26 July 2012

บนความว่างเปล่า: นโยบายเอทานอลของสหรัฐฯมีขึ้นเพื่อบรรลุข้อสรุปที่ไร้ตรรกะ


บทความนี้ถอดความจากบทวิเคราะห์นโยบายด้านเอทาบอลของประเทศสหรัฐอเมริกาโดย Timothy A. Wise ซึ่งพบความผิดปกติจากรายงานแนวโน้มใหม่ทางการเกษตรของ FAO และ OECD เกี่ยวกับคาดการณ์ปริมาณการซื้อขายเอทานอลที่เพิ่มขึ้น- การซื้อขายเอทานอลเพื่อเอทานอลระหว่างสหรัฐอเมริกาและบราซิลประเทศผู้ผลิตเอทานอลที่ดีที่สุดของโลกภายในปี 2021 ซึ่งตั้งเป้าไว้สูงถึง 6.3 พันล้านแกลลอนต่อปี และทั้งหมดเพื่อเหตุผลด้านสิ่งแวดล้อมเพียงประการเดียว ไม่มีแม้แต่หยดเพื่อช่วยมนุษยชาติหรือดาวพระเคราะห์ดวงนี้

ทำไมประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งขณะนี้ใช้พื้นที่การเกษตรสูงถึง 40% ในการปลูกข้าวโพดเพื่อใช้ในการผลิตเอทานอลจึงต้องนำเข้าเอทานอลจากบราซิลสูงถึง 4 พันล้านแกลลอน ในขณะที่มีการคาดการณ์ว่าบราซิลจะนำเข้าเอทานอลจากสหรัฐอเมริกามากถึง 2 พันล้านแกลลอนในเวลาเดียวกัน
นี่คือ เกมส์ด้านเชื้อเพลิงชีวภาพที่สหรัฐฯ ต้องเล่นหรืออย่างไร
สหรัฐผ่านมาตรฐานเชื้อเพลิงทดแทน ซึ่งรู้จักกันดีในนามของ RFS2 (Renewable Fuel Standard) ในปี 2007 ซึ่งมีการบังคับให้ใช้เชื้อเพลิงทดแทนสูงถึง 36 พันล้านแกลลอนในปี 2022 ร่วมกับเชื้อเพลิงชีวภาพอื่นๆ เชื้อเพลิงชีวภาพแบบดั้งเดิมหรือรุ่นแรก เช่น เอทานอลจากข้าวโพดซึ่งมีประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมจำกัด ด้วยลดก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas, GHG) ได้เพียง 20 ด้วยความชาญฉลาดของสภาคองเกรสจึงออกข้อบังคับว่าเป้าหมาย 36 พันล้านแกลลอนสามารถบรรลุได้โดยใช้ "เชื้อเพลิงชีวภาพขั้นสูง" ที่มีคะแนนก๊าซเรือนกระจก 50 % หรือดีกว่าในแง่ของการลดก๊าซเรือนกระจก

ในบทวิเคราะห์ดังกล่าวผู้เขียนเปิดเผยว่าการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพขั้นสูงในประเทศสหรัฐอเมริกายังไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร โดยคาดว่าจะมีผลตอบแทนเพียงน้อยนิดจากไบโอดีเซลที่ทันสมัย​​ซึ่งเป้าหมายยังคงห่างไกลจากความเป็นจริงแต่เชื่อว่าเป็นไปได้ ส่วนที่เหลือได้มาจากการพัฒนาเอทานอลจากแป้ง จึงกลับกลายเป็นว่ามีการทุ่มเงินทั้งหมดเพื่อการวิจัยและพัฒนาการผลิตเอทานอลจากข้าวโพด ซึ่งได้รับการอัดฉีดด้วยเงินอุดหนุนและแรงจูงใจอย่างมหาศาลจากสภาคองเกรสส่งเสริมการปลูกข้าวโพดป้อนส่งเพื่อผลิตเป็นเชื้อเพลิงก่อนเป็นลำดับแรก ไม่มีใครคาดคิดว่าจะมีการผลิตเอทานอลจากแป้งมากมายในเร็ว ๆ นี้ แต่อาจประหลาดใจหากทราบว่า ณ จุดนี้สหรัฐผลิตเอทานอลข้าวโพดเป็นจำนวนมากและเกือบถึงขีดจำกัดทางเทคนิคที่ 15 พันล้านแกลลอนสำหรับเชื้อเพลิงชีวภาพที่ไม่ทันสมัยแล้ว

โชคดีสำหรับผู้ผลิตเอทานอลของบราซิลผู้ร่วมงานทางอ้อมของสหรัฐ เนื่องด้วยในข้อบังคับด้านเชื้อเพลิงทดแทนโดยการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพขั้นสูง "อื่น ๆ" แม้ว่าสภาคองเกรสจะถูกขาย RFS ตามสัญญาการไม่พึ่งพาพลังงานแต่บรรดา "เชื้อเพลิงชีวภาพอื่น ๆ" ไม่จำเป็นต้องผลิตในประเทศสหรัฐอเมริกา (ซึ่งสหรัฐฯสามารถจัดหามาได้โดยใช้ช่องทางองค์การค้าโลก) เอทานอลจากอ้อยของบราซิลได้รับการยอมรับว่าเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพขั้นสูงด้วยสามารถลดก๊าซเรือนกระจก(GHG) ได้ถึง 50 % แม้ว่าจะมีความกังวลใจอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับระยะเวลาที่จะมีผลกระทบด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ

