04 January 2011

ประเทศจีนประกาศความก้าวหน้าในเทคโนโลยีนิวเคลียร์

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า สถานีโทรทัศน์แห่งประเทศจีนรายงานเมื่อวันจันทร์ที่ 4 ม.ค. 2554 ว่านักวิทยาศาสตร์จีนประกาศความก้าวหน้าในการพัฒนาเทคโนโลยีการแยกแท่งเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้แล้วซึ่งอาจแก้ปัญหาอุปทานยูเรเนียมของจีนได้

การพัฒนาและทดสอบเทคโนโลยีดังกล่าวมีขึ้น ณ โรงงานหมายเลข 404 ของบรรษัทนิวเคลียร์แห่งชาติจีน ซึ่งตั้งอยู่ห่างไกลในทะเลทรายโกบี จังหวัดกานซู ช่วยนำเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้แล้วนำกลับมาใช้ใหม่ โดยคาดว่าจะสามารถเพิ่มอัตราการใช้งานยูเรเนียมที่โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ได้ถึง 60 เท่า


เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของจีนยืนเฝ้าทางเข้าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ใน Qinshan ในจังหวัด Zhejiang ของจีน ถ่ายเมื่อ 10 มิถุนายน 2005 ภาพข่าว : รอยเตอร์ โดย Reinhard Krause



"ด้วยเทคโนโลยีใหม่ แหล่งแร่ยูเรเนียมของจีนที่ตรวจพบแล้วจะสามารถนำมาใช้ได้นานถึง 3,000 ปี," สถานีโทรทัศน์แห่งประเทศจีนรายงาน


จีนรวมทั้งฝรั่งเศส, สหราชอาณาจักรและรัสเซียให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ต่อกระบวนการแยกแท่งเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้แล้ว เนื่องด้วยเป็นหนึ่งในวิธีการจัดการเชื้อเพลิงที่ใช้แล้วซึ่งมีกัมมันตภาพรังสีสูงนอกจากนี้ยังเป็นแหล่งเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ในอนาคตอีกด้วย

อย่างไรก็ตามมีข้อโต้แย้งจากนักวิทยาศาสตร์อิสระว่าการประยุกต์ใช้ในเชิงพาณิชย์ของกระบวนการแยกและนำมาใช้ใหม่ของแท่งเชื้อเพลิงใช้แล้วอาจมีอุปสรรคในแง่ของค่าใช้จ่าย เทคโนโลยี ความเสี่ยงต่อการแพร่ขยายด้านนิวเคลียร์และความท้าทายด้านความปลอดภัย

จีนมีทรัพยากรแร่ยูเรเนียมที่ได้รับการพิสูจน์แล้ว 171,400 ตัน ส่วนใหญ่กระจายอยู่ในแปดมณฑล ได้แก่ เจียงซี, กวงดง, หูหนาน, ซินเจียง, มองโกเลียตอนใน, ชานซี, มณฑลเหลียวหนิงและมณฑลยูนนาน

ประเทศจีนวางแผนที่จะผลักดันโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดใหญ่ ในความพยายามที่จะปลดระวางการใช้เชื้อเพลิงถ่านหินซึ่งเป็นเชื้อเพลิงฟอสซิลที่สกปรกที่สุด ปัจจุบันประเทศจีนมีเครื่องปฏิกรณ์ที่กำลังใช้งาน 12 เครื่อง กำลังการผลิตกระแสไฟฟ้ารวม 10.15 กิกะวัตต์  

จีนกำหนดเป้าหมายอย่างเป็นทางการว่าจะขยายกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์  เป็น 40 กิกะวัตต์ (GW) ในปี 2020 ทั้งนี้รัฐบาลอาจเพิ่มเป้าหมายการขยายตัวเป็น 2 เท่าหรือประมาณ 80 GW เร็วขึ้น เนื่องด้วยเป็นหนึ่งในการแก้ปัญหาที่เป็นไปได้มากที่สุดในการบรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซของประเทศ


ดังนั้นจีนจึงจำเป็นต้องหาแหล่งพลังงานให้ได้มากกว่าร้อยละ 60 ของยูเรเนียมที่มีอยู่จากต่างประเทศ สำหรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ภายในปี 2020 แม้ว่าประเทศจะรุกไปข้างหน้ากับแผนการขยายธุรกิจนิวเคลียร์อย่างค่อยเป็นค่อยไปก็ตาม นักวิจัยจีนกล่าว
 
แปลความโดย อุษา กัลลประวิทย์

แหล่งข้อมูล: http://planetark.org/wen/60750 title: China Boasts Breakthrough In Nuclear Technology

No comments:

Post a Comment