควรมีสิทธิ์ได้รับคาร์บอนเครดิตภายใต้สนธิสัญญาของสหประชาชาติ และบริษัทเอกชนไม่ควรได้รับอนุญาตให้ดำเนินการทดสอบนี้เองเพื่อให้มั่นใจว่าการทดสอบมีการกำกับดูแลที่เหมาะสมอย่างแท้จริง


แม้ว่าการให้ปุ๋ยแก่มหาสมุทรจะเป็นหนึ่งในบรรดาเทคนิคแนะนำสำหรับการชะลอการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เรียกว่า "วิศวกรรมทางภูมิศาสตร์" ยังคงมีความเป็นไปได้อื่น ๆ ได้แก่ การสะท้อนแสงแดดด้วยกระจกยักษ์ขนาดใหญ่ในอวกาศ


เคน บัสเลอร์ จากสถาบันสมุทรศาสตร์วูดส์โฮล ประเทศสหรัฐอเมริกาได้เขียนความเห็นของเขาในวารสาร Nature ว่า "นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่เห็นด้วยที่ว่ายังห่างไกลที่จะแนะนำให้ใส่ปุ๋ยเหล็กลงในมหาสมุทรเพื่อใช้เป็นเครื่องมือทางวิศวกรรมภูมิศาสตร์" แต่หลายคนคิดว่าควรมีการทดลองที่ใหญ่กว่าและถูกต้องต่อไปเพื่อดูว่าเทคโนโลยีดังกล่าวสามารถใช้งานได้จริง

16 July 2012

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของยูเออีได้รับใบรับรองด้านสิ่งแวดล้อมแล้ว

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานวันนี้(16 ก.ค. 2012) ว่า- บรรษัทพลังงานนิวเคลียร์อีมิเรตส์ (Emirates Nuclear Energy Corporation, ENEC) แถลงข่าวเมื่อวันอาทิตย์ที่ 15 ก.ค. 2012 ว่าหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมของอาบูดาบีอนุมัติแผนสำหรับโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์แห่งแรกของประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์แล้ว แต่บรรษัทยังไม่ได้รับใบอนุญาตก่อสร้าง

ใบรับรองด้านสิ่งแวดล้อมจากการหน่วยงานกำกับด้านสิ่งแวดล้อมเป็นหนึ่งในหลายใบอนุมัติที่จำเป็นสำหรับการเริ่มต้นก่อสร้างเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 2 หน่วยของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ณ เมืองบรากาห์ (Brakah)

นายโมฮาแหม็ด อัลแฮมมาดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ ENEC กล่าวว่า "พลังงานนิวเคลียร์เป็นหนึ่งในหลายวิธีที่อาบูดาบีจะแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่จะพิทักษ์สิ่งแวดล้อม และพลังงานนิวเคลียร์ไม่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนเลยแม้แต่น้อยในระหว่างการดำเนินงาน"

ตอนหนึ่งในการแถลงข่าวเขากล่าวว่า "ในปี 2020 จะมีพลังงานนิวเคลียร์จากโรงไฟฟ้าสี่โรงเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าคาร์บอนต่ำ 5,600 เมกะวัตต์ เพื่อป้อนเข้าสู่ระบบสายส่งพลังงานไฟฟ้าแห่งชาติ" การเพิ่มโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ดังกล่าวจะสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้ประมาณ 12 ล้านตันต่อปี

ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า ยูเออี (UAE) เป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อหัวสูงที่สุดในโลก ในเดือนธันวาคม 2009 ประเทศเกาหลีนำโดย Electric Power Corporation (KEPCO) ชนะการประมูลสัญญาก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จำนวน 4 โรงในประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งมีขึ้นตามนโยบายของรัฐบาลเพื่อตอบสนองความต้องการด้านพลังงานไฟฟ้าที่เพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของเกาหลีพัฒนาจากเทคโนโลยีโรงไฟฟ้าต้นแบบของสหรัฐอเมริกา
ผลจากอุบัติเหตุนิวเคลียร์ ณ เมือง ฟูกูชิมา ประเทศญี่ปุ่นเมื่อเดือนมีนาคมปีที่แล้วเนื่องมาจากแผ่นดินไหวใหญ่และคลื่นสึนามิ ทำให้บางประเทศต้องพิจารณาความทะเยอทะยานด้านนิวเคลียร์ของพวกเขาใหม่ ยูเออีมีความต้องการที่จะลดการพึ่งพาการนำเข้าก๊าซธรรมชาติ แต่หลังจากยื่นขออนุญาตก่อสร้างเมื่อเดือนธันวาคม 2010 จนถึงขณะนี้ ENEC ยังไม่ได้รับใบอนุญาตก่อสร้างจากหน่วยงานกำกับดูแลความปลอดภัยด้านนิวเคลียร์ของรัฐบาลกลาง (Federal Authority of Nuclear Regulation, FANR)

