29 July 2011

การประชุม INTERNATIONAL COOPERATION PROJECTS IN SUPPORT TO RESEARCH AND INNOVATION POLICIES AND COMPETENCE BUILDING: Good practices, lessons learned and synergies with other programmes

เมื่อวันที่ 16-17 มิถุนายน 2554 International cooperation Team หรือที่เรียกสั้นๆว่า INCO Team ได้จัดการประชุม International cooperation projects in Support to Research and Innovation Policies and Competence Building: Good practices, lessons learned and synergies with other programmes ขึ้น ณ กรุงบรัสเซลส์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมประสบการณ์จากโครงการประสานงานระหว่างประเทศที่มีส่วนช่วยเสริมสร้างศักยภาพและนโยบายด้านนวัตรกรรม ตลอดจนบทเรียนที่ได้จากโปรแกรมอื่นๆที่ดำเนินการสอดคล้องกัน    สาระสำคัญของการประชุม สรุปได้ดังนี้   

วันที่ 16 มิ.ย. 2554
ช่วงเช้า: เป็นการรายงานผลการดำเนินงานของ INCO management team
ช่วงบ่าย: เป็นการรายงานผลการดำเนินงานแบบคู่ขนาน 2 sessions พร้อมกันคือ Parallel session 1: Mediterranean Region และ Parallel session 2: South-east Asia ซึ่งมี Dr. G.Heinrichs, International Bureau of the German Federal Ministry of Education and Research เป็น Moderator และดิฉันอุษา กัลลประวิทย์  อัครราชทูตที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงบรัสเซลส์ได้รับเกียรติให้ทำหน้าที่เป็นผู้บันทึกและรายงานสรุปผลการอภิปราย (Rapporteur ) ของ session นี้    

วันที่ 17 มิ.ย. 2554  
ช่วงเช้า: เป็นการรายงานผลการดำเนินงานคู่ขนานของ Latin America and the Caribbean และ Sub-Sahara Africa
ช่วงบ่าย: เป็นการบรรยายสรุปผลการดำเนินงานในแต่ละภูมิภาคโดย Rapporteur ของแต่ละ session ก่อนจะบรรยายสรุป Impact ของโครงการในแต่ละภูมิภาคสรุปในภาพรวม โดย INCO team อีกครั้งดังนี้
Mediterranean 
• INCONET early investment in capacities now generating visible impacts (the network is there!)• Multiplier effect (generation of new projects
• Adopted manuals/guidebook(s) e.g. on technopole
South-East Asia 
•   Increased cooperation ASEAN-EU (e.g. FP7 participation)
•   Better visibility of regional overall S&T capacity
•   More and better intra-regional cooperation
Latina America & Caribbean                   
• Most visible impacts on policy dialogue
• Institutional effects (new units/offices dedicated to International Cooperation in Universities, NCPs for example)
• New Curricula
• Durable networks with critical mass
• Increased personnel exchange/mobility => more joint actions, projects etc.
Institutional effects (new units/offices dedicated to International Cooperation in Universities, NCPs for example)
• New Curricula
• Durable networks with critical mass
Increased personnel exchange/mobility => more joint actions, projects etc.  
Sub Saharan Africa
• Methodological issues (time lag, attribution)
• Both tangible (skills development, job creation) and intangible impacts (trust building, knowledge exchange) 






