08 June 2012

ผลการศึกษาของยุโรปเกี่ยวกับอุบัติเหตุร้ายแรงทางนิวเคลียร์





การศึกษาวิจัยนำโดย โจ ลีลิเวอล์ด ผู้อำนวยการสถาบันมัคซ์พลังค์ด้านเคมี ในไมน์ หลังเกิดเหตุที่ฟูกูชิมา มีคำถามว่าโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์แบบนั้นขึ้นอีกมีหรือไม่   และเราสามารถคำนวณฝุ่นผงกัมมันตรังสีโดยใช้แบบจำลองบรรยากาศได้อย่างแท้จริงหรือไม่” 


ผลจากการศึกษาพบว่าเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์หนึ่งแห่งจากจำนวนเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ทั้งหมดทั่วโลกจะมีโอกาสเกิดการหลอมละลายขึ้นได้ครั้งหนึ่งในช่วงเวลา 10-20 ปี ปัจจุบันมีเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่กำลังดำเนินงานอยู่ทั้งหมด 44 แห่งและมากกว่า 60 แห่งอยู่ในแผนการดำเนินงาน



 นักวิจัยใช้วิธีการคำนวณอย่างง่ายๆเพื่อคำนวณโอกาสในการหลอมละลายของเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ โดยนำเอาจำนวนชั่วโมงการปฏิบัติงานของเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ทั่วโลกตั้งแต่เริ่มการปฏิบัติงานจนถึงปัจจุบันมาหารด้วยจำนวนเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่เกิดการหลอมละลายจริง   เมื่อนำเอาจำนวนชั่วโมงการปฏิบัติงานเท่ากับ 14,500 ปี และจำนวนเตาปฏิกรณ์ที่หลอมละลายเท่ากับ 4 หนึ่งในนั้นเกิดขึ้นที่เมืองเชอร์โนบิล และอีกสามครั้งเกิดขึ้นที่เมืองฟูกูชิมา









ตามมาตรระหว่างประเทศว่าด้วยเหตุการณ์ทางนิวเคลียร์และรังสี (International Nuclear and Radiological Event Scale, INES) กำหนดว่าระยะการทำงานทุกๆ 3,625 ปี จะมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงทางนิวเคลียร์ขึ้นหนึ่งครั้งตามการจัดลำดับความรุนแรงของเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาความปลอดภัยด้านนิวเคลียร์

แม้ว่าจะทบเวลาเป็น 5,000 ปี เพื่อใช้ในการคำนวณ ความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติภัยร้ายแรงอันเนื่องมาจากการหลอมละลายของแท่งเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ของเตาปฏิกรณ์ที่ไม่มีอาคารคลุมก็ยังคงสูงกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้โดยคณะกรรมาธิการกำกับดูแลด้านนิวเคลียร์ของสหรัฐอเมริกาเมื่อปี ค.ศ. 1990 ว่ามีโอกาสเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงทางนิวเคลียร์ขึ้นในทุกๆ 1 ล้านปี ถึง 200 เท่า

           
อย่างไรก็ตามนักวิจัยจากไมน์ไม่ได้แยกแยะอายุการใช้งานและชนิดของเตาปฏิกรณ์และไม่ได้ระบุว่าเตาปฏิกรณ์เหล่านั้นตั้งอยู่ในพื้นที่เสี่ยง เช่น พื้นที่เสี่ยงต่อแผ่นดินไหว ที่สำคัญไม่มีใครคาดคิดว่าจะเกิดอุบัติเหตุของเตาปฎิกรณ์นิวเคลียร์ในญึ่ปุ่นมาก่อน 



การนำอุบัติเหตุ ณ เมืองฟูกูชิมามาใช้ในการคำนวณอาจเป็นจุดอ่อนของการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ทำให้ผลลัพธ์จากการคำนวณในลักษณะดังกล่าวรุนแรงเกินความเป็นจริงและส่งผลให้ความน่าเชื่อถือของผลการศึกษาดังกล่าวลดลง อีกทั้งยังมีข้อเท็จจริงที่มิได้กล่าวไว้ในที่นี้อีกคือ หลังจากอุบัติเหตุที่เมืองเชอร์โนบิลแล้วไม่มีการสร้างหรือใช้งานเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ไม่มีอาคารคลุมอีกเลย

No comments:

Post a Comment