14 June 2012

E.ON ฟ้องร้องเรียกค่าชดเชยจำนวน 8 พันล้านยูโรในความเสียหายที่เกิดจากการปิดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์




สำนักข่าวรอยเตอร์ ณ นครแฟรงค์เฟิร์ตรายงานว่า - เอจี E.ON บริษัทสาธารณูปโภคที่ใหญ่ที่สุดของเยอรมนี ฟ้องร้องเรียกค่าชดเชยจากรัฐ จำนวน 8 พันล้านยูโร (ประมาณ 10 พันล้านเหรียญสหรัฐ) เนื่องจากการตัดสินใจปิดโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ของรัฐบาลเยอรมันเมื่อปีที่ผ่านมา

ก่อนหน้านี้หนังสือพิมพ์ Frankfurter Allgemeine Zeitung รายงานเมื่อวันพุธที่ 13 มิถุนายนว่าบริษัทสาธารณูปโภคของเยอรมนีรวมทั้ง บริษัท E.ON ฟ้องร้องเรียกเงินชดเชยรวมกัน 15 พันล้านยูโรต่อความเสียหายอันเนื่องมาจากการตัดสินใจของรัฐบาล

ศาลรัฐธรรมนูญของเยอรมันรับเรื่องไว้พิจารณาและมีแผนที่จะไต่สวนมุมมองจากรัฐบาลและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ เกี่ยวกับการฟ้องร้องดังกล่าวว่ามีมูลเหตุที่ฟังขึ้นหรือไม่ในสัปดาห์นี้


การตัดสินใจของรัฐบาลเยอรมันจุดประกายจากภัยพิบัติของเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่เมืองฟูกูชิมาประเทศญี่ปุ่น เยอรมนีปิดเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ลงแปดเครื่องเมื่อฤดูร้อนที่ผ่านมาและเร่งกำหนดเวลาปิดเครื่องปฏิกรณ์ที่เหลือภายในปี 2022

โฆษกของ E.ON กล่าวว่า บริษัทคิดว่าจะชนะคดีและได้รับเงินชดเชยตามที่เรียกร้อง ในขณะที่โฆษกหญิงของ RWE บริษัทคู่แข่งปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็นในจำนวนเงินที่เรียกร้องในขณะที่คดีกำลังอยู่ในการพิจารณาของศาล ก่อนหน้านั้น RWE เคยกล่าวว่าผลกระทบจากการตัดสินใจที่จะปิดโรงไฟฟ้​​านิวเคลียร์ทำให้บริษัทของตนสูญกำไรสูงถึง 1000 ล้านยูโร


บริษัท E.ON เน้นย้ำเสมอว่าการฟ้องร้องดังกล่าวมิได้มีขึ้นเพื่อต่อต้านนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งเน้นด้านพลังงานทดแทนมากกว่าพลังงานนิวเคลียร์และเชื้อเพลิงฟอสซิล แต่ด้วยเชื่อว่าทรัพย์สินของตนถูกละเมิด

นอกจากนี้ผู้ประกอบการโรงไฟฟ้​​านิวเคลียร์ยังโต้แย้งต่อแผนการของรัฐบาลที่จะยังคงเรียกเก็บภาษีน้ำมันเชื้อเพลิงใหม่สำหรับปริมาณการผลิตที่พวกเขาได้คาดการณ์ไว้แต่บัดนี้สูญหายไป

พวกเขาสูญเสียเช่นกันเพราะจะต้องซื้อพลังงานบางส่วนจากตลาดเพื่อตอบสนองข้อผูกมัดที่พวกเขาไม่สามารถตอบสนองได้ทันทีที่โรงไฟฟ้​​านิวเคลียร์ถูกปิดลงและจะต้องเผชิญกับค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนที่สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้

ผู้ประกอบการโรงไฟฟ้​​านิวเคลียร์ของเยอรมนีอีกสองบริษัทได้แก่ บริษัท Vattenfall ยุโรป ซึ่งเป็นกลุ่มบริษัทสาธารณูปโภคของสวีเดนในเยอรมนีและบรัท EnBW กล่าวว่าพวกเขายังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะทำเรื่องฟ้องร้องหรือไม่




"เรากำลังเตรียมการตัดสินใจ แต่ผลการตัดสินใจจะเป็นอย่างไร ยังไม่ทราบได้ กำหนดยื่นเรื่องฟ้องร้องจะมีขึ้นภายในปลายเดือนสิงหาคม" โฆษกของบริษัท EnBW ในรัฐ Baden Wuerttemberg กล่าว