ดังนั้นโครงการวิจัยร่วมระหว่าง FAO / OECD ซึ่งมีแผนการดำเนินงานจนถึงปี 2021 จึงช่วยผ่อนปรนข้อบังคับ RFS2 ของสหรัฐฯ ที่ต้องใช้เชื้อเพลิงชีวภาพทั้งหมดและเชื้อเพลิงชีวภาพขั้นสูงซึ่งสหรัฐอเมริกาจะต้องนำเข้าเอทานอลจากน้ำตาลจากบราซิลกว่า 4 พันล้านแกลลอนได้ระดับหนึ่ง
ความจริงมันอาจมากกว่านั้น ซึ่งนักวิจัยไม่เคยจินตนาการว่ารัฐสภาจะยอมให้สิ่งนั้นเกิดขึ้นได้ และนักวิจัยก็ได้สร้างแบบจำลองของตนเองขึ้นมาเหมือนกัน หากนโยบายขององค์กรพิทักษ์สิ่งแวดล้อม (EPA) มีการปฏิบัติตามอย่างจริงจังและหากสหรัฐไม่ได้รู้สึกผ่อนคลายจากข้อเรียกร้องของ RFS2 เพื่อชดเชยการผลิตเอทานอลเกณฑ์ต่ำจากแป้งภายในประเทศ การนำเข้าจากบราซิลคาดว่าจะสูงถึง 13 พันล้านแกลลอนซึ่งเกือบเท่ากับกำลังการผลิตเอทานอลจากข้าวโพดของสหรัฐในปัจจุบัน
สถานการณ์ที่สามมีโอกาสมากที่จะเกิดขึ้น หากองค์กรพิทักษ์สิ่งแวดล้อม (EPA) ตัดสินใจที่จะช่วยเอทานอลข้าวโพดของสหรัฐเพื่อเติมเต็มช่องว่างจากการขาดแคลนแป้งแม้จะมีผลด้านสิ่งแวดล้อมเพียงน้อยนิดอีกทั้งยังมีค่าใช้จ่ายทางสังคมสูงในแง่ของราคาอาหาร รูปแบบของโครงการความร่วมมือระหว่าง FAOและ OECD คือ หนึ่งโครงการจะสามารถเพิ่มความต้องการข้าวโพดสูงถึง 35 % และราคาข้าวโพดเพิ่มสูงขึ้นถึง 16 % ทั่วโลก

แต่ความวิปริตที่สุดคือ การค้าเอทานอลเพื่อเอทานอลระหว่างสหรัฐอเมริกาและบราซิล ภายใต้สถานการณ์สมมติพื้นฐานของ FAO-OECD บราซิลจะต้องนำเข้าเอทานอลข้าวโพดจากประเทศสหรัฐอเมริกาถึง 2 พันล้านแกลลอน ทำไมถ้าบราซิลเป็นประเทศที่ส่งออกเอทานอลรายใหญ่ที่สามารถผลิตเอทานอลที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้มากขึ้นและอย่างยั่งยืนเพื่อชดเชยจำนวนเอทานอลที่ขาดภายในประเทศเนื่องจากการส่งออกไปยังสหรัฐและเพื่อตอบสนองความต้องการเชื้อเพลิงชีวภาพภายในประเทศที่เพิ่มขึ้นจากการขยายตัวของรถยนต์ที่สามารถปรับเปลี่ยนเชื้อเพลิงได้ บราซิลยอมที่จะใช้เอทานอลข้าวโพดเกรดต่ำของสหรัฐหากบราซิลสามารถแลกขายเอทานอลจากน้ำตาลราคาสูงให้สหรัฐได้ในมูลค่าที่เท่ากัน
เป็นเรื่องวิปลาสที่สหรัฐจะสามารถบรรลุเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมโดยการซื้อสินค้าคุณภาพจากประเทศอื่นไม่ใช่จากการคิดค้นเทคนิคที่ดีโดยมันสมองของคนอเมริกันเอง  ในขณะที่มองไปรอบๆประเทศเพื่อขายสินค้าที่ด้อยคุณภาพและไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมให้แก่ประเทศอื่นๆในราคาที่ถูกกว่า

กระบวนการต่อสู้ระหว่างอาหารและเชื้อเพลิงในท้ายที่สุดเชื้อเพลิงก็จะเป็นผู้ชนะ ความต้องการเอทานอลอย่างต่อเนื่องจะมีผลทำให้ราคาข้าวโพดทั่วโลกพุ่งสูงขึ้น ในรายงานร่วมของ FAO-OECD มีคำเตือนเกี่ยวกับผลกระทบอย่างรุนแรงจากเชื้อเพลิงชีวภาพต่อราคาอาหารและจะมีผลกระทบมากยิ่งขึ้นหากเกิดภัยแล้งในพื้นที่ปลูกข้าวโพดของสหรัฐฯ ทั้งนี้คาดการณ์ว่าราคาเชื้อเพลิงชีวภาพจะคงตัวหรือลดลงเพียงเล็กน้อยในปี 2012 และหลังจากนั้น แต่ราคาข้าวโพดและถั่วเหลืองจะถีบตัวสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์และโลกกำลังจับตามองราคาน้ำมันซึ่งเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ลำดับที่สามตลอดช่วงห้าปีที่ผ่านมา เป็นที่น่าเสียดายที่พวกเขายังไม่ได้เรียนรู้และยังเชื่อว่าเป็นความคิดที่ดีที่จะนำอาหารมาใส่ในรถของเรา
ผู้ที่สนใจสามารถอ่านบทความเหล่านี้ได้ที่ 
Read more from Triple Crisis Blog.
Read more on Timothy A Wise’s work on the food crisis
Read more from GDAE’s Globalization and Sustainable Development Program

No comments:

Post a Comment