24 July 2012

การศึกษาการดูดจับคาร์บอนด้วยสาหร่ายเพื่อพาจมลงสู่ก้นมหาสมุทร

สำนักข่าวรอยเตอร์ ณ เมืองออสโลว์ รายงานผลการศึกษาโดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ โดยการเพิ่มปุ๋ยเหล็กให้มหาสมุทรเพื่อต่อสู้กับภาวะโลกร้อนเมื่อวันพุธที่ 18 กรกฎาคม 2012 ที่ผ่านมา การใส่ปุ๋ยเหล็กลงในทะเลจะช่วยลดคาร์บอนจากบรรยากาศและนำไปฝังไว้ในพื้นมหาสมุทรได้นานหลายศตวรรษ  อย่างไรก็ตามทีมงานยังไม่สามารถตอบคำถามเกี่ยวกับความเสียหายที่อาจเป็นไปได้ต่อสิ่งมีชีวิตทางทะเลได้


ผลการศึกษาตอนหนึ่งกล่าวว่า เมื่อทิ้งลงสู่มหาสมุทรเหล็กจะสามารถกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชขนาดเล็กที่พกพาความร้อนจากคาร์บอนที่ดักจับและพาดิ่งลงสู่ก้นมหาสมุทรเมื่อพืชพวกนี้ตายลง 




ในปี 2004 นักวิทยาศาสตร์ทิ้งเหล็กซัลเฟตซึ่งเป็นสารอาหารที่สำคัญสำหรับพืชทะเลมากถึงเจ็ดตันลงในมหาสมุทรใต้ซึ่งต่อมาพบว่าอย่างน้อยครึ่งหนึ่งของสาหร่ายชนิดไดอะตอมสามารถดักจับคาร์บอนที่ดูดซับความร้อนไว้และพาดิ่งจมลงสู่ด้านล่างของทะเลลึก 1,000 เมตร (หรือประมาณ 3,300 ฟุต) เมื่อสาหร่ายพวกนี้ตายลง
ทีมงานจากประเทศกว่า 12 ประเทศรายงานไว้ในวารสาร Nature ว่า "สาหร่ายทะเลชนิดไดอะตอมที่ได้รับธาตุเหล็กจะยึดจับคาร์บอนไว้อย่างไม่มีกำหนด นานนับเป็นศตวรรษในน้ำก้นมหาสมุทรซึ่งจะกลายเป็นดินตะกอนในที่สุด"



การฝังคาร์บอนในมหาสมุทรจะช่วยต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากการสะสมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศที่นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่าจะเพิ่มอุณหภูมิและทำให้เกิดน้ำท่วมมากขึ้น โคลนถล่ม ภัยแล้งและระดับน้ำทะเลที่สูงกว่าเดิม


การศึกษานี้เป็นหลักฐานที่น่าเชื่อชิ้นแรกที่แสดงว่าคาร์บอนสามารถดูดซับโดยสาหร่ายและจมลงสู่ก้นมหาสมุทร  แต่ยังมีข้อกังขาเกี่ยวกับการให้ปุ๋ยแก่มหาสมุทรที่ยังคงมีอยู่คือ คาร์บอนที่ไม่จมและยังคงอยู่ในชั้นบนของมหาสมุทรจะสามารถผสมกลับสู่อากาศได้หรือไม่



การศึกษาก่อนหน้าหน้านี้นับเป็นโหลๆแสดงให้เห็นว่าฝุ่นเหล็กสามารถช่วยกระตุ้นการขยายพันธุ์ของสาหร่ายทะเล แต่ไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัดว่ามันจะจมลงสู่ก้นทะเลหรือไม่
ในปัจจุบันการทดลองขนาดใหญ่ที่มีการให้ปุ๋ยในมหาสมุทรโดยใช้เหล็กถูกระงับโดยอนุสัญญานานาชาติลอนดอนว่าด้วยการทิ้งของในทะเลเนื่องด้วยหวาดกลัวต่อผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น


Victor Smetacek ผู้นำทีมวิจัย แห่งสถ​​าบันอัลเฟรดเวเจเนอร์ในประเทศเยอรมนีกล่าวกับรอยเตอร์ว่า "ผมหวังว่าผลการศึกษาเหล่านี้จะแสดงให้เห็นถึงการทดลองที่มีประโยชน์นี้"


เขาให้ความเห็นว่าการให้ปุ๋ยแก่มหาสมุทรควรจะควบคุมดูแลโดยสหประชาชาติและไม่ควรมีสิทธิ์ได้รับคาร์บอนเครดิตภายใต้สนธิสัญญาของสหประชาชาติ และบริษัทเอกชนไม่ควรได้รับอนุญาตให้ดำเนินการทดสอบนี้เองเพื่อให้มั่นใจว่าการทดสอบมีการกำกับดูแลที่เหมาะสมอย่างแท้จริง


แม้ว่าการให้ปุ๋ยแก่มหาสมุทรจะเป็นหนึ่งในบรรดาเทคนิคแนะนำสำหรับการชะลอการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เรียกว่า "วิศวกรรมทางภูมิศาสตร์" ยังคงมีความเป็นไปได้อื่น ๆ ได้แก่ การสะท้อนแสงแดดด้วยกระจกยักษ์ขนาดใหญ่ในอวกาศ


เคน บัสเลอร์ จากสถาบันสมุทรศาสตร์วูดส์โฮล ประเทศสหรัฐอเมริกาได้เขียนความเห็นของเขาในวารสาร Nature ว่า "นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่เห็นด้วยที่ว่ายังห่างไกลที่จะแนะนำให้ใส่ปุ๋ยเหล็กลงในมหาสมุทรเพื่อใช้เป็นเครื่องมือทางวิศวกรรมภูมิศาสตร์" แต่หลายคนคิดว่าควรมีการทดลองที่ใหญ่กว่าและถูกต้องต่อไปเพื่อดูว่าเทคโนโลยีดังกล่าวสามารถใช้งานได้จริง

No comments:

Post a Comment