โฆษกหญิงของ Vattenfall ยังกล่าวว่าการตัดสินใจจะต้องดำเนินการภายในกรอบเวลาที่เหมาะสม
ตามข่าวบริษัท E.ON และ RWE มีผลกำไรจากส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 2.2 และ 1.7 ตามลำดับ  

นักวิจัยค้นพบยีนที่อยู่เบื้องหลังเม็ดสีของส้มสีเลือด



 
นักวิจัยในประเทศจีน อิตาลีและอังกฤษ ค้นพบยีนที่ทำให้เกิดเม็ดสีของส้มสีเลือดและการควบคุมการทำงานของยีน ผลการวิจัยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร The Plant Cell การค้นพบครั้งนี้มีส่วนช่วยในการพัฒนาด้านสุขภาพ การส่งเสริมส้มสีเลือด และนำไปสู่การแก้ปัญหาใหม่สำหรับคนไข้ที่ได้รับความทุกข์ยากจากโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคอ้วนและโรคเบาหวาน 

การศึกษานี้ได้รับทุนสนับสนุนจากกรอบแผนงานฉบับที่ 6 ของอียูภายใต้หัวข้อคุณภาพอาหารและความปลอดภัย และทุนสนับสนุนจากกรอบแผนงานฉบับที่ 7 ของอียูภายใต้หัวข้อ อาหาร การเกษตร การประมง และเทคโนโลยีชีวภาพ

การวิจัยนำโดยนักวิจัยจากศูนย์จอห์น อินเนส ในประเทศอังกฤษ รายงานว่าปกติส้มสีเลือดต้องการอากาศเย็นเป็นตัวเร่งเพื่อพัฒนาเม็ดสีแดง ดังนั้นพื้นที่แถวเทือกเขาเอทน่าในประเทศอิตาลีจึงเป็นสถานที่ที่เหมาะสมที่สุดในการปลูกส้มชนิดนี้ ซึ่งในเวลากลางวันมีแสงแดดและเวลากลางคืนมีอากาศเย็น กลางวันที่มีแดด และอบอุ่นในเวลากลางคืนก็เช่นเดียวกันเป็นสภาวะที่ดีที่สุดในการผลิตส้มสีเลือดที่พบในเขตพื้นที่ของอิตาลี ในการศึกษานี้นักวิจัยตั้งชื่อยีนที่มีส่วนสำคัญในการเกิดเม็ดสีของส้มสีเลือดว่า รูบี้ (Ruby) ซึ่งมีสีแดงทับทิม

ศาสตราจารย์ แคทธี มาร์ติน จากศูนย์จอห์น อินเนส กล่าวว่า ส้มสีเลือดมีเม็ดสีที่เกิดโดยธรรมชาติซึ่งมีส่วนสัมพันธ์กับการพัฒนาสุขภาพของหลอดเลือดหัวใจ การควบคุมโรคเบาหวาน และการลดโรคอ้วน ความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะของส้มทำให้เข้าใจเรื่องพันธุวิศวกรรมเพื่อปลูกส้มสีเลือดในสภาพอากาศที่อบอุ่นมากขึ้น

เม็ดสีที่ทำให้ผลไม้เป็นสีแดง ม่วงและฟ้าคือ สารแอนโธไซยานินและฟราวโวนอยส์ จากการศึกษาก่อนหน้านั้นของงานวิจัยเกี่ยวกับอาหารที่มีสารแอนโธไซยานินสูง ระบุว่าการดื่มน้ำส้มจากส้มสีเลือดจะลดภาวการณ์ที่เซลล์ถูกทำลายโดยอนุมูลอิสระเนื่องจากความเครียด (Oxidative stress) ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน และป้องกันการทำลายดีเอ็นเอจากสภาวะออกซิเดชันและลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ
           
นักวิจัยแยกยีนรูบี้ออกจากส้มสีเลือดและส้มสีทอง พบว่ายีนเม็ดสีนี้ถูกควบคุมโดยยีนที่สามารถย้ายจากโครโมโซมหนึ่งไปอีกโครโมโซมหนึ่งได้ (Mobile genetic elements) ซึ่งถูกกระตุ้นโดยความเครียดจากความเย็น
 
ส้มสีเลือดเป็นอนุพันธุ์ของส้มหวานที่ปลูกกันทั่วโลก การศึกษาล่าสุดยังยืนยันว่าส้มหวานเกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างส้มโอกับส้มแมนดาริน


 

ที่มา: cordis news 10 เมษายน 2555