การประชุม Team Thailand-ATPER Meeting







เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2554 ปว.บซ.เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม TeamThailand-ATPER Committee Meeting ณ สำนักงาน ปว.บซ. บรัสเซลส์ วัตถุประสงค์ของการประชุมในครั้งนี้เพื่อพบปะหารือตลอดจนแลกเปลียนข้อมูลข่าวสารระหว่างทีมประเทศไทยประจำกรุงบรัสเซลส์และผู้บริหารสมาคมนักวิชาชีพไทยในสหภาพยุโรป(ATPER) ในโอกาสเดียวกันนี้ผู้บริหารสมาคมนักวิชาชีพไทยในสหภาพยุโรปจะได้รายงานผลการดำเนินงานของสมาคมในปีที่ผ่านมา ตลอดจนแจ้งแผนการดำเนินงานของสมาคมฯในอนาคตให้ที่ประชุมทราบ
 การประชุมดังกล่าวได้รับเกียรติจากฯพณฯ อภิชาติ ชินวรรโณ เป็นประธานเปิดการประชุมพร้อมทั้งกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมการประชุม ( จำนวนทั้งสิ้น 17 คน) ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนสถานเอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงบรัสเซลส์ 2 คน ผู้แทนสมาคม ATPER 5 คน ผู้แทนจาก สม.สป.วท 1 คน เจ้าหน้าที่ของ ปว.บซ 2 คน นักวิจัยและนักศึกษาไทยในเบลเยี่ยมรวม 7 คน สาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
ผู้แทนสมาคม ATPER ผลัดกันนำเสนองานในส่วนที่ตนเองรับผิดชอบ โดยเริ่มจาก ดร.กฤษณา ทอริสสัน ได้เล่าประวัติความเป็นมาของสมาคม และกิจกรรมของสมาชิกสมาคมฯที่ผ่านมาให้ทราบ ตลอดจนการสมัครเป็นสมาชิก/ค่าสมัคร/สมาชิกภาพ ตามด้วยการนำเสนอ website ของสมาคมฯ ที่จัดทำขึ้นใหม่ ซึ่งผู้ที่สนใจสามารถสมัครเป็นสมาชิกหรือติดต่อสมาชิกของสมาคมฯ ได้ ผู้ประสานงานจากอังกฤษ นำเสนอผลการดำเนินงานในรับผิดชอบในการขยายเครือข่ายสมาชิก ฯลฯ ผู้ประสานงานจากปารีสแจ้งว่าการหาสมาชิกฯ ยังไม่สามารถดำเนินการได้อย่างกว้างขวาง รองนายกสมาคมฯ แจ้งว่าขณะนี้กำลังดำเนินการจดทะเบียนสมาคมฯ ในประเทศไทยเพื่อให้การดำเนินงานของสมาคมเป็นไปตามกฎหมาย
หลังจากนั้นมีการซักถามแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับงานของสมาคมฯ และความร่วมมือระหว่างนักวิชาชีพไทยและนักศึกษาไทยซึ่งได้รับแจ้งว่านักศึกษาสามารถนำผลงานวิจัยของตนไปนำเสนอในงานประชุมประจำปีของสมาคมได้ โดยสมาคมฯจะออกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปนำเสนอผลงาน เป็นต้น 

ทางหนีของรัฐบาลสหราชอาณาจักรจากภาษีธุรกิจพลังงานแสงอาทิตย์


ภาพกังหันลม ที่ Loftsome Bridge Treatment Works, หน้าสถานีโรงไฟฟ้า Drax  ใกล้เมือง Selby ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศอังกฤษ

