11 August 2011

สร้างยุงก้นปล่องไร้สเปิร์มหยุดยั้งการแพร่ระบาดโรคมาลาเรีย

          เมื่อวันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม 2554 นักวิจัยของมหาวิทยาลัยอิมพีเรียลคอลเลจ ลอนดอนเปิดแถลงข่าวเรื่องการปล่อยยุงก้นปล่องเป็นหมันอันได้จากการปรับเปลี่ยนพันธุกรรมของยีนผลิตสเปิร์มสู่ป่าเพื่อลดการแพร่ระบาดโรคไข้มาลาเรีย
          จากการศึกษาพฤติกรรมของยุงตัวเมียขณะกำลังจับคู่ นักวิจัยพบว่ายุงตัวเมียจะไม่รู้ว่ายุงตัวผู้ที่จับคู่อยู่นั้นเป็นหมัน ดังนั้นหลังการผสมพันธุ์ยุงตัวเมียจะไม่สามารถออกไข่ได้






          นักวิจัยกล่าวแนะว่า ในอนาคตอาจควบคุมประชากรยุงที่เป็นพาหะของโรคมาลาเรียได้โดยการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมโดยทำให้ยุงตัวผู้ไร้สเปิร์ม
          มาลาเรียเป็นโรคที่เกิดจากยุงก้นปล่องที่เป็นพาหะของโรค ซึ่งมีผลกระทบต่อผู้คนมากกว่า 300 ล้านคนและทำให้คนเสียชีวิตเกือบ 800,000 คนในทุกๆปี นับเป็นภัยคุกคามร้ายแรงในทวีปแอฟริกา องค์การอนามัยโลกรายงานว่ามีเด็กตายด้วยโรคนี้ทุกๆ 45 วินาที
ผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขกล่าวว่าจะทำการศึกษาเกี่ยวกับโรคมาลาเรียนี้ต่อไปเพื่อหาวิธีกำจัดโรคนี้ที่ได้ผลแน่นอนและมีค่าใช้จ่ายไม่สูงมากนัก
          Flaminia Catteruccia  หัวหน้าคณะผู้วิจัยจากภาควิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพของมหาวิทยาลัยอิมพีเรียลกล่าวว่า “การต่อสู้กับโรคมาลาเรีย คือ ความพยายามที่จะควบคุมพันธุกรรมของยุง นั่นคืออาวุธลับของเราเธอยังกล่าวเสริมถึงแนวความคิดทางทฤษฏีที่นำไปสู่การปฏิบัติว่า “นักวิทยาศาสตร์ควรตั้งอยู่ในหลักการที่ว่า แมลงควรจะมีคู่ต่อไปตามปกติ โดยไม่รู้สึกว่าได้ถูกดัดแปลงพันธุกรรมหรือยีนแล้ว
ปกติยุงตัวเมียหลังจากผสมพันธ์ในครั้งแรกและครั้งเดียวในชีวิตของมันแล้ว จะมีการเปลี่ยนแปลงทางสรีระ การกินเลือดเป็นอาหารและการวางไข่


จากการศึกษาพบว่าพฤติกรรมของยุงยังคงเหมือนเดิมไม่ว่าการจับคู่นั้นจะทำให้เกิดการผลิตไข่ที่เปลี่ยนเป็นลูกน้ำยุงได้หรือไม่ก็ตาม
          จากการศึกษาโดยใช้ยุงก้นปล่องสายพันธุ์ Anopheles gambiae สายพันธุ์ที่ทำให้เกิดการระบาดของโรคมาลาเรียในแอฟริกามาสร้างยุงตัวผู้ไร้สเปิร์ม ด้วยการฉีดโปรตีนที่ขัดขวางพัฒนาการของน้ำเชื้อเข้าไปในไข่ของยุงปกติ เมื่อโตขึ้นก็จะไม่สามารถผลิตสเปิร์มได้
          นอกจากนี้นักวิจัยยังพบพฤติกรรมที่น่าสนใจของยุงก้นปล่องว่า ยุงตัวเมียหลังผสมพันธุ์กับยุงตัวผู้ที่ไม่มีสเปิร์มแล้ว ยุงตัวเมียจะไม่พยายามไปผสมพันธุ์กับยุงตัวผู้ตัวอื่นๆอีก นั่นหมายความว่ายุงตัวเมียจะไม่มีโอกาสวางไข่ได้อีกอย่างแน่นอน
          การศึกษานี้ขัดแย้งจากการศึกษาพฤติกรรมของแมลงวันผลไม้ ซึ่งมีแนวโน้มที่จะผสมพันธุ์กับแมลงวันผลไม้ตัวผู้อื่นๆ ต่อไป
          เมื่อปีที่แล้วมีการศึกษาวิจัยโดยนักวิจัยกลุ่มอื่นในการริเริ่มสร้างยุงลายต้นเหตุของไข้เลือดออก ที่เป็นหมันทางพันธุกรรม  และได้ทดลองปล่อยยุงลายเป็นหมันออกสู่ภาคสนามเพื่อหยุดยั้งการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก






05 August 2011

วาระดิจิตอล : เปิดมากขึ้นเพื่อเข้าถึงข้อมูลทางวิทยาศาสตร์

 
    




