19 January 2012

โลกตกอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อวิกฤติอาหารจึงต้องการการปฏิรูปที่ลึกกว่านี้

ในปี ๒๐๐๗-๒๐๐๘ วิกฤติราคาอาหารเป็นตัวกระตุ้นสำคัญในการปฏิรูปนโยบายของรัฐบาล  แต่ในขณะนั้นรัฐบาลยังมิได้หาสาเหตุของปัญหา รายงานใหม่จากสถาบันเพื่อการเกษตรและนโยบายการค้าระหว่างประเทศ (Institute for Agriculture and Trade Policy, IATP) และสถาบันเพื่อการพัฒนาโลกและสิ่งแวดล้อม (Global Development and Environment Institute (GDAE) ณ มหาวิทยาลัยทัฟส์  ในมลรัฐแมสซาชูเซตส์  เขียนโดย ทิโมธี เอ. ไวส์และโซเฟีย เมอร์ฟี เตือนว่า ชุมชนระหว่างประเทศกำลังหลีกเลี่ยงการปฏิรูปโครงสร้างเชิงลึกทำให้โลกตกอยู่ในภาวะวิกฤติที่ร้ายแรงด้านอื่นซึ่งจะส่งผลให้ราคาอาหารของโลกถีบตัวสูงขึ้น





ในรายงาน เรื่อง “การแก้ไขวิกฤติอาหาร: ประเมินผลการปฏิรูปนโยบายโลกตั้งแต่ปี ๒๐๐๗” เป็นการประเมินนโยบายและแผนการดำเนินงานตั้งแต่ปี ๒๐๐๗ อย่างเข้มข้นโดยกลุ่มคนจากองค์กรระหว่างประเทศ ๔ กลุ่ม ได้แก่ องค์กรสหประชาชาติ กลุ่ม จี-๒๐ ธนาคารโลกและผู้บริจาคระหว่างประเทศ ผู้เขียนเห็นด้วยกับการกลับไปให้ความสนใจต่อการพัฒนาภาคการเกษตร ทั้งเกษตรกรรายย่อยและสตรี แต่เตือนว่านโยบายการปฏิรูปอาจไม่เพียงพอต่อสถานการณ์ปัจจุบันของโลกและความต้องการของโลกในอนาคตอย่างยั่งยืน ไวส์และเมอร์ฟีใส่ความรับผิดชอบให้แก่รัฐบาลที่มีฐานะมั่งคั่งเพื่อรับผิดชอบต่อนโยบายการเกษตรของตนซึ่งจะส่งผลต่อความเปราะบางและความผันผวนของราคาอาหารทั่วโลก และสนับสนุนให้มีการลงทุนในประเทศที่กำลังพัฒนาเพื่อเพิ่มการพัฒนาด้านการเกษตรและลดการพึ่งพาอาหารนำเข้าจากต่างประเทศ
         ไวส์และเมอร์ฟีเรียกร้องความสนใจอย่างเร่งด่วนใน ๓ ประเด็น
·       ลดการเก็งกำไรในตลาดสินค้าโภคภัณฑ์: เนื่องด้วยการปฏิรูปมีเพียงจำกัด ทำให้ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์มีราคาแกว่งตัวขึ้นลงสูงมาก ข้อเสนอที่จะใช้อาหารสำรองเพื่อลดความผันผวนได้รับการปฏิเสธเป็นส่วนใหญ่
·       หยุด “การกว๊านซื้อที่ดิน”: ในขณะที่ทรัพยากรในการผลิตอาหารมีมูลค่าสูงขึ้น ประเทศที่มีทรัพยากรจำกัดและนักลงทุนเก็งกำไรหันไปกว๊านซื้อหรือเช่าที่ดินเพื่อการเกษตรหลายล้านเอเคอร์ในทวีปแอฟริกาและภูมิภาคอื่นๆที่กำลังพัฒนา ตลาดใหม่ที่ไม่อยู่ภายใต้การควบคุมเป็นการประนีประนอมความสามารถในการผลิตอาหารระยะยาวของประเทศกำลังพัฒนาในขณะที่ทอดทิ้งผู้ที่ทำงานดั้งเดิมในที่ดินของตน
·       ลดการขยายการใช้พื้นที่เกษตรไปใช้ปลูกพืชเพื่อผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ: แรงจูงใจจากรัฐบาลทำให้มีการขยายการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพอย่างมากมายในประเทศอุตสาหกรรมที่เอื้อให้ความต้องการถีบตัวสูงอย่างมากและส่งผลให้ราคาสินค้าเกษตรปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ผู้ที่สนใจสามารอ่านรายงานฉบับสมบูรณ์ได้ที่ http://www.ase.tufts.edu/gdae/policy_research/resolving_food_crisis.html

No comments:

Post a Comment