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคมว่ารัฐบาลสหราชอาณาจักรมีแผนจะหาช่องทางหลบหนีจากแผนการสนับสนุนโรงไฟฟ้​​าพลังงานแสงอาทิตย์ซึ่งจะทำให้ผู้ผลิตได้รับประโยชน์จากนโยบายของรัฐบาลที่จะลดอัตราภาษีที่สูงสำหรับโรงงานขนาดใหญ่ลง
กรมธุรกิจพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ประกาศเมื่อวันพุธที่ 27 กรกฎาคม 2554 ที่ผ่านมาถึงเจตนารมณ์ที่จะเปลี่ยนแปลงคำสั่งเกี่ยวกับโรงไฟฟ้​​าพลังงานแสงอาทิตย์ซึ่งขอขยายเวลาการก่อสร้างออกไปหลังวันที่ 31 ตุลาคม 2011 เพื่อป้องกันไม่ให้นักพัฒนาได้ผลประโยชน์จากอัตราภาษีที่สูงขึ้นอย่างมากสำหรับโครงการระดับเชิงพาณิชย์
นโยบายเริ่มต้นที่จัดทำขึ้นทำให้นักพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ได้รับผลประโยชน์จากแผนการชดเชยจากรัฐบาลในภาษีที่กำหนดขขึ้น (feed-in tariffs, FITs) ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อชดเชยค่าใช้จ่ายในการผลิตพลังงานทดแทนให้แก่ผู้พัฒนา ทั้งนี้เพื่อประกันความเชื่อมั่นของราคาในสัญญาระยะยาวและเพื่อดึงดูดให้นักลงทุนสนใจมาลงทุนด้านพลังงานทดแทนมากยิ่งขึ้น ก่อนการประกาศผลการทบทวนอย่างรวดเร็วของรัฐบาลเมื่อเดือนมิถุนายนที่จะขยายเวลาในการรับความคิดเห็นเกี่ยวกับการขยายเวลาโครงการไปอีก 12 เดือนนับจากวันเริ่มต้นของการพิจารณา ซึ่งจะเริ่มในวันที่ 1 สิงหาคม 2011 
ตอนหนึ่งในเอกสารการให้คำปรึกษาของแผนกกล่าวไว้ว่า  "ข้อกำหนดเหล่านี้จะมีประสิทธิภาพในการสร้างช่องทางหนี(สำหรับรัฐบาล) หากยังคงมีอยู่ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายเงินงบประมาณที่ได้จากการเรียกเก็บจากธุรกิจดังกล่าว ความสมบูรณ์ของโครงการและอาจทำลายวัตถุประสงค์ของการทบทวนอย่างรวดเร็วอีกด้วย"
ขณะนี้รัฐบาลสหราชอาณาจักรวางแผนที่จะเปลี่ยนแปลงคำสั่งเพื่อทำให้อัตราภาษีของโครงการที่ขอขยายเวลาแยกจากโครงการที่เริ่มดำเนินการซึ่งการได้รับผลประโยชน์จะแตกต่างจากภาษีการก่อสร้างเดิม
          ในตอนหนึ่งโฆษกรัฐบาลสหราชอาณาจักรกล่าวว่า "นักพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานเซลส์แสงอาทิตย์จำนวนมากกำลังใคร่ครวญเกี่ยวกับข้อกำหนดการขยาย FITs เพื่อคงไว้ซึ่งอัตราภาษีเดิมสำหรับโครงการใหม่ที่จะเริ่มขึ้นภายหลังวันที่ 1 สิงหาคม"
ระยะเวลาการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงคำสั่งจะเปิดให้จนถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2011 โดยรัฐบาลสหราชอาณาจักรมีความมุ่งมั่นที่จะดำเนินการปรับแก้กฎระเบียบให้แล้วเสร็จในเดือนกันยายนเพื่อให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนตุลาคมเป็นต้นไป
          สหราชอาณาจักรตัดแผนการสนับสนุนโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดใหญ่ลงระหว่างร้อยละ 40-70 ในเดือนมิถุนายน เป็นการทบทวนที่รวดเร็วซึ่งเดิมคาดว่าจะดำเนินการพิจารณาทบทวนโครงการในเดือนเมษายน 2012 รัฐบาลแสดงความกังวลว่าโครงการในเชิงพาณิชย์ได้ใช้เงินกองทุนไปอย่างมหาศาล ซึ่งวัตถุประสงค์เดิมมีไว้เพื่อโครงการสำหรับครอบครัวและชุมชน
อุตสาหกรรมพลังงานแสงอาทิตย์ของสหราชอาณาจักรต่างตื่นตระหนกต่อการตัดสินใจตัดโปรแกรมการสนับสนุนก่อนเวลาอันควร ซึ่งกล่าวกันว่าอาจส่งผลให้การพัฒนาอุตสาหกรรมโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์พิกลพิการตั้งแต่ในระยะเริ่มแรก






รัฐบาลไทยหากจะลงทุนพัฒนาพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้เป็นพลังงานทดแทนในอนาคตควรศึกษาและติดตามความเคลื่อนไหวของแผนและนโยบายของประเทศต่างๆอย่างใกล้ชิด นำข้อมูลประกอบต่างๆมาพิจารณาอย่างรอบคอบเพื่อประเมินสถานการณ์ก่อนตัดสินใจ เพราะหากลงทุนในธุรกิจพลังงานประเภทนี้รัฐบาลจะต้องเตรียมเงินลงทุนจำนวนมหาศาลไว้รองรับ และหากงบประมาณไม่เพียงพออาจส่งผลต่อความสำเร็จของโครงการในระยะยาว ดังนั้นจึงควรพิจารณาให้รอบด้านว่าประเทศไทยพร้อมหรือไม่ที่จะพัฒนาพลังงานแสงอาทิตย์ในขณะนี้...หรือเมือใดจึงจะเหมาะสม

..........................................................................................................................................................................................................................