ขณะนี้คณะกรรมาธิการยุโรปกำลังดำเนินการจัดทำประชาพิจารณ์เรื่องการเข้าถึงและการเก็บรักษาข้อมูลทางวิทยาศาสตร์แบบดิจิตอลอันเป็นนวัตกรรมของยุโรป เป็นความคิดริเริ่มของรองประธานคณะกรรมาธิการ  Neelie Kroes และคณะกรรมาธิการ สำหรับการวิจัยและนวัตกรรม, Maire Geoghegan - Quinn ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่จะเพิ่มช่องทางให้นักวิจัย, วิศวกรและผู้ประกอบการในยุโรปสามารถเข้าถึงข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ได้ง่ายและรวดเร็วขึ้นเพื่อเพิ่มโอกาสในการแข่งขันให้เท่าเทียมกันทั่วโลก
โครงสร้างพื้นฐานดิจิตอลที่ทันสมัย​​มีบทบาทสำคัญในการอำนวยความสะดวกต่อการเข้าถึงข้อมูล แต่ยังมีความท้าทายในอีกหลายประเด็นที่เป็นอุปสรรค เช่น ค่าสมัครสมาชิกวารสารสิ่งตีพิมพ์ทางวิทยาศาสตร์ที่ราคายังคงสูงอยู่ และวิธีการจัดเก็บรักษาผลงานวิจัยที่สามารถเปิดให้เข้าถึงได้ฟรีผ่านทางอินเทอร์เน็ต
นักวิทยาศาสตร์ สถาบันการศึกษา กองทุนวิจัยมหาวิทยาลัยและบุคคลที่สนใจอื่น ๆ สามารถส่งผลงานหรือข้อคิดเห็นเกี่ยวกับข้อเสนอแนะวิธีการเพื่อปรับปรุงการเข้าถึงข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ได้จนถึงวันที่ 9 กันยายน 2011 การเข้าถึงและการนำความรู้มาใช้ใหม่เป็นเป้าประสงค์ที่สำคัญของวาระดิจิตอลสำหรับนวัตกรรมแห่งสหภาพยุโรป
Neelie Kroes รองประธานคณะกรรมาธิการพิจารณาวาระดิจิตอลกล่าวว่า "ผลงานวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนควรมีการแจ้งเวียนให้สาธารณชนทราบให้กว้างขวางที่สุด ตามหลักการเผยแพร่ความรู้ด้านวิจัยของสหภาพยุโรปและอื่น ๆ ในวงกว้าง  ซึ่งนับว่าเป็นปัจจัยสำคัญของความก้าวหน้าในการวิจัยและนวัตกรรมอันจะส่งผลต่อการดำเนินงานและการเจริญเติบโตของงานวิจัยในยุโรป. วิสัยทัศน์ของเรา คือ การเปิดให้ทุกคนเข้าถึงข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ได้เพื่อประโยชน์สูงสุดจากการลงทุนด้านวิทยาศาสตร์ และเร่งให้เกิดความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ นอกจากนี้ยังสามารถนำผลการศึกษาใหม่ๆตลอดจนนำความคิดสร้างสรรค์อื่น ๆ กลับมาใช้ใหม่ได้อีกด้วย ด้วยเหตุผลเดียวกันนี้เราจำเป็นต้องเก็บรักษาบันทึกทางวิทยาศาสตร์ไว้เพื่องานในอนาคตอีกด้วย"
 
ผู้ที่สนใจสามารถแสดงความคิดเห็นต่อคำถามนโยบายวิทยาศาสตร์ที่สำคัญ ในประเด็นต่างๆดังต่อไปนี้
  • ทำอย่างไรจึงจะทำให้นักวิจัยและสาธารณชนสามารถเข้าถึงบทความทางวิทยาศาสตร์ได้ง่ายมากขึ้น
  • ทำอย่างไรจึงจะทำให้มีการเข้าไปใช้ข้อมูลการวิจัยตลอดจนนำมาใช้ซ้ำได้อย่างกว้างขวางตลอดเวลา  
  • ทำอย่างไรจึงจะทำให้เกิดความเชื่อมั่นในการเข้าถึงข้อมูลทางดิจิตอลอย่างถาวร
  • ปัจจัยอะไรบ้างที่เป็นอุปสรรคต่อการป้องกันและเก็บรักษาผลงานทางวิทยาศาสตร์Bottom of Form
สิ่งที่จะต้องทำต่อไป
ภายในสิ้นปี 2011 คณะกรรมาธิการยุโรปมีความมุ่งมั่นที่จะนำการสื่อสารแบบเข้าถึงและการเก็บรักษาข้อมูลทางวิทยาศาสตร์มาใช้ พร้อมกันนี้จะจัดทำข้อเสนอแนะในการดำเนินการให้แก่ประเทศสมาชิกของสหภาพยุโรปเพื่อปรับปรุงการเข้าถึงข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ของตน
ประวัติความเป็นมาของการสื่อสารเกี่ยวกับข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ในยุคดิจิตอล
การเข้าถึงสิ่งตีพิมพ์ที่เผยแพร่และเก็บรักษาไว้ไม่ให้สูญหายเริ่มนำมาใช้ในเดือนกุมภาพันธ์ 2007
ในเดือนสิงหาคม 2008 คณะกรรมาธิการยุโรปได้นำร่องเปิดตัวการเข้าถึงงานวิจัยตามกรอบการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฉบับที่ 7 (FP7) โดยกำหนดให้งานวิจัยจากโครงการที่ได้รับการสนับสนุนภายใต้ FP7 ในสาขาสาธารณสุขและสุขอนามัย พลังงาน สิ่งแวดล้อม ส่วนของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โครงสร้างพื้นฐานอิเลกทรอนิกส์   เศรษฐกิจสังคมและมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ สิ่งตีพิมพ์ของโครงการต่างๆเหล่านี้อยู่ภายใต้การเข้าถึงแบบเปิดดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ซึ่งครอบคลุมประมาณ 20% ของงบประมาณ FP7 ทั้งหมด
For Online public consultation on scientific